ว่าที่ ผู้ว่าฯกทม. เตรียมดูสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว ลั่นให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย

29 พ.ค.2565-นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ยังไม่ได้เข้าไปดูในสัญญา คงต้องรอให้ทาง กกต.รับรองการเป็นผู้ว่าฯกทม.ก่อน ไม่น่าเป็นห่วง เราเพียงจะเข้าไปดูในสิ่งที่คนอื่นทำมาแล้ว ไม่ได้ไปทำอะไรใหม่ เพียงแต่จะไปดูสัญญาเก่าเป็นอย่างไร รับหนี้มาอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร ต่อสัญญาอีก 40 ปี เป็นอย่างไร ทุกอย่างไม่มีความรู้สึกหรือนำอารมณ์มาเกี่ยวข้อง จะดูไปตามเอกสาร ไปดูสิ่งที่คนอื่นทำมาเป็นอย่างไร จะดูตามเอกสาร เอาประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง ให้ความยุติธรรมกับทุกคน

“เรื่องต่อสัญญา เรื่องราคาค่าโดยสาร อยากให้มีความโปร่งใส มีการแข่งขัน มีคนมาช่วยดู ไม่ใช่ทำไม่กี่คน ไม่มีการแข่งขัน จึงบอกไม่ได้ว่าราคาที่เหมาะสมเป็นเท่าไหร่ ถ้ามีการแข่งขันก็จะชัดเจนขึ้น เพราะมีคนข้างนอกมาช่วยดู เป็นหลักง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน เป็นหลักการประมูลทั่วไปตามหลักการทำงานราชการ”

ถามว่ามีคนตั้งข้อกังวลภาระหนี้ที่ กทม. ติดหนี้บีทีเอสกว่า 4 หมื่นล้านบาท จะมีแนวทางบริหารจัดการอย่างไร นายชัชชาติกล่าวว่า หลังปี 2572 Cash flow ทุกอย่างเป็นของกทม.อยู่แล้ว เราพอมีเงินในอนาคต ต้องไปดูให้ดี ต้องไปดูหนี้ที่เกิดขึ้นเท่าไหร่ ควรจะรับเท่าไหร่ หลังปี 2572 เงินทุกบาท ทุกสตางค์เป็นของกทม.หมดแล้ว ตรงนี้จะมาทำอย่างไร ไม่ใช่ว่าไม่มีรายได้เข้ามา เป็นหนี้ที่อาจจะต้องเอารายได้ในอนาคตมาดู ดร.เกษราจะมาช่วยดูในเรื่องนี้ด้วย ต้องไปดูว่าจะจ่ายอย่างไร ปัญหาคือการจ่ายต้องผ่านสภากทม. ผ่านขั้นตอน

“เท่าที่เข้าใจ มีการอนุมัติเดินรถไป ไม่ได้ผ่านสภากทม. พอไปขอเงิน เขาเลยไม่จ่าย เหมือนไปจ้างก่อนขออนุมัติ เรื่องของเราเป็นการดูในอดีตว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วมาเล่าให้ฟัง ต้องไปดูว่าจะทำอย่างไรเพื่อมาแก้ปัญหา บีทีเอสทั้งหมดเราไม่ได้เป็นคนทำ เป็นเรื่องในอดีตเป็น10ปี หลายผู้ว่าฯ ก็ต้องมาดูเรื่องเป็นอย่างไร ให้เข้าใจตรงกัน แล้วมาหาทางแก้ เราไม่ได้ไปยุ่งอะไร แต่เป็นคนเข้าไปดู ขอไปดูข้อมูลก่อน”    

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด