มีหนาวกันทั้งบาง! นักไวรัสวิทยาเผยที่อ้างว่าวัคซีนป้องฝีดาษคนใช้ป้องฝีดาษลิงได้ 85% นั้นเก่าคร่ำครึ นานกว่า 40 ปีแล้ว อาจต้องตรวจสอบใหม่ ซ้ำร้ายไวรัสยังพัฒนาไปไกล
09 มิ.ย.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊กมีเนื้อหาว่า ตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนไข้ทรพิษ (ฝีดาษคน) ในการป้องกันการติดเชื้อฝีดาษลิงคือ 85% ตัวเลขนี้ใช้อ้างอิงต่อๆกันไปจนเป็นตัวเลขที่น่าจะเป็นมาตรฐานจริงๆ ไปแล้ว ถ้าสืบหาต้นตอของตัวเลขนี้จะพบว่าเป็นการเก็บข้อมูลในประเทศซาร์อีมาตั้งแต่ปี 1981-1986 หรือ 40 ปีก่อน ในครอบครัวที่มีการสัมผัสผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง ในตารางจะเห็นว่า กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนฝีดาษพบอัตราการติดเชื้อจากกลุ่มที่สัมผัสผู้ป่วยที่ 9.28% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน พบอัตราการติดเชื้อที่ 1.31% ตัวเลขดังกล่าวนำมาใส่สูตรคำนวณได้ค่าประสิทธิผลของวัคซีนอยู่ที่ 85% จึงเป็นตัวเลขเดียวที่อ้างอิงต่อๆกันมา
ประเด็นคือ ตัวอย่างที่ใช้คำนวณถือว่าน้อยมาก ผู้สัมผัสเชื้อ 1,420 คน และ ผู้ติดเชื้อ 53 คน ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขที่นำมาคำนวณประสิทธิผลของวัคซีนโควิดน้อยๆ แบบนี้คงไม่ได้รับความสนใจเท่าไหร่ เพราะ Real word data ของวัคซีนโควิดต้องระดับหลายหมื่นคน หรือถึงหลักแสนคน ถึงจะสร้างความน่าเชื่อถือ อีกอย่างหนึ่งคือ เนื่องจากตัวเลขนี้เก็บในช่วงการให้วัคซีนไข้ทรพิษยังดำเนินการอยู่ ซึ่งไม่มีใครตอบได้ว่า 40 ปีต่อมาภูมิคุ้มกันที่ยังเหลืออยู่ยังเป็น 85% หรือไม่ และประเด็นเรื่องของสายพันธุ์ไวรัสฝีดาษลิงเมื่อ 40 ปีก่อน กับวันนี้ไม่เหมือนกัน ตัวเลข 85% อาจจะไม่ใช่ตัวเลขที่ถูกต้องในการอ้างอิง เพราะไม่น่าจะมีใครทราบว่า วัคซีนฝีดาษคนจะป้องกันฝีดาษลิงสายพันธุ์ปัจจุบันได้เท่าไหร่ คงต้องทำการทดลองกันอย่างจริงจังครับ
ตารางอ้างอิงมาจาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2491159/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
หมอยง : เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรหรือไม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษ