'ดร.พิชาย' ซัดการหนุน 'ระบบจัดสรรปันส่วนกลายพันธุ์' สะท้อนของความอัปลักษณ์การใช้อำนาจตามอำเภอใจ

'ดร.พิชาย' ชี้การหนุนสูตรหาร500 -ระบบจัดสรรปันส่วนกลายพันธุ์ เกิดจากฝ่ายตนเองคะแนนนิยมตกต่ำฝ่ายตรงข้ามเพิ่มขึ้นกลัวคู่แข่งชนะแบบท่วมท้น จึงใช้วิธีคิดแบบ'มาเคียเวลลี'เพื่อให้บรรลุเป้าหมายย่อมใช้วิธีการใดก็ได้จะถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ก็ตาม สะท้อนของความอัปลักษณ์ในการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

8 ก.ค.2565-รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และอดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า

ผมคิดว่าการสนับสนุน “ระบบจัดสรรปันส่วนกลายพันธุ์” (กลายพันธุ์มาจากระบบจัดสัดปันส่วนผสมของมีชัย) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการแก้กฎหมายเลือกตั้งครั้งนี้

หาใช่ว่าเกิดจากความคิดที่เที่ยงธรรม คำนึงถึงผลประโยชน์แก่ประชาชน และการสร้างความก้าวหน้าแก่ระบอบการเมืองแต่อย่างใด

หากแต่เกิดจากความเชื่อ ความกลัว ความกังวลว่า หากใช้ “ระบบแยกจัดสรร ส.ส.” (การแยกกันอย่างเด็ดขาดระหว่าง ส.ส.เขตเลือกตั้ง กับการคิดจำนวน ส.ส.บัญชี่รายชื่อพรรคการเมือง) แล้ว พรรคการเมืองคู่แข่งจะชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น

ความกลัวนี้มาจากความจริงว่า พรรคการเมืองฝ่ายตนเองคะแนนิยมตกต่ำแทบทุกพรรค ขณะที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านกลับมีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นแทบทุกพรรค

ขณะเดียวกันก็เชื่อว่า “ระบบจัดสรรปันส่วนกลายพันธุ์” จะสามารถทำลายโอกาสแห่งการชนะแบบท่วมท้นของพรรคการเมืองคู่แข่งได้

ชัยชนะของ “ระบบจัดสรรปันส่วนกลายพันธุ์” เมื่อวาน สะท้อนภาพแห่งความทะยานอยากของผู้มีอำนาจที่ต้องการอยู่ในอำนาจต่อไปอย่างชัดเจน (ใครที่คิดว่าเขาจะลงจากอำนาจด้วยความสมัครใจ เห็นทีจะคิดผิด)

จึงใช้วิธีการภายใต้วิธีคิดแบบ มาเคียเวลลี ( Machiavelli) ที่ว่า “เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ย่อมใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ ไม่ว่าวิธีการนั้นจะถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ก็ตาม” ในการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งครั้งนี้

ไม่แยแสว่าว่าวิธีการนั้นละเมิดหลักการแยกอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติหรือไม่

ไม่สนใจว่าการกระทำนั้นขัดแย้งกับความเที่ยงธรรมของหลักการนิติธรรมและรัฐธรรมนูญหรือไม่

หากการกระทำใดสามารถตอบสนองเป้าหมายและความต้องการของตนเองแล้ว

แม้วิธีการเช่นนั้นจะเลวร้ายหรือทำลายความเที่ยงธรรมของระบอบการเมืองและนิติธรรม พวกเขาก็จะเลือกทำเช่นนั้น

การเมืองเรื่องการแก้กฎหมายเลือกตั้ง จึงเป็นภาพสะท้อนของความอัปลักษณ์ในการใช้อำนาจตามอำเภอใจอีกเรื่องหนึ่ง ในยุคสมัยนี้

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เมื่อ 'ระบอบทักษิณ' ได้ยกระดับเป็น 'ระบอบชินวัตร' ประเทศไทยจะมีอนาคตอย่างไร

รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

'ดร.พิชาย' ฟันฉับ ถ้าตีความแบบทื่อๆตามตัวอักษร 'พิธา' ก็ไม่รอด แต่ถ้าใช้ 'ปัญญาเชิงปฏิบัติ' ก็รอด

'ดร.พิชาย' ฟันฉับ ถ้าตีความแบบทื่อๆตามตัวอักษร 'พิธา' ก็ไม่รอด แต่ถ้าใช้' ปัญญาเชิงปฏิบัติ' ก็รอด

เชื่อประชุมรัฐสภา 15 ส.ค.ล่มอีก! ‘พีระพันธุ์’ บอก ‘ศาลรธน.’ ผู้ชี้ชะตาอนาคตประเทศ

พีระพันธุ์ ชี้หลังการประชุมรัฐสภาที่จะล่มอีกครั้งในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ การจะนำร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้บังคับต่อไปคงต้องรอศาลรัฐธรรมนูญอีกเรื่องหนึ่งแน่

'คำนูณ' จับตา 10 สิงหา โอกาสสุดท้ายก่อนสูตร 'หาร 100' จะกลับมาตามช่องทางพิเศษ

'สว.คำนูณ'จับตา 10 สิงหา ประชุมร่วมรัฐสภาก่อน15ส.ค.หากร่าพรป.สส.ไม่แล้วเสร็จให้ถือว่าเห็นชอบร่างหลักที่ผ่านวาระ 2 เผยร่างหลัก4 ฉบับ มีหลักการใกล้เคียงกัน คือใช้สูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100 ปิดประตูสูตรหาร 500