ด้อยค่าสถาบันฟัง ปชช.ร้อยละ 98 เรียกร้องให้เคารพศรัทธาของผู้อื่นที่มีต่อจารีตประเพณี


30 ต.ค.2564 - นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ร่วมกับ นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนายั่งยืน เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ขบวนการทำลายศรัทธาผู้อื่น กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,032 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 27 - 30 ตุลาคม 2564 พบว่า

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.0 ระบุขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ควรให้เกียรติ เคารพความรัก ความศรัทธาของผู้อื่นที่มีต่อ จารีตประเพณี สถาบันต่าง ๆ ของผู้อื่น เช่น ความรักศรัทธา เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ และกรณี ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวของจุฬาลงกรณ์ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 97.8 ระบุ ขบวนการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแบบทำลายความรักความศรัทธาและคุกคามข่มขืนจิตใจผู้อื่น เป็นขบวนการมุ่งทำลายมากกว่า สร้างสรรค์ความสงบสุขเรียบร้อยในสังคม และร้อยละ 95.1 ระบุ ขบวนการเคลื่อนไหวให้คนเท่ากัน แต่ทำลายประเพณี ทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นแค่การหลอกลวงเพื่อทำให้ตนเองและพรรคพวกขึ้นมีอำนาจอยู่เหนือผู้อื่นเสียเอง

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.9 เห็นด้วยว่า คนเราจะเท่ากัน ต้องเคารพในความเห็นที่ต่างกัน ไม่เป็นเหตุ เปลี่ยนแปลงไปสู่ความแตกแยก ขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.1 เห็นด้วยน้อยถึงไม่เห็นด้วยเลย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.3 เห็นด้วยว่า คุณค่าความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีเป็นสิ่งที่มีคุณค่ารักษาให้อยู่ร่วมสมัยได้ในทุกยุค เป็นคุณค่าทางจิตใจและเสริมสร้างการมีส่วนร่วม หนุนใจ หนุนพลังต่อกันของคนในสังคม ในขณะที่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.5 เห็นด้วยว่า ขบวนการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ควรนำวัฒนธรรมและประเพณีไทย ผสมผสานและเข้ากับการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสู่ความสงบสุขเรียบร้อยของบ้านเมืองและประชาชน

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ขบวนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่จะทำให้คนจะเท่ากันต้องเริ่มจากการเคารพและยอมรับความเห็นที่แตกต่างของกันและกัน ถ้าจริงใจต้องทำสิ่งที่ทำให้เกิดการชวนกันทำสร้างสรรค์ไม่ใช่ชวนทะเลาะและนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย เพราะ ความหมายหรือสิ่งที่นึกถึงคำว่า “คนเท่ากัน” ของแต่ละคนไม่เหมือนกันและไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทั้งหมด การเคลื่อนไหวของขบวนการเปลี่ยนแปลงต้องไม่นำไปสู่ความแตกแยกของคนในชาติเป็นขบวนการทำลายศรัทธาผู้อื่น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลุ่ม LGBTQ ยังไม่เข้าใจกม.สมรสเท่าเทียม

นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เสียงของ LGBTQiA+ กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่ม LGBTQiA+ ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ซูเปอร์โพล ชี้ประชาชนห่วงการเมืองไทยไม่นิ่ง มหาอำนาจ 2ขั้วบีบ

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความมั่นคง การเมือง เงินดิจิทัล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ

ประชาชนสะท้อนปัญหาแก๊งดูดเงิน หวัง ธนาคาร-ธปท. รับผิดชอบเพิ่มขึ้น

นายนพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคประชาชนในคณะกรรมการ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) และอาจารย์ประจำหลักสูตรความปลอดภัยทางไซเบอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยความร่วมมือของสองสำนักโพลระหว่าง สยามเทคโนโพล และ ซูเปอร์โพล

โพลชี้ชัดเจน ประชาชน อยากเห็นนายกฯ ปฏิรูปตำรวจ

นายนพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่ปรึกษามูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ และผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล เสนอผลการศึกษาเรื่อง ปฏิรูปตำรวจ กับ ศรัทธาจากประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวนทั้งสิ้น 1,597 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา