ไม่เคยเล่าที่ไหนมาก่อน! 'อดีตทูตนริศโรจน์' เผยความประทับใจพระราชจริยวัตรอันงดงาม

2 มิ.ย.2565 - นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Fuangrabil Narisroj ว่ามีเพื่อนๆอยากฟังแง่มุมต่างๆของในหลวง ร.10 ที่คนทั่วไปไม่ทราบจากประสบการณ์ที่ผมเคยถวายงานพระองค์ท่านอีก เพื่อนๆบอกว่าอ่านแล้วดีต่อใจ ทำให้เข้าใจพระองค์ท่านมากยิ่งขึ้น

ขอเล่าสมัยที่ผมประจำการอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ นครหลวงเวียงจันทน์ 2 รอบ รอบแรกช่วงปี 2550-2554 และรอบที่ 2 ช่วงปี 2558-2560

ในช่วงประจำการรอบแรก ผมได้มีโอกาสถวายงานรับใช้พระองค์ท่านหลายวาระ เนื่องจากพระองค์ท่านทรงขับเครื่องบิน Boeing 737-400 ของสายการบินไทย เที่ยวบิน กทม.- เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเที่ยวบินพาณิชย์ปกติ ในฐานะที่ทรงเป็น กัปตันของการบินไทย

ทุกครั้งที่สถานทูตได้รับแจ้งจากการบินไทย และทางในวังว่าพระองค์ท่านจะทรงขับเครื่องบินมาที่เวียงจันทน์ ในฐานะ กัปตันของการบินไทย แต่เนื่องจากสถานะของพระองค์ท่านคือ องค์รัชทายาทของในหลวง ร.9 ดังนั้น ทางสถานทูตจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมถวายอารักขาให้เต็มที่ให้สมพระเกียรติของพระองค์ท่าน

ในหลายวาระพระองค์ท่านเมื่อทรงขับเครื่องบินมาถึงเวียงจันทน์แล้ว ก็ทรงประทับรออยู่ในห้องกัปตัน (cockpit) เพื่อรอรับผู้โดยสารใหม่จากเวียงจันทน์ เข้ากทม. ต่อไป ทางสถานทูตก็แค่จัดเตรียมห้องรับรองที่ท่าอากาศยานวัดไต ไว้เผื่อกรณีที่พระองค์ท่านจะใช้ห้องเผื่อทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถ

แต่ก็มีบางวาระที่พระองค์ท่านเสด็จฯเข้าเวียงจันทน์ เพื่อทรงประทับแรม 1 คืน เพื่อรอทำหน้าที่ในเที่ยวบินวันรุ่งขึ้น ซึ่งก็ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นปกติเหมือน ลูกเรือ (Air Crew) คนนึงของการบินไทยจริงๆ

และถึงแม้เราจะได้รับแจ้งจากทางในวังและทาง TG ว่าในกรณีที่เข้ามาประทับแรมที่เวียงจันทน์ นั้น พระองค์ท่านไม่ประสงค์ให้มีพิธีต้อนรับใดๆ ไม่ประสงค์ให้เตรียมขบวนเสด็จฯ เพราะพระองค์จะทรงประทับในรถตู้ที่ TG จัดให้ ไม่ต้องมีการปิดถนน ไม่ต้องมีรถตำรวจนำแต่อย่างใดทั้งสิ้น รถตู้พระที่นั่งก็ใช้การจราจรปกติเหมือนคนทั่วไป

อย่างไรก็ตามในสถานะที่ทรงเป็นองค์รัชทายาทของแผ่นดิน ถึงแม้จะเป็นพระประสงค์ดังกล่าว แต่ทว่าสถานทูตก็มิอาจวางเฉยได้ ท่านทูตไทยจึงได้มอบหมายให้ผมไปแจ้งประสานกับทางการลาว ในที่นี้คือ กรมพิธีการทูตลาว เพื่อให้ฝ่ายลาวทราบตามพระประสงค์

วันที่ผมไปเจรจากับทางผู้ใหญ่ฝ่ายลาว ยังจำคำพูดของท่านผู้ใหญ่ลาวได้ดีว่า ทางลาวบ่สามารถทำตามที่ “องค์มงกุฏ” ต้องการได้ดอก (ฝ่ายลาวเรียกพระองค์ท่านแบบนี้ เพราะตอนนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร แต่ตอนนี้ฝ่ายลาวเรียกพระองค์ท่านว่า “เจ้ามหาชีวิต” นับตั้งแต่วันที่ทรงขึ้นครองราชย์)

ซึ่งทางผู้ใหญ่ฝ่ายลาวรับทราบถึงพระประสงค์ดังกล่าว แต่มิสามารถวางเฉยได้เช่นกัน เพราะหาก องค์มงกุฏ มาเกิดประสบเหตุอะไรขึ้นที่แผ่นดินลาว ทางฝ่ายลาวก็จะเสียใจและไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่ง

ผลสรุปการเจรจาคือ ทางฝ่ายลาวขอจัดตำรวจลับนอกเครื่องแบบ คอยถวายการอารักขาอยู่ห่างๆ รถที่ฝ่ายตำรวจลาวใช้ก็ไม่ใช่รถตำรวจ แต่เป็นรถเก๋งส่วนบุคคลธรรมดา

โดยฝ่ายลาวก็ประสานกับผม และ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารของไทยประจำลาว (ซึ่งต้องทำตามหน้าที่ “ราชองครักษ์”ด้วย) ตลอดเวลา โดยทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายลาวแต่งตัวนอกเครื่องแบบ คอยเฝ้าถวายอารักขาอยู่ห่างๆตลอดระยะเวลาที่ประทับอยู่ในลาว

ที่เป็นความทรงจำที่ประทับใจผมจนถึงทุกวันนี้ คือ เมื่อรถตู้พระที่นั่งที่ทรงประทับร่วมกับลูกเรือการบินไทย ผ่านที่บริเวณ “ประตูชัย” ที่เปรียบเหมือนเป็นสัญลักษณ์ของเวียงจันทน์ พระองค์ท่านก็เสด็จฯลงมาถ่ายรูปร่วมกับคนอื่นๆด้วย

ในตอนนั้นที่บริเวณประตูชัย ก็มีนักท่องเที่ยวพอสมควร แต่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นพระองค์ท่าน สักพักผมกับผู้ช่วยทูตทหารที่คอยเฝ้าอารักขาอยู่ห่างๆ

สักพักก็ได้ยินช่างถ่ายรูปชาวลาวคนนึงที่คอยถ่ายรูปให้กับนักท่องเที่ยวแถวนั้น พูดกับคนลาวด้วยกันพร้อมชี้ไปที่พระองค์ท่านว่า คนๆนั้นเหมือน “องค์มงกุฏ” ของไทยมากเด้อ ผมกับผู้ช่วยทูตทหารก็ได้แต่อมยิ้มไม่ได้ตอบว่าอะไร สักพักหลังจากถ่ายรูปเสร็จก็เสด็จฯขึ้นรถตู้เข้าโรงแรมที่พักต่อไป

ตอนค่ำทรงอยากไปเสวยพระกระยาหารค่ำร่วมกับทีมลูกเรือของ TG ทางฝ่าย TG ก็เลยหารือกับทางสถานทูตและฝ่ายลาวว่าจะเลือกร้านอาหารใดดีที่อยู่ริมโขง และบรรยากาศสบายๆ

สุดท้ายก็เลือกได้ร้าน “โขงวิว” ที่ทุกฝ่ายมองว่าเหมาะสมที่สุด เพราะกว้างขวาง โอ่โถง วิวทิวทัศน์ดี ก็เผอิญอีกเช่นกันที่ร้าน “โขงวิว” นี้ เจ้าของเป็นชายหนุ่มชื่อ พุด เป็นลูกผู้ใหญ่ลาว (ตอนนั้นบิดาของพุดเป็น รมว.ศธ.ของลาว และปัจจุบันบิดาของพุด คือ ท่านพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีของสปป.ลาว)

พุดนี้สนิทสนมกับผมดี เพราะทางสถานทูตได้ให้ทุน พุดไปเรียนจนจบปริญญาตรีที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬา (ปัจจุบันเท่าที่ทราบ พุด กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ ม.แม่โจ้)

พอพุดทราบว่าพระองค์ท่านจะเสด็จฯมาเสวยพระกระหารค่ำเป็นการส่วนพระองค์กับทีมลูกเรือ TG พุดก็ดีใจมากตื่นเต้น ถามผมว่าต้องเตรียมอะไรเป็นพิเศษมั้ย

ผมก็บอกพุดไปว่า ทำตัวสบายๆ พระองค์ท่านไม่ต้องการให้ทางร้านจัดเตรียมพิธีอะไรให้เป็นที่เอิกเกริก ขอแต่ว่าให้ พุด ช่วยเตรียมสำรองโต๊ะ ในบริเวณที่เป็นสัดส่วน และบอกพ่อครัวแม่ครัวให้โชว์ฝีมือทำอาหารลาวถวายพระองค์ท่านให้เต็มที่เท่านั้นก็พอ

สิ่งที่ผมเล่าสู่ให้เพื่อนๆฟังนี้ไม่เคยเล่าที่ไหนมาก่อน จึงอยากถ่ายทอดให้เพื่อนๆรับทราบถึงพระจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ท่านในอีกแง่มุมนึงที่คนทั่วไปอาจไม่ทราบครับ
#ทรงพระเจริญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วัดมหาธาตุวชิรมงคล จัดโครงการบรรพชาอุปสมบท เฉลิมพระเกียรติในหลวง

เนื่องในโอกาสมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 รัฐบาลไทยดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั่วประเทศ โดยกำหนดระยะเวลาขอบเขตการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เพื่อเป็นการร่วมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

มหรสพสมโภชในหลวง 72 พรรษา จัดใหญ่สนามหลวง

3 ก.ค. 2567 ที่หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)  จัดแถลงข่าวงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ในหลวง พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาน สวัสดิวัตน์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาน สวัสดิวัตน์ ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ว.ป.ร.2 ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตร

'ในหลวง พระราชินี' เสด็จฯ ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงชาวอุบลฯ ประสบวาตภัย

31 พ.ค.2567 - เวลา 10.10 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี ร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 789 ถุง

ในหลวงพระราชทานสิ่งของมอบสถานสงเคราะห์ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระราชินี

31 พ.ค.2567 - เวลา 09.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวัน และให้เชิญสิ่งของพระราชทาน และเครื่องอุปโภคบริโภค ไปมอบแก่โรงเรียน และสถานสงเคราะห์ จำนวน 2 แห่ง