นายกสมาคมทนายความ ซัด ส.ว. เเต่งตั้งเครือญาติดำรงตำเเหน่งการเมือง ขัดมาตรฐานจริยธรรมข้อ 11

นายกสมาคมทนายความ ซัด ส.ว. เเต่งตั้งเครือญาติดำรงตำเเหน่งการเมือง ขัดมาตรฐานจริยธรรมข้อ 11 การขัดกันเเห่งผลประโยชน์ กระทบความน่าเชื่อศรัทธาของประชาชน

24 มิ.ย.2565 - นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ความว่า การที่รัฐธรรมนูญมาตรา 299 บัญญัติให้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นเพื่อใช้บังคับแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีเพราะเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อบ้านเมือง การปฏิบัติหน้าที่จึงต้องเกิดความสง่างามไม่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

คําว่าจริยธรรม หมายถึง การกระทําที่ดีงาม โดยเป็นการใช้สำนึกที่ดีงามกำกับการปฏิบัติตนของ ผู้ดำรงตำแหน่ง เพื่อควบคุมไม่ให้มีการกระทำใดก็ตามที่อาจกระทบกระเทือนต่อความน่าเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งแม้การกระทำนั้นจะไม่ผิดกฎหมายแต่หากกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประชาชนแล้วผู้ดำรงตำแหน่งนั้นก็พึงหลีกเลี่ยง มาตรฐานทางจริยธรรมจึงมิได้ใช้ความรู้สึกของผู้กระทำเป็นตัวชี้วัด หากแต่ใช้ความรู้สึกของประชาชนเพราะเป็นการควบคุมเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือศรัทธากับประชาชนผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลภายนอก

กรณีที่สังคมเกิดการถกเถียงถึงการที่สมาชิกวุฒิสภาบางคน ได้แต่งตั้งเครือญาติหรือบุคคลในครอบครัวดำรงตำแหน่งทางการเมืองในสัดส่วนของตนซึ่งเป็นตำแหน่งที่ได้รับค่าตอบแทนว่า จะมีความเหมาะสมหรือละเมิดต่อจริยธรรมทางการเมืองหรือไม่ นั้น

สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเห็นว่า การกระทําดังกล่าวกระทบต่อความน่าเชื่อถือหรือศรัทธาของประชาชนแล้วจึงได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม อีกทั้งการให้ผู้ที่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวมาทำงานร่วมกันกับผู้แต่งตั้ง สากลถือว่าเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมแล้ว องค์กรหลายแห่งทั่วโลกจึงห้ามผู้ที่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวเช่น คู่สมรสทำงานด้วยกัน โดยหากเกิดความสัมพันธ์ดังกล่าวขึ้น เช่น มีการแต่งงานคนหนึ่งคนใดจะต้องลาออกไป เพราะความสัมพันธ์ส่วนตัวจะเป็นอุปสรรคต่องานของส่วนรวม ดังนั้น การแต่งตั้งของ ส.ว. ดังกล่าวจึงเป็นการกระทําอันอาจเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมอันเป็นการขัดต่อมาตรฐานทางจริยธรรมฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 11

การประพฤติที่ผิดต่อจริยธรรมไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงไม่อาจอ้างความไม่มีกฎหมายเป็น ข้อแก้ตัว เพราะจริยธรรมเป็นเรื่องของการใช้สำนึกที่ดีงามจึงต้องครอบคลุมถึงการกระทำทุกอย่างที่อาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการกระทำใดก็ตามที่อาจจะนำมาซึ่งความไม่น่าเชื่อถือ หรือเกิดความเคลือบแคลงสงสัยของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ดำรงตำแหน่งโดยเฉพาะ ส.ว. ที่มีความละเอียดอ่อน เพราะมาจากการแต่งตั้งพึงหลีกเลี่ยงการแก้ตัวว่าไม่มีกฎหมายห้าม จึงเป็นข้อแก้ตัวที่ขัดต่อสำนึกที่ดีงาม และไม่เห็นหัวประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจงเฟกนิวส์! ยัน ป.ป.ช. ไม่เคยชี้มูล กกต. ทำผิดรธน. หลัง 'ณฐพร โตประยูร' กล่าวหา

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความชี้แจงกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าว “ป.ป.ช. สอบ กกต. ถอดถอนทั้งคณะทำผิด รธน. – อดีตที่ปรึกษ

ไปไกล! ทวียกเด็กเคยทำผิดยังเป็นผู้พิพากษาได้ปมแก้ไขมาตรฐานจริยธรรม

'ทวี' เห็นด้วยวางกรอบจริยธรรมให้ชัดเจน ขณะที่อำนาจองค์กรอิสระควรอยู่ในจุดสมดุล ยกเด็กเคยทำผิดโตมายังเป็นผู้พิพากษาได้

'พริษฐ์' หวั่นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใช้ไม่ทันเลือกตั้งครั้งหน้า!

'พริษฐ์' ห่วง รธน.ฉบับใหม่ คลอดไม่ทันก่อนเลือกตั้งครั้งหน้า เผย ยื่นร่างแก้ รธน. ทบทวนเงื่อนไขยุบพรรค-นิยามมาตรฐานทางจริยธรรม เลิกให้ศาล รธน.ผูกขาดการตีความ เปลี่ยนเป็นระบบแสดงความรับผิดชอบ

เรืองไกร ร้อง กกต. ตรวจ พรรคกลิ่นกาขาวชาววิไล มีเหตุสิ้นสภาพไปแล้วหรือไม่

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า ช่วงนี้กำลังรวบรวมเรื่องนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ ตามรัฐธรรมนูญหลายมาตรา ตามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีมากมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญหลายมาตรา กฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งมาตรฐานทางจริยธรรม ด้วย รวมทั้งกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา มีประเด็นที่ต้องขอให้ กกต. ตรวจสอบว่า