'ดร.ปริญญา' ยกรธน.หลัก 'the rule of law' ชี้คดีการเมืองยิ่งต้องคำนึงถึงสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลย

'ดร.ปริญญา' ยกรธน.หลัก'the rule of law'ตอกย้ำการได้รับการประกันตัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ยิ่งเป็นคดีการเมืองจึงยิ่งต้องคำนึงถึงสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลย มิให้มีการใช้กฎหมายอาญาในการจัดการฝ่ายตรงข้ามหรือผู้เห็นต่าง

27พ.ค.2565- ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวมีเนื้อหาดังนี้

ตามรัฐธรรมนูญ #มาตรา29วรรคสาม #การคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลย กระทำได้เพียงเพื่อ #ป้องกันมิให้มีการหลบหนี

#หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ (presumption of innocence) เป็นหลักการสำคัญของ #การปกครองโดยกฎหมาย (the rule of law) ที่จะมีแต่ #ศาลเท่านั้นที่เป็นผู้พิพากษา

การตั้งข้อหาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการฟ้องโดยอัยการ เป็นแต่เพียง #การกล่าวหา ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยกระทำในส่ิงที่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดเท่านั้น ดังนั้น #การได้รับการประกันตัว หรือการสู้คดีนอกคุก จึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา หรือจำเลยทุกคน

รัฐธรรมนูญซึ่งเป็น พ.ศ.2560 ได้บัญญัติสิทธินี้ไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง คือ “ในคดีอาญา #ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้”

และเมื่อยังเป็นผู้บริสุทธิ์ มาตรา 29 วรรคสาม จึงได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า “การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยให้กระทําได้เพียงเท่าที่จําเป็น #เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี”

ว่าง่ายๆ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสาม เหตุผลเดียวในการไม่ให้ประกันตัวคือผู้ต้องหา หรือจำเลยจะหลบหนีเท่านั้นครับ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ก็ได้บัญญัติสอดคล้องกันไว้ว่า “#ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตปล่อยชั่วคราว” โดยมาตรา 108 วรรคสาม ให้ศาลมีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ และให้มีการใช้อุปกรณ์ในการติดตามตัวได้

นี่คือสิทธิที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองพลเมืองทุกคน เมื่อถูกกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และป้องกันไม่ให้มีการใช้กฎหมายอาญาจัดการกับผู้คนที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาล

ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าตามพระราชบัญญัติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาตรา 6 บัญญัติให้ “#สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี” นายกรัฐมนตรีจึงมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นผู้จับกุม และตั้งข้อหา

ดังนั้น ยิ่งเป็นคดีการเมือง หรือคดีที่เป็นเรื่องความเห็นต่างหรือขัดแย้งทางการเมือง จึงยิ่งต้องคำนึงถึงสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลย มิให้มีการใช้กฎหมายอาญาในการจัดการฝ่ายตรงข้ามหรือผู้เห็นต่าง และยิ่งต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสาม นั่นคือ ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลย ทั้งนี้ไม่ว่าจะโดนกล่าวหาในข้อหาใด ถ้าไม่มีพฤติการณ์ว่าจะหลบหนี เขาหรือเธอพึงได้รับอนุญาตให้ประกันตัวครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.

'ภูมิธรรม' ชี้ 'นิรโทษกรรม' จบแล้ว! หลังสภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.

นายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎรรับทราบรายงานผลการศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง

พรรคประชาชน อัดทั่นประธาน สั่งปิดประชุมกะทันหัน ยื้อร่างรายงานนิรโทษกรรม

สส.พรรคประชาชน นำโดยนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิป

'พิเชษฐ์' สั่งปิดประชุมสภาฯกะทันหัน เลื่อนโหวตรายงานกมธ.นิรโทษฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่สส.อภิปรายแสดงความคิดเห็นครบทุกพรรคแล้ว นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม กล่าวสรุปว่าเนื่องจากรายงานของ