สภาผู้ทรงเกียรติเสียเวลาชั่วโมง เถียงกันนัว รวบกฎหมายเปิดกว้างการแต่งงาน 4 ฉบับพิจารณาร่วมกันเป็นพวงเดียว
15 มิ.ย.2565 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่....) พ.ศ.... หรือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เสนอโดยนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กับคณะ ซึ่งเป็นฉบับที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอรับไปพิจารณาก่อนรับหลักการ 2.ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ... ที่ ครม.เสนอ 3.ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ.... เสนอโดย ครม. และ 4.ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ...ที่เสนอโดยนายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ประชาธิปัตย์ (ปชป.) และคณะ เสนอ
โดยก่อนเข้าสู่การพิจารณานายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรค ปชป.ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ขอให้นำร่างทั้งหมดที่ฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้เสนอมาพิจารณาพร้อมกัน เพราะมีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน แต่นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ไม่เห็นด้วย เพราะมีหลักการแตกต่างกัน และยังไม่มีมติจากที่ประชุมสภาให้พิจารณาร่วมกัน
จากนั้นนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยที่จะให้รวมพิจารณา เพราะขั้นตอนในการเสนอร่างกฎหมายประกบ อยู่ในสภามาไม่เคยเห็น และตามข้อบังคับการประชุม ข้อที่ 64 ระบุชัดเจนว่า ญัตติใดที่ถึงวาระการพิจารณาในที่ประชุมแล้ว การเสนอญัตติที่มีหลักการเดียวกันจะกระทำไม่ได้ การที่ ครม.เสนอกฎหมายที่มีหลักการเดียวกันเข้ามาอีก 2 ฉบับ และ ส.ส.รัฐบาล อีก 1 ฉบับ แล้วประธานรับรองญัตติและบรรจุเข้าระเบียบวาระ จึงถือเป็นการเริ่มต้นที่ผิด และหากมีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ประกาศใช้ก็ตกทั้งฉบับ ดังนั้นรัฐบาลอย่าดื้อดึงดัน เพราะจะทำให้เกิดความเสียหาย
ขณะที่วิปรัฐบาลยืนยันว่า สามารถนำมาพิจารณาพร้อมกันได้ แต่ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย โดยนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรค พท. ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ลุกขึ้นยืนยันว่า ฝ่ายค้านกังวลว่า เราจะร่วมกระทำผิดด้วยไม่ได้ และเราไม่ได้ดื้อดึง เราจะเป็นองค์ประชุมให้ไม่วอล์กเอาท์ แต่จะงดโหวต ซึ่งจะเป็นหลักฐานว่าท่านจงใจขัดข้อบังคับ และรัฐธรรมนูญ เราไม่ได้ขู่ ทำให้นายชวนชี้แจงว่า ได้ให้ฝ่ายกฎหมายสภาดูเรื่องนี้ว่าเคยใช้ในข้อบังคับที่ 64 เพราะไม่ต้องการอะไรที่ผ่านไปแล้วมีปัญหา ซึ่งในข้อบังคับ 64 นั้น ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าสามารถทำได้ และเคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2552 และ 2553 เรื่องการเสนอการใช้ที่ดินหวงห้ามที่ไม่ใช้ประโยชน์
อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังคงถกเถียงกันไม่จบ กระทั่งนายชวนได้ขอมติจากที่ประชุม ที่สุดเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยให้นำร่างกฎหมายทั้ง 4 ฉบับมาพิจารณารวมกัน ตามที่นายชินวรณ์เสนอและให้ลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแยกแต่ละฉบับ ทั้งนี้ ที่ประชุมใช้เวลาถกเถียงในส่วนนี้กว่า 1 ชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล
ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ