‘อดีตรองอธิการ มธ.’ เปิดความจริง 5 เรื่อง ตอกหน้า ‘เพื่อไทย’ ทำไมทุจริต ‘จำนำข้าว’ ถึงมูฟออนไม่ได้
3 มิ.ย. 2565 – รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อใดที่มีการอภิปรายงบประมาณในสภา กรณีจำนำข้าวก็จะถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงเสมอ และก็จะมีคนที่เรียกตัวเองว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย” ออกมาร้องว่า ให้ move on หรือ เดินไปข้างหน้าได้แล้ว หรือก้าวข้ามเรื่องจำนำข้าวเสียที บางคนก็ถึงกับยกย่องนโยบายจำนำข้าวของคุณทักษิณที่ให้พรรคเพื่อไทยดำเนินการ ว่าเป็นนโยบายที่ชาวนาได้ประโยชน์อย่างยิ่ง แม้ขาดทุนก็ต้องยอม
ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้เกี่ยวกับนโยบายจำนำข้าวก็คือ ทุกวันนี้รัฐบาลยังคงต้องตั้งงบประมาณเพื่อผ่อนชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการรับจำนำข้าว ซึ่งตัวเลขจากฐานเศรษฐกิจระบุว่า ยังคงมีหนี้เหลืออีกกว่าแสนล้านบาท และจะต้องใช้หนี้ต่อไปอีก 3-5 ปี แต่คุณทักษิณก็ยังพูดใน club house ว่า จุดแข็งของพรรคเพื่อไทยคือ มีแนวทางในการแก้ปัญหาของประเทศและทำเป็นด้วย อย่างนี้แล้วจะให้ก้าวข้ามเรื่องนี้ไปได้อย่างไร
วันนี้เราจึงจะลองย้อนไปสรุปความจริงเกี่ยวกับนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย สำหรับผู้ที่บอกให้ move on แต่อาจไม่ได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในการดำเนินโยบายจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทยบ้าง ดังนี้
1.นโยบายจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทย หลักการคือ รัฐบาลรับซื้อข้าวจากชาวนาทุกเมล็ดในราคาสูงกว่าราคาตลาด นั่นคือ รับซื้อในราคาตันละ 15,000 บาท ในขณะที่ราคาตลาดขณะนั้นอยู่ที่ตันละ 10,000 บาท ซึ่งความจริงควรเรียกนโยบายนี้ว่า นโยบายรับซื้อข้าวมากกว่า เพราะราคารับจำนำหรือรับซื้อสูงกว่าราคาตลาดมากขนาดนี้ คงไม่มีใครสติเสียพอที่จะไปไถ่ถอนข้าวที่จำนำไปแล้วคืน
วิธีดำเนินการคือ รัฐบาลรับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนา จ้างโรงสีที่รัฐบาลคัดเลือกให้ทำการสีข้าวให้เสร็จใน 7 วัน บรรจุลงกระสอบแล้วนำไปเก็บไว้ในโกดังหรือยุ้งที่ได้รับคัดเลือก โดยรัฐบาลเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจนกว่าจะมีการขายข้าวออกไป
วิธีคิดตามนโยบายจำนำข้าวคือ รับจำนำ(ซื้อ)ข้าวจากชาวนามาเก็บไว้ในราคาสูงกว่าราคาตลาด ทำการเจรจาร่วมมือกับประเทศผู้ส่งออกข้าวเช่น เวียตนามและอินเดีย ร่วมกันกำหนดราคาให้สูงขึ้น เมื่ออุปทานของข้าวถูกดูดซับเข้ามาเก็บไว้ในโกดังของรัฐบาล ปริมาณข้าวที่หาได้ในตลาดโลกจะลดลง ราคาก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาเพิ่มขึ้นสูงกว่าราคาที่รับซื้อ ก็จะทำการขายออกไปในราคาที่ได้กำไร
สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ กลไกตลาดข้าวถูกทำลาย ชาวนาแห่นำข้าวขายให้กับรัฐบาล ผู้ส่งออกข้าวไม่มีข้าวให้ส่งออก เนื่องจากไปข้าวไปกองอยู่ในโกดังที่รัฐบาลเช่าเกือบหมด ความร่วมมือกับประเทศผู้ส่งออกในการกำหนดราคาไม่เกิดขึ้น ซึ่งประวัติศาสตร์บอกไว้แล้วว่า cartel ของสินค้าทุกชนิดยกเว้นน้ำมันไม่เคยได้ผล เพราะจะมีสมาชิกใน cartel นำสินค้าไปขายในราคาต่ำกว่าราคาที่ตกลงกันเสมอ ในปีที่มีการเริ่มจำนำข้าวเป็นปีที่ผลผลิตข้าวของทุกประเทศที่เป็นผู้ผลิตสูงเป็นพิเศษ เนื่องจากฝนฟ้าอำนวย ข้าวจึงไม่ขาดแคลน ทั้งเวียตนามและอินเดียล้วนขายข้าวในราคาต่ำกว่า 10,000 บาทต่อตัน เสียด้วยซ้ำ ส่วนไทยไม่สามารถระบายข้าวออกมาได้โดยไม่ขาดทุน เพราะราคาตลาดไม่ได้สูงขึ้นอย่างที่คาดหวัง ข้าวจึงยังกองอยู่ในโกดัง เสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ อันดับการส่งออกของไทยที่เคยเป็นผู้นำจึงถูกแซงหน้า ในขณะที่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวใหม่ก็กำลังมาถึง เมื่อไม่สามารถระบายข้าวออกไปได้ รัฐบาลก็ต้องกู้เงินจาก ธกส. เพิ่ม เพื่อรับซื้อข้าวจากชาวนาในฤดูกาลใหม่ ผลที่ตามมาคือชาวนาได้รับเงินช้า รัฐบาลเป็นหนี้ชาวนาเป็นจำนวนมาก
2.ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาอีกคือ แรงงานจากภาคการผลิตอื่นๆ ละทิ้งอาชีพเดิมเปลี่ยนอาชีพไปทำนาเป็นจำนวนมาก ชาวนาไม่สนใจการพัฒนาคุณภาพข้าวเพราะจะอย่างไรก็ขายได้ทุกเมล็ด ทั้งยังมีคนแอบไปซื้อข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านนำมาสวมสิทธิขายให้กับรัฐบาล เจ้าของโรงสีและเจ้าของโกดังที่ได้รับการคัดเลือกส่วนใหญ่เป็นหัวคะแนนของส.ส.ของพรรครัฐบาล หรือเป็นพรรคพวกของคนในรัฐบาลล้วนได้ผลประโยชน์จากการรับจ้างสีข้าว และได้รับค่าเช่าโกดังจากรัฐบาลกันถ้วนหน้า นอกจากนี้ยังมีผู้มีอิทธิพลแอบนำข้าวในโกดังออกไปขาย แล้วหาซื้อข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีคุณภาพต่ำ ราคาต่ำมาส่งคืนในภายหลัง จากผลการศึกษาของ TDRI ระบุว่ามีข้าวในโกดังต่างๆหายไป 2.9 ล้านตัน เนื่องจากแอบนำข้าวออกไปขายแล้วนำกลับมาคืนไม่ทัน
3.เมื่อไม่สามารถระบายข้าวออกไปได้ในราคาที่สูงกว่าราคาจำนำ แต่หากไม่ระบาย ข้าวก็จะเสื่อมสภาพ และจะไม่มีเงินทุนหมุนเวียนกลับมาซื้อข้าวจากชาวนา จึงจำเป็นต้องระบายข้าวออกไปในราคาขาดทุน แต่ก็ยังไม่เว้นที่จะเกิดการทุจริตขึ้นอีก ผลการศึกษาของ TDRI เช่นกันระบุว่า การทุจริตในการระบายข้าวมี 3 รูปแบบ รูปแบบที่หนึ่ง คือการทุจริตจากการขายข้าวแบบจีทูจีหรือรัฐต่อรัฐ ซึ่งไม่ใช่เป็นการขายแบบรัฐต่อรัฐจริง แต่เป็นการใช้บริษัทที่แอบอ้างว่าเป็นของรัฐมารับซื้อ ในส่วนนี้มีปริมาณข้าว 7.8 ล้านตัน คิดเป็นเงิน 45,094 ล้านบาท รูปแบบที่สองคือ การเลือกขายข้าวให้กับพ่อค้าที่เป็นพรรคพวกที่เสนอซื้อในราคาต่ำราว 4 ล้านตัน คิดเป็นเงิน 21,512 ล้านบาท รูปแบบที่สามคือ การทุจริตในโครงการข้าวธงฟ้า/ข้าวถุงถูกใจ 1.1 ล้านตัน เป็นเงิน 8,541 ล้านบาท
4.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีหนังสือเตือนรัฐบาลเรื่องการทุจริตจำนำข้าว 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นการเสนอให้รัฐบาลพิจารณาวิธีการจำนำข้าวใหม่โดยไม่ให้มีการบิดเบือนกลไกตลาด เสนอหลักเกณฑ์การระบายข้าวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต ซึ่งรัฐบาลมีหนังสือตอบ ป.ป.ช. ยืนยันว่านโยบายจำนำข้าวเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร และยืนยันว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมาตรการและกลไกเพื่อควบคุมดูแลดีอยู่แล้ว มีระบบตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินการมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ได้มอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี สั่งการให้หน่วยงานในกำกับทำการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตในระดับปฏิบัติ ต่อมา ป.ป.ช. มีหนังสือแจ้งเตือนอีกฉบับ ครั้งนี้ถึงกับขอให้ยุติการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากจะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย นอกจากนี้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ยังมีหนังสือเตือนรัฐบาลอีก 4 ครั้ง อ้างถึงงานวิจัยของ TDRI โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ทั้ง ป.ป.ช. และ สตง. เห็นตรงกันว่าควรยุติโครงการรับจำนำข้าว แต่รัฐบาลยังคงยืนยันดำเนินการต่อไป
5.แม้รัฐบาลจะมีการระบายข้าวออกไปได้บ้าง แต่ก็เป็นการระบายข้าวที่ทำให้ขาดทุนอย่างมหาศาล ทำให้ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนพอที่จะชำระเงินให้กับชาวนาทั้งหมดได้ รัฐบาลจึงต้องกู้เงินเพิ่มอีก แต่เมื่อมีการประท้วงขับไล่รัฐบาลครั้งใหญ่ คุณยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีเลือกที่จะประกาศยุบสภาแทนการลาออก รัฐบาลจึงเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการ ซึ่งตามกฎหมายไม่สามารถก่อหนี้ได้ รัฐบาลจึงไม่สามารถกู้เงินเพิ่มได้ เป็นผลให้ชาวนาที่ขายข้าวแล้วยังไม่ได้รับเงินฆ่าตัวตายไปจำนวนหนึ่ง หลังจากมีการเปลี่ยนรัฐบาลโดยการรัฐประหาร จึงสามารถกู้เงินมาชำระหนี้แก่ชาวนาได้ทั้งหมด
ทั้งหมดข้างต้นคือความจริงที่เถียงไม่ได้ จริงอยู่ ชาวนาได้ประโยช์จากนโยบายจำนำข้าว แต่ สตง. ระบุในหนังสือเตือนว่า ชาวนาที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่เป็นเจ้าของที่ดิน มีชาวนาที่ยากจนได้รับประโยชน์เพียงร้อยละ 18 เท่านั้น และผู้ได้รับประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยกลับเป็นเจ้าของโรงสี จ้าของโกดัง และเอกชนที่ซื้อข้าวจากรัฐบาลในราคาต่ำ เช่นนี้ยังมีคนสรรเสริญเยินยอนโยบายจำนำข้าวครั้งนั้นได้อีกหรือ
สุดท้ายขอนำการถกเถียงเรื่องการนโยบายจำนำข้าวกับนโยบายประกันราคาข้าวของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ระหว่างมือเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยคนหนึ่ง กับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์คนหนึ่ง ในรายการ เจาะข่าวเด่นของคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา ตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มดำเนินนโยบายจำนำข้าวกลับมาให้ชมกัน (ตาม link ด้านล่าง) ในเวลานั้นคงยังบอกไม่ได้ว่าว่าระหว่างมือเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย กับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งโดยพื้นฐานเป็นแพทย์ ใครผิดใครถูก แต่ขณะนี้เวลาได้พิสูจน์ให้เห็นเรียบร้อยแล้ว
ดูแล้วจะแปลกใจว่าไฉนคนบางคนยังคงยืดหน้ายืดอกแสดงภูมิความรู้วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นได้จนถึงปัจจุบัน หรือว่าเขาได้ move on ก่อนคนอื่นไปแต่แรกแล้วกระมัง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นิพิฏฐ์' เฉลย 'ยิ่งลักษณ์' กลับไทยเป็นไปได้ 'ทักษิณ' ไม่ได้พูดเล่นๆ
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เปิดเผยว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯหนีคดีทุจริตจำนำข้าว อาจจะกลับประเทศไทยก่อนสงกรานต์ปีหน้า ว่า ระบุว่า
เดือดพลั่ก! ยธ. แถลงโต้ กมธ.มั่นคงฯ ไม่มีอำนาจเรียก ทวี-อธิบดีกรมคุก ชี้แจงทักษิณชั้น 14
นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายวรชัย บุตรดาบุตร เลขานุการกรมราชทัณฑ์ นายณรงค์ หนูคง ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ และ น.ส.วริศรา กุญชร ณ อยุธยา ผอ.กองกฎหมาย
เดือด! 'โตโต้' สวน ยธ. ยันมีอำนาจสอบทักษิณป่วยทิพย์ ลั่น กมธ.มั่นคงฯทำงานครอบจักรวาล
นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน (ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
'โรม' กล่อม 'ทักษิณ' เข้าแจง กมธ.ความมั่นคง ปมชั้น 14 เชื่อเป็นผลดีต่อรัฐบาล-นายกฯอิ๊งค์
นายรังสิมันต์ โรม รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเชิญนายทักษิณ ชินวัตร
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา
มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ
สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก