2 ก.ค.2565 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค"ว่า ดิ่น ท่าราบ หรือ พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม คือใคร
พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นคุณตาของ พล.อ.สุรยุทธิ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี
ดิ่น ท่าราบ เกิดในครอบครัวคหบดีชาวสวน จังหวัดเพชรบุรี เรียนจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ด้วยการสอบได้ที่ 1 จึงได้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเยอรมัน ร่วมรุ่นเดียวกับ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) โดยทั้ง 3 สนิทสนมกันมาก จนได้รับฉายาจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ว่าเป็น "สามทหารเสือ"
พระยาศรีสิทธิสงคราม ได้ศึกษาที่ประเทศเยอรมันนานถึง 10 ปี ก่อนจะเดินทางกลับมายังประเทศไทย มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการอย่างรวดเร็ว โดยได้รับยศเป็น พันเอก ตั้งแต่อายุ 37 ปี และได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระยา เมื่ออายุได้ 40 ปี ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 นั้น พระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกชักชวนให้เข้าร่วมกับคณะราษฎร์ด้วย แต่พระยาศรีสิทธิสงครามปฏิเสธไม่ขอเข้าร่วม เนื่องจากยึดมั่นในคำถวายสัตย์ แต่ก็ไม่กล้าต่อต้าน
........................................................................
“กบฏบวรเดช” เวลาได้ยินคำว่ากบฏ เราจะตีความทันทีว่าเป็นฝ่ายไม่ดี แต่ความจริงคือ ผู้ที่ก่อการปฏิวัติหรือรัฐประหารไม่สำเร็จ จะถูกเรียกว่า กบฏ โดยไม่สนใจว่าจะเป็นฝ่ายดีหรือเลว กบฏบวรเดช ถูกเรียกขึ้นตามพระนามของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ผู้ที่ปฏิวัติรัฐประหารไม่สำเร็จ
กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้เสนอ และถูกมองว่าเป็น ระบอบสังคมนิยม” หรือ ที่เรียกว่า"คอมมิวนิสต์" รวมทั้งต้องการคืนพระราชอำนาจในกับในหลวง แต่ด้วยเพราะปฏิวัติไม่สำเร็จเลยกลายเป็นกบฏ
ในขณะที่คณะราษฏร์ที่ปฏิวัติสำเร็จโดยยึดอำนาจไปจากในหลวง และในหลวงไม่คิดจะต่อสู้เพราะไม่อยากให้คนไทยรบกันเอง กลับไม่ได้เป็นกบฏ
“ผู้ดีกลายเป็นผู้ร้าย และผู้ร้ายกลายเป็นผู้ดี” มีให้เห็นในประวัติศาสตร์การเมืองเสมอ
........................................................................
“เหตุการณ์กบฏบวรเดช” เกิดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัติ ฤทธิเดช ได้ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เนื่องจากกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดีนี้มีแนวทางการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ที่คล้ายกับการปกครองในระบบสังคมนิยม
ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรเองก็แตกแยกทางความคิด กระทั่งนำไปสู่การเปิดอภิปรายวิจารณ์ในรัฐสภาเป็นเหตุให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ต้องถุกกดดันให้ไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ทำให้คณะราษฎรหลายท่านไม่พอใจพระเจ้าอยู่หัวและพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยเฉพาะฝ่ายทหารและนำไปสู่การก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดารัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
หลังจากการรัฐประหารพระยาพหลพลพยุหเสนาผู้นำคณะรัฐประหารได้เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม ความวุ่นวายทางการเมืองทั้งหลายมีส่วนทำให้พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช บรรดานายพล และ นายทหารอื่นๆ ที่โดนปลดหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ไม่พอใจรัฐบาลเป็นอันมาก จึงเริ่มก่อกบฏขึ้น โดยนำทหารโคราช ทหารเพชรบุรี ทหารอุบลราชธานี เข้ารบ โดยหวังให้ทหารกรุงเทพที่สนิทกับพันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามไม่ร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล แต่ทหารกรุงเทพกลับหันไปร่วมมือกับรัฐบาลเนื่องจากฝ่ายทหารโคราชยืนยันเอาพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ทหารกรุงเทพต้องการ เนื่องจากทหารกรุงเทพนับถือพันเอก พระยาศรีสิทธิสงครามมากกว่า พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
จนเมื่อทางฝ่ายกบฏเพลี่ยงพล้ำต่อรัฐบาล ในเวลาพลบค่ำของวันที่ 23 ตุลาคม ปีเดียวกัน พระยาศรีสิทธิสงครามได้เป็นผู้เดินไปเจรจากับทหารฝ่ายรัฐบาล เพื่อขอให้หยุดยิง แต่ปรากฏว่า พระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกยิงเสียชีวิต ที่สถานีรถไฟหินลับ จังหวัดสระบุรี โดยร้อยโท ตุ๊ จารุเสถียร (ประภาส จารุเสถียร)
จากนั้นร่างของพระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกส่งกลับกรุงเทพมหานคร โดยทำการฌาปนกิจอย่างเร่งด่วนที่วัดอภัยทายาราม หรือวัดมะกอก โดยที่ทางครอบครัวไม่ได้รับรู้มาก่อนเลย และกว่าจะได้อัฐิกลับคืนก็เป็นเวลาล่วงไป 3-4 ปีแล้ว อีกทั้งยังถูกคุกคามต่างๆ นานา ตลอดสมัยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
..........................................................................
ดิ่น ท่าราบ หรือ พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นบิดาของนางอัมโภช ท่าราบ ต่อมาสมรสกับ พ.ท.พโยม จุลานนท์ และมีบุตรด้วยกัน ซึ่งคนไทยรู้จักเป็นอย่างดี นั้นคือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี ดิ่น ท่าราบ หรือ พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม คือคุณตาของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
........................................................................
จากประวัติศาสตร์หน้านี้ เราจะเห็นได้ว่า เหตุการณ์กบฏบวรเดช นั้นก่อการเนื่องจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชไม่พอใจคณะราษฏร์ โดยเฉพาะความเหิมเกริมของคณะราษฏร์ที่ปล่อยให้นายถวัติ ฤทธิเดช ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แต่เพราะก่อการไม่สำเร็จ จึงถูกตราหน้าว่ากบฏ และทำให้พ.ท.พโยม จุลานนท์ บิดาของ พล.อ.สุรยุทธิ์ จุลานนท์ ถูกตราหน้าว่าเป็นเขยกบฏ
การเมืองสามารถทำให้ “ผู้ดีกลายเป็นผู้ร้าย และผู้ร้ายกลายเป็นผู้ดี” ประวัติศาสตร์มีโอกาสบิดเบือนได้บ้างในบางเหตุการณ์ ต้องศึกษาและใช้วิจารณญาณ
........................................................................
(หมายเหตุ เนื้อหารวบรวม เรียบเรียง มาจากที่มาหลายที่และหลายต้นฉบับ ซึ่งผมเขียนเพิ่มเติมบางส่วน โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาเท่านั้น)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พีที กรังด์ปรีซ์ ออฟ ไทยแลนด์2024' อีกหน้าประวัติศาสตร์ 'โมโตจีพี'ในไทยที่ต้องจารึกไว้
ปิดฉากลงอย่างสุดประทับใจ ทั้งความยิ่งใหญ่อลังการ ธีมเสน่ห์อีสาน “ฅนบุรีรัมย์” รวมทั้ง “หมูเด้ง”ที่มาสร้างไวรัลไปทั่วโลก เติมเต็มสุดสัปดาห์แห่งความมันส์ของสุดยอดศึกสองล้อที่เร็วที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกกับการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก หรือ โมโตจีพี รายการ "พีที กรังด์ปรีซ์ ออฟ ไทยแลนด์ 2024" ระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคม 2024 ที่ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ นี่คืออีกหนึ่งความภูมิใจที่ยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศในการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยจัดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทย
เพจดัง ถอดบทเรียนประวัติศาสตร์ ทำไมการทำให้กองทัพอ่อนแอ คือการทำลายประเทศ
เพจเฟซบุ๊ก ปราชญ์ สามสี เผยแพร่บทความเรื่อง "บทเรียนจากประวัติศาสตร์: ทำไมการทำให้กองทัพอ่อนแอ คือการทำลายประเทศ" มีเนื้อหาดังนี้ ที่ข้าพเจ้าเอาบทความทางทหารมาเล่าให้ฟังบ่อยขึ้นๆนั้นก็เพราต้องการให้
การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ขับเคลื่อนได้จริงตามนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ต้นแบบการส่งเสริม การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดย ดร.ภูมิ พระรักษา
คนบันเทิงเตรียมสะบัดธงสีรุ้ง ชวน LGBTQ+ ทั่วโลกรวมตัวที่ไทย 1 มิถุนายนนี้
นฤมิตไพรด์ จับมือ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมพันธมิตรภาคประชาสังคมและภาคเอกชน จัดแถลงข่าวเตรียมความพร้อมที่จะเนรมิต ถนนพระราม 1 เป็นถนนสีรุ้งแห่งความเท่าเทียมใจกลางกรุงในงาน “บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2024” (Bangkok Pride Festival 2024)
'ครูอุ้ม-ครูเอ' เผย เตรียมจัดใหญ่มหกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง 4 ภูมิภาค พร้อมอัพเกรดหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ ชั้น ป.1-ม. 6 ให้มีความเหมาะสมทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมปัจจุบัน
นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้แผนการขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 มีความคืบหน้าไปมาก ภายใต้การดำเนินการ 6 กิจกรรมหลัก สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
ทวงผลสอบจุฬาฯ ปม 'ดุษฎีนิพนธ์' บิดเบือนประวัติศาสตร์กระทบสถาบัน
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในฐานะนิสิตเก่าจุฬาฯ รุ่นปี 2512 ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว