1 มิ.ย. 2565 - ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลางที่จะให้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ให้ บริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) มีสิทธิเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม7,8 ต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยยกคำอุทธรณ์ ของกสทช.ที่ขอให้ศาลปกครองสูงสุดระงับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองกลาง
ทั้งนี้ศาลปกครองสูงสุดให้เหตุผลว่า ว่า คำสั่งของศาลปกครองกลางที่สั่งทุเลาการบังคับตามมติของกสทช.ในการประชุมครั้งที่ 10/2564เมื่อวันที่ 25 พ.ค.64 ในส่วนที่ให้ บริษัทไทยคมฯ ใช้ข่ายงานดาวเทียมที่มีการใช้งานโดยดาวเทียมไทยคม 7 เเละ8 ได้ถึงวันที่ 10 ก.ย.64 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทานไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น มีผลทำให้บริษัทไทยคมฯ ยังคงมีสิทธิเข้าใช้ ข่ายงานดาวเทียม THAICOM-A3, THAICOM-A3B , THAICOM-N3 และ THAICOM-Q2 ที่มี การใช้งานโดยดาวเทียมไทยคม 7และ8 ทำให้การให้บริการดาวเทียมไทยคม 7และ 8 ที่บริษัทไทยคมฯ ทำสัญญากับหน่วยงานต่างๆ อันเป็นกิจการโทรคมนาคม ดำเนินได้ต่อไปเท่านั้น มิได้มีผลเป็นการลบล้างอำนาจหน้าที่ของกสทช.ในการกำกับดูแล หรือบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมที่ประเทศไทยหรือหน่วยงานของรัฐได้รับหรือมีอยู่ ในการส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ แต่อย่างใด จึงถือว่า การทุเลาการบังคับตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่พิพาท มิได้เป็นอุปสรรคแก่การ บริหารงานของรัฐหรือแก่บริการสาธารณะ
ส่วนกรณีที่กสทช.อุทธรณ์ว่า ตามนโยบายและ แผนระดับชาติ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580) กสทช.มีหน้าที่ดำเนินการให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมและการ สละสิทธิดังกล่าว และมีหน้าที่จัดทำแผนการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม พิจารณา อนุญาตให้ผู้ที่ประสงค์ประกอบกิจการดาวเทียมได้เข้าใช้วงโคจรดาวเทียม จัดให้มีการดำเนินกิจการดาวเทียมในประเทศให้เพียงพอกับการใช้งานทั่วไป เพื่อส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการดำเนินกิจการดาวเทียม ต้องดำเนินการทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และการดำเนินการต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมการ เพื่อให้กิจการดาวเทียมของประเทศมีความต่อเนื่องตามลำดับสิทธิ์ในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม จึงต้องมีระยะเวลาสิ้นสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมที่แน่นอนชัดเจน หากมีการ ชะลอการนําสิทธิใช้วงโคจรดาวเทียมในบางพิกัด ย่อมกระทบต่อการบริหารจัดการกิจการ ดาวเทียมของประเทศ เพราะต้องจัดหาพิกัดตำแหน่งที่ตั้งของวงโคจรดาวเทียมอื่นๆ มาใช้ ทดแทน ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของวงโคจรดาวเทียมของแต่ละดวงมีประสิทธิภาพการใช้งานที่แตกต่าง ไม่เท่าเทียมกัน ทำให้อาจมีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการดาวเทียม และหากไม่มีการกำหนด ระยะเวลาที่แน่นอนชัดเจนย่อมเป็นปัญหาต่อการบริหารจัดการกิจการดาวเทียมที่ส่งผลกระทบ ต่อการให้บริการสาธารณะด้านกิจการโทรคมนาคมของประเทศ และส่งผลกระทบต่อนโยบาย และแผนระดับชาติ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และการมีคำสั่ง ทุเลาการบังคับตามมติของกสทช.ก่อให้เกิดอุปสรรคแก่การดำเนินกิจการดาวเทียมในการจัดส่งดาวเทียมดวงใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการให้บริการดาวเทียมรวมทั้งกิจการโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมและรองรับการใช้งานได้มากขึ้น ทำให้การให้บริการสาธารณะที่ดีขึ้น ต้องล่าช้าออกไปโดยไม่มีกำหนดนั้น
เห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในรายงานการประชุม ของกสทช. ระบุว่า หากในภายหลังได้มีคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือคำสั่งศาลในประเด็นทางกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศที่อยู่ในคดีพิพาทภายใต้สัญญาสัมปทาน ซึ่งทำให้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของการพิจารณาอนุญาตสิทธิเปลี่ยนแปลงไป สำนักงาน กสทช. จะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาทบทวนประเด็นการอนุญาตสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ อนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอีกครั้งหนึ่งดังนั้นกสทช.ย่อมคาดหมาย ได้ว่า สิทธิของบริษัทไทยคมฯ ในการใช้จ่ายงานดาวเทียมที่มีการใช้งานโดยดาวเทียมไทยคม 7และ 8 ยังมีความไม่แน่นอนและอาจเปลี่ยนแปลงได้หากอนุญาโตตุลาการหรือ ศาลปกครองวินิจฉัยให้บริษัทไทยคมฯ ชนะคดี และแม้กสทช.มีอำนาจหน้าที่จัดทำแผน การบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามที่กสทช.กล่าวอ้าง แต่กสทช.ย่อมไม่อาจปฏิเสธที่จะไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือคำพิพากษาของศาลในกรณีที่วินิจฉัยให้บริษัทไทยคมฯ เป็นฝ่ายชนะคดีได้ อุทธรณ์ของกสทช.ดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น คำสั่งทุเลาการบังคับตามมติกสทช.ของศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งระงับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ทุเลาการบังคับ ตามมติของกสทช.ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามคำขอของกสทช. การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของกสทช. ส่วนที่ เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมของดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ไว้เป็นการชั่วคราว ซึ่งหมายความรวมถึงให้บริษัทไทยคมฯมีสิทธิเข้าใช้ข่ายงานดาวเทียม THAICOM-A3, THAICOM-A3B , THAICOM-N3 และ THAICOM-Q2 ที่มีการใช้งานโดยดาวเทียมไทยคม7เเละ8 ได้ต่อไป จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มาแล้ว! ศาลปกครอง ร่อนเอกสารชี้แจงปม 'บิ๊กโจ๊ก' ยังไม่มีคำพิพากษาใดๆ
ศาลปกครอง เผยแพร่เอกสารชี้แจง กรณีที่มีสื่อมวลชนนำเสนอผลการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล ยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการไว้ก่อน นั้น
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ขรก.ฝ่ายศาลปกครอง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ 3 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ชาวบ้านเกาะเต่า ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลปค. เพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดบนเกาะ
นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่
ทลาย 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' ใช้เบอร์ 02 ลวงเหยื่อกว่าหมื่นเลขหมาย
พาณิชย์” ร่วม 3 หน่วยงาน แถลงข่าวจับกุมแก๊งคอลเซนเตอร์ ใช้นิติบุคคลบังหน้า หลอกลวงประชาชน หลัง กสทช. พบความผิดปกติใช้เบอร์โทร 02 นับหมื่นเลขหมาย โทรหาเหยื่อ ตำรวจพบมีนิติบุคคล 3 ราย เข้าไปเกี่ยวข้อง และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ข้อมูลนิติบุคคลเชิงลึก เผยยังได้วาง 7 แนวทาง ป้องกันการนำบริษัทไปใช้หลอกลวงเกิดขึ้นซ้ำอีก
ชาวบ่อทอง ชลบุรี เฮ!ศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานยางพาราแล้ว
ที่ศาลปกครองสูงสุด ถ.แจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ตามที่ชาวบ้านบ้านหนองใหญ่-ทับสูง ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
ผบ.ตร. ไม่ขอก้าวล่วง ศาลปกครองสูงสุด ชี้ขาด 'บิ๊กโจ๊ก' ขอคุ้มครองชั่วคราว
พล.ต.อ.กิตติรัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลปกครองยกคำร้องคุ้มครองชั่วคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนของ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ว่า ตนขอให้ความเห็นแบบกว้าง ๆ