'อัษฎางค์' สรุปสาเหตุที่ 'ลุงตู่' ยังอยู่ 'ลุง 3 ป.'ยังอยู่ เพื่อประคับประคองรักษารัฐธรรมนูญที่ร่างมาใหม่ให้อยู่ในร่องในรอย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจากวิกฤติทางการเมือง สู่สถานการณ์รัฐประหาร เพื่อให้สามารถกลับเข้าสู่ประชาธิปไตย
22 มิ.ย.2565 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
ม็อบสามนิ้ว-ร้อยชื่อ ประท้วงเพื่อเรียกร้องอะไร
ตอนที่ ๕ ไม่เอา สว.กับรัฐบาลสืบทอดอำนาจรัฐประหาร
…………………………………………………………………
คำถามที่ว่า รัฐประหารแล้ว มีรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว เลือกตั้งแล้ว ทำไม ลุงตู่และลุง 3 ป. ยังอยู่ มันทำให้เหมือนว่า คสช.ยังอยู่ ซึ่งเท่ากับเป็นรัฐบาลสืบทอดอำนาจจากรัฐประหาร
สำหรับคำถามนี้ ผมขออนุญาตยกความเห็นและคำอธิบายของ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ว่า
นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่ ได้ทำการศึกษารัฐประหารในสามประเทศคือ ตุรกี โปรตุเกส อียิปต์ พบว่ารัฐประหารในช่วงปลายๆ สงครามเย็น เป็นรัฐประหารที่นำไปสู่ประชาธิปไตยได้
แต่การเกิดขึ้น (ของประชาธิปไตย) มันต้องใช้ระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ไม่ใช่ว่าพอรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็สามารถกลับเข้าสู่ประชาธิปไตยได้ทันที
มันต้องมีช่วงเวลาที่คณะรัฐประหารประคับประคองอำนาจของเขา เพื่อที่จะประคับประคองรักษารัฐธรรมนูญที่ร่างมาใหม่ให้อยู่ในร่องในรอย
อย่างโปรตุเกส นี่ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างของประเทศที่ทำรัฐประหารแล้วนำไปสู่ประชาธิปไตย
รัฐประหารสามารถยุติปัญหา(ความขัดแย้ง, คอรัปชั่น ฯ) ไว้ได้ชั่วคราว แต่จะวางรากฐานไปสู่ประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นมันยากนิดนึง เพราะกติกามันยังไม่เกิดการเห็นพ้องต้องกันเท่าที่ควร
…………………………………………………………………
ผมเข้าใจว่า หนึ่งในกติกา ที่ยังไม่เกิดการเห็นพ้องต้องกันเท่าที่ควร คือ วุฒิสมาชิก ๒๕๐ คน ที่โดนพุ่งเป็นโจมตีตลอดมา
ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งไทยเลียนแบบมาจากอังกฤษนั้น เรามี รัฐสภา ที่ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
โดยมีสมาชิกของสภาผู้แทนราษฏร มาการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง เป็นผู้มีอำนาจโดยตรงในการเสนอร่างกฎหมาย
วุฒิสภาไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการเสนอร่างกฎหมาย วุฒิสภามีอำนาจและหน้าที่เป็นเพียงผู้กลั่นกรองกฎหมาย ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ความเห็นชอบมาแล้ว และเป็นเพียงผู้ร่วมการพิจารณากฎหมายกับสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
วุฒิสภา จำนวน ๒๕๐ คนในปัจจุบัน เป็น”วุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล” ซึ่งมีวาระเพียง ๕ ปีแรกนี้เท่านั้น
“วุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล” มีหน้าที่และอำนาจที่เพิ่มขึ้นจาก “วุฒิสภาตามบทบัญญัติหลัก” บางประการ “เพื่อให้การปฏิรูปประเทศในระยะเปลี่ยนผ่านบรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ”
วุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลนี้ นอกจากจะมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับวุฒิสภาตามบทบัญญัติหลักแล้ว ยังมีอำนาจและหน้าที่เพิ่มเติมมาโดยเฉพาะบางประการ เช่น
การพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลในระหว่าง ๕ ปีแรกเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้วุฒิสภาจะมีอำนาจและหน้าที่ในการร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่
วุฒิสภาไม่ได้มีอำนาจในการเสนอตัวนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีถูกพิจารณาคัดเลือกและเสนอตัวโดนสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งสมาชิกได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
อำนาจและหน้าที่ของวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลนี้ เป็นบทเฉพาะกาล ๕ ปี ซึ่งปัจจุบันเหลือเวลาเพียงปีเศษๆ เท่านั้น
วุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล ก็เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการประคับประครองเพื่อให้การปฏิรูปประเทศในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ บรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร อย่างที่ปลุกปั่นหลอกลวงกัน
…………………………………………………………………
ทำไมต้องมีวุฒิสภา
วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์
…………………………………………………………………
ทำไมวุฒิสภา ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ข้อดีของสภาผู้แทนราษฎรคือ ส.ส.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่ข้อเสียคือ ถ้าหากประชาชนไม่รู้เท่าทันนักการเมืองหรือเกมการเมือง ประชาชนก็จะตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโดยง่าย
ดังนั้น วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งคือตัวช่วย เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภา มาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ ที่มาช่วยถ่วงดุลอำนาจ กลั่นกรองกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
…………………………………………………………………
ดังนั้น ผมขอสรุปว่า สาเหตุที่ลุงตู่ยังอยู่ ลุง 3 ป.ยังอยู่ ก็เพื่อประคับประคองรักษารัฐธรรมนูญที่ร่างมาใหม่ให้อยู่ในร่องในรอย ซึ่งมันต้องใช้ระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจากวิกฤติทางการเมือง สู่สถานการณ์ของการรัฐประหาร เพื่อให้สามารถกลับเข้าสู่ประชาธิปไตย ซึ่งมันเป็นงกลไกทางการเมือง
เพราะฉะนั้น รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ไม่ใช่รัฐบาลสืบทอดอำนาจเผด็จการทหาร และพลเอกประยุทธ์ไม่ได้หลงระเริงต่ออำนาจ อย่างที่ถูกหลอกลวงปลุกปั่น
แต่พลเอกประยุทธ์ และลุง 3 ป. มาร่วมกันทำงานเป็นรัฐบาลเพื่อประคับประคองรักษารัฐธรรมนูญที่ร่างมาใหม่ให้อยู่ในร่องในรอย ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เพื่อการกลับเข้าสู่ประชาธิปไตย...
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เด็จพี่' บอกลุยแก้รัฐธรรมนูญเลยไม่ต้องสน กม.ประชามติ!
'พร้อมพงศ์' วอนทุกฝ่ายหยุด เห็นต่าง กม.ประชามติ เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญเป็นของขวัญปีใหม่ประชาชน
‘อัษฎางค์’ ถาม ทำไมพรรคเพื่อไทย ใช้เด็กฝึกงานมาเป็นผู้นำประเทศ
การใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่น iPad ในการเจรจาทางการทูต ไม่ได้แสดงถึงความทันสมัยและการเปิดรับเทคโนโลยี แต่เป็นภาพลักษณ์ที่อาจถูกตีความในเชิงลบ
‘บิ๊กตู่’ ร่วมฟังสวดพระอภิธรรม ‘คุณแม่ชดช้อย’ มารดานายกรัฐมนตรี
ที่ศาลา 9 วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เวลา 18.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี พร้อมด้วยนางนราพร จันทร์โอชา ภรรยา เดินทางมาร่วมฟังสวดพระอภิธรรมศพ นางชดช้อย
ยกนิรโทษกรรม 'พ.อ.มนูญ' ย้อนถามนิรโทษคดีม.112 จะมีมาตรการใดไม่กระทำผิดซ้ำ
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
ยกผลงาน Citi Identity ของ 'อภิรักษ์' เทียบ 'ชัชชาติ' ไม่แปลกโดนวิพากษ์ยับเยิน
นายอัษฎางค์ ยมนาค หรือ เอ็ดดี้ นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องสติกเกอร์“กรุงเทพฯ Bangkok” ที่ติดอยู่บริเวณบนคานรถไฟฟ้า BTS เพื่อสร้าง City Branding หรือ Citi Identity ว่า
'เทพไท' อัดแถลงการณ์พรรคเพื่อไทยสุดย้อนแย้งกับพฤติกรรม
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์คลิปพร้อมเนื้อหา