ถึงบางอ้อ 'ปิยบุตร' เฉลยทำไมกรุงเทพใช้คำว่า 'ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ' ไม่ใช้ 'นายก อบจ.'

17 มิ.ย. 2565 - นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า "ทำไมกรุงเทพใช้คำว่า ‘ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ’ ทำไมไม่ใช้ ‘นายก อบจ.’ จริงๆ สถานะของผู้ว่ากรุงเทพฯ ถ้าเทียบให้ตรงกัน มันต้องใช้นายกเทศมนตรีมหานครกรุงเทพ เพราะกรุงเทพ มีขนาดใหญ่ระดับ Metropolitan”

สาเหตุที่มาของการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ มาจากการที่ส่วนกลางต้านความต้องการกระจายอำนาจไม่ไหว เพราะเสียงเรียกร้องของการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของทุกจังหวัดมีมาตลอด แต่รัฐราชการแบบไทยไม่เคยยอมให้มีสิ่งนี้เกิดขึ้น สุดท้ายก็ต้องยอมให้กรุงเทพฯ ก่อน

มี พ.ร.บ. ที่เขียนเอาไว้ว่า ให้ผู้ว่ากรุงเทพฯ และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ส่วนจังหวัดอื่นๆ ก็รอไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเราได้รัฐธรรมนูญ 2540 ที่บังคับเอาไว้ว่าทุกจังหวะและท้องถิ่นต้องมีเลือกตั้ง มันถึงได้กระจายออกไปหมดในชื่อของ นายก อบจ.

มีความพยายามในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ แต่เกิดขึ้นนำร่องที่กรุงเทพก่อนในปี 2518 ภายหลังยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ได้คุณธรรมนูญ เทียนเงิน มาจากการเลือกตั้งของคนกรุงเทพ แล้วก็เว้นวรรคจากการมีผู้ว่าเลือกตั้งไปอีก 8 ปี หลังจากนั้นก็มีผู้ว่ากรุงเทพมาจากการแต่งตั้งอีกทั้งหมด 4 คน จนมาถึงปี 2528 ทนกระแสการเรียกร้องผู้ว่าเลือกตั้งไม่ไหว ถึงได้กลับมาให้เลือกผู้ว่าเลือกตั้งอีก จึงได้พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าฯ จากการเลือกตั้ง คนทั่วประเทศก็เลยมีความต้องการอยากเลือกตั้งบ้าง แต่ตอนนั้นที่ใช้คำว่า ‘ผู้ว่าฯ’ทั่วประเทศ เพราะอยู่ในยุคก่อนรัฐธรรมนูญ 2540 ยังไม่มีคำว่า อบจ.

อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้น พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ให้เลือกตั้งปี 2528 เขาก็ไม่ยอมให้เปลี่ยนคำว่า ผู้ว่าฯ นี้ เพราะมันมีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ที่เขาหวงแหน ไม่ยอมให้เลิก ในขณะที่จังหวัดอื่นๆ มีนายก อบจ. ได้ แต่ก็ยังมีตัวแทนจากส่วนกลางไปประกบติดอยู่ ในจังหวัดอื่นๆ ก็เลยมีเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกัน คือผู้ว่าฯ จากการแต่งตั้ง และนายก อบจ. จากการเลือกตั้ง

"ที่คนสับสนกันว่า ทำไมกรุงเทพฯ มีผู้ว่าฯ จากการเลือกตั้ง จังหวัดอื่นมาจากการแต่งตั้ง ต้นสายปลายเหตุมันมาจากการกระจายอำนาจของประเทศไทยมันดำเนินมาอย่างลักลั่น"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อิ๊งค์' เปิดตัว 9 ผู้สมัครนายก อบจ. ดีเอ็นเอเพื่อไทยชัด นามสกุลเดียวกับ สส.เพียบ

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรค และ สส.สระแก้ว , นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

'อนุสรณ์' ชี้ 'มาดามหน่อย' สานต่อนโยบายเพื่อไทย พัฒนาโคราชสู่ความยั่งยืน

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณี พรรคเพื่อไทย เปิดตัวนางยลดา หวังศุภกิจโกศล อดีตนายก อบจ.นครราชสีมา เป็นว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.นครราชสีมา ในนามพรรค

'ดร.ณัฏฐ์' ชี้เลือกตั้งอบจ.ระอุ! 'บ้านใหญ่' ยังขลัง-บางแห่งเสื่อมตามกาลเวลา

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ การเมืองท้องถิ่น อบจ. ระอุ บ้านใหญ่ยังขลัง แต่บางแห่งเสื่อมไปตามกาลเวลา ข้าราชการการเมือง ส.ส.ช่วยหาเสียงได้

ประธานกกต. เซ็นมตั้ง 415 ผู้ตรวจการเลือกตั้ง รับมือเลือกตั้งอบจ. 1 ก.พ.68 

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต.ลงนามในหนังสือคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงวันที่ 18 ธ.ค. 2568 เรื่องแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด สำหรับปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้งนายกองค์การ

'จตุพร' ฉะ 'ทักษิณ' เดินเกมการเมืองอบจ. แบบตีท้ายครัว ใช้นโยบายปราบผู้มีอิทธิพลเพื่อต้อนเข้าคอก

นายจตุพร​ พรหมพันธุ์​  กล่าวถึงบทบาทของนายทักษิณ​ ชิน​วัตร​ อดีต​นายก​รัฐมนตรี​ ในการเป็นผู้ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.ของพรรคเพื่อไทยในพื้นที่ต่างๆ ว่า​ จากคำพูดของ ร.อ.ธรรมนัส​ พรหมเผ่า​ สส.พะเยา ที่ออกมาระบุว่าได้พานายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ 

'ประธานกกต.' มั่นใจดูแลเลือกตั้งอบจ.เชื่อไม่เกิดปัญหาในจังหวัดบ้านใหญ่

ประธานกกต. มั่นใจ ดูแลเลือกตั้งอบจ. เชื่อไม่เกิดปัญหาในจังหวัดบ้านใหญ่ กกต.ประสานตร. - หน่วยงานเกี่ยวข้องลงพื้นที่ดูแล แนะผู้สมัครตรวจสอบคุณสมบัติก่อนลงสนาม กองเชียร์มาได้แต่ต้องอยู่ในกรอบกม.