ซูเปอร์โพลเผย ม็อบรุนแรง - ยุยงในโซเชียล ทำความสุขลดลง

12 มิ.ย. 2565 – นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ความสุขชุมชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,195 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 8 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.4 มีความหวัง ความสุข หลัง ถอดหน้ากาก เปิดประเทศ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว กลับใช้ชีวิตปกติ นอกจากนี้ ความสุขชุมชนมากที่สุด เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนนได้แก่ คะแนนความสุขชุมชน ด้านครอบครัว ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวได้ 7.17 คะแนน ในขณะที่ ความสุขชุมชนด้าน สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และประชาชน ความรักความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว จงรักภักดี ช่วยกันปกป้องรักษาไว้ได้ 7.00 คะแนน ความสุขชุมชนเมื่อนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้แท้จริงได้ 6.94 คะแนน ความสุขชุมชนด้านสุขภาพได้ 6.77 คะแนนความสุขด้านเศรษฐกิจปากท้องได้ 5.38

ที่น่าเป็นห่วงคือ คะแนนความสุขชุมชน เมื่อนึกถึง ความขัดแย้งของคนในชาติ ม็อบรุนแรง การยุยงให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ ผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นตัวฉุดความสุขชุมชนลดลงเหลือ 4.92 คะแนน และความสุขชุมชนโดยรวมได้ 6.10 คะแนน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.5 กังวล บ้านเมืองจะวุ่นวาย ประชาชนไร้สุข เพราะคนในชาติแตกแยก ขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.5 ไม่กังวล และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.7 ชี้ว่าโซเชียลมีเดีย มีส่วนเป็นตัวเร่ง ทำคนไทยแบ่งเป็นสองขั้ว สร้างความแตกแยก ความเกลียดชังต่อกันของคนในชาติ ในขณะที่ร้อยละ 7.3 ระบุไม่มีส่วน

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่าในผลการศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนในโลกโซเชียลในหลายประเทศพบว่า โซเชียลมีเดียมีส่วนทำให้คนในแต่ละประเทศแบ่งออกเป็นสองขั้วสองฝ่ายเผชิญหน้ากันจริง เช่น เมืองฮ่องกง และกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางบางประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านของไทยในภูมิภาคนี้ จึงทำให้บางประเทศมีระบบคัดกรองเนื้อหาและมีกฎหมายห้ามการใช้โซเชียลมีเดียและห้ามประชาชนในประเทศพูดเรื่องการเมืองที่ทำลายความสมดุลในความแตกต่างทางความคิดของคนในชาติ เพื่อป้องกันสกัดกั้นความแตกแยกของประชาชน เช่น ประเทศสิงคโปร์ มีกฎหมายเป็นเครื่องมือสร้างความสมดุลของการแสดงออกทางการเมืองในที่สาธารณะ ไม่สร้างความแตกแยกของคนในชาติ เป็นต้น

“ที่น่าสนใจคือ การแสดงออกในที่สาธารณะต้องแสดงออกในพื้นที่ที่จัดไว้ให้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องขออนุญาตถ้าเป็นไปตามระเบียบกฎหมายของสิงคโปร์ แต่คนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะได้ต้องเป็นพลเมืองของสิงคโปร์เท่านั้นและคนเข้าร่วมฟังก็ต้องเป็นพลเมืองด้วย โดยไม่มีเนื้อหากระทบต่อศาสนา ชาติพันธุ์ ไม่สร้างความเกลียดชัง แตกแยกของคนในชาติ แต่ในประเทศไทย แกนนำทางการเมืองมักพูดและทำเพื่อเอาใจรักษาฐานเสียงของตนเองมากกว่าจะออกแบบเพื่อสร้างความสมดุลและความรักความสามัคคีของคนในชาติ เช่น ล่าสุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้สัมภาษณ์เรื่องม็อบลงถนนว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ต้องดูแลให้ปลอดภัย เป็นต้น เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายน่าจะช่วยกันพิจารณา ประเด็นคือ เมื่อเปิดประเทศถอดหน้ากากออกกลับสู่สภาวะปกติแล้วก็ไม่น่ามีความแตกแยกของคนในชาติจากม็อบต่าง ๆ มาขัดขวางการฟื้นตัวของประเทศ ดังนั้น ถ้าปล่อยให้ทำเหมือนที่เคยทำ ก็ยากจะหลุดพ้นวงจรอุบาทว์” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา

ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ

'ซูเปอร์โพล' เผยประชาชน 51.7% เชื่อมั่นนายกฯ 'อุ๊งอิ๊ง'

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความเชื่อมั่น ต่อ นายกรัฐมนตรี คนใหม่ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)