พ่อแม่ผู้ปกครองที่ จ.บุรีรัมย์ ต่างนำชุดนักเรียนเก่าไปซ่อม ปะ เย็บ แก้ทรง ให้บุตรหลานสวมใส่ช่วงเปิดเทอมแทนซื้อชุดใหม่ หวังประหยัดค่าใช้จ่ายยุควิกฤตของแพงค่าครองชีพสูง
12 พ.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศช่วงใกล้เปิดภาคเรียนใหม่ มีพ่อแม่ผู้ปกครองในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ต่างนำชุดนักเรียนเก่าของบุตรหลานทั้งของตัวเอง และได้รับบริจาคต่อจากญาติพี่น้อง หรือรุ่นพี่ ไปซ่อม ปะ เย็บ แก้ทรง ตามร้านตัดเย็บเสื้อผ้าบนทางเท้า ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ที่มีมากกว่า 10 ร้านกันอย่างคึกคัก เพื่อเตรียมไว้ให้บุตรหลานสวมใส่ในช่วงเปิดภาคเรียนในสัปดาห์หน้าที่จะถึงนี้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ เนื่องจากบางครอบครัวมีรายได้น้อยไม่เพียงพอที่จะซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้บุตรหลาน เพราะชุดนักเรียนใหม่จะมีราคาแพงเฉลี่ยชุดละตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป แต่หากนำชุดนักเรียนเก่ามาซ่อม จะเสียค่าตัดเย็บเพียงตัวละ 30-80 บาทเท่านั้น ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างดี โดยเฉพาะภาวะปัจจุบันที่ราคาน้ำมันแพง รวมถึงข้าวของเครื่องใช้และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างทยอยปรับราคาสูงขึ้นเกือบทุกอย่าง ส่งผลให้ภาระค่าครองชีพสูงขึ้นตามไปด้วย แต่รายได้กลับเท่าเดิม
ช่างอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าบนทางเท้า ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ รายหนึ่ง กล่าวว่า ช่วงนี้ได้มีพ่อแม่ผู้ปกครองนำชุดนักเรียนเก่ามาให้ซ่อม ทั้งปะ เย็บ ย่อ ขยาย และแก้ทรงทั้งตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมนำไปให้บุตรหลานสวมใส่ช่วงเปิดภาคเรียนในสัปดาห์หน้า โดยจะคิดค่าซ่อมเพียงตัวละ 30-80 บาทเท่านั้น ส่งผลให้ช่วงนี้มีรายได้ดีเฉลี่ยวันละ 500-1,000 บาท จากปกติจะมีรายได้เพียงวันละประมาณ 200-300 บาทเท่านั้น คาดว่าจะมีผู้ปกครองนำชุดนักเรียนมาให้ซ่อมต่อเนื่องไปจนถึงเปิดเทอม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ราชกิจจาฯ ประกาศแล้ว เพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ข้าราชการ-ลูกจ้างประจำ
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเ
'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด
นิด้าโพลเผยประชาชนมอง ขึ้นค่าแรง 400 บาท ไม่คุ้มค่าแกง - ค่าครองชีพที่ปรับตาม
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ค่าแรงขึ้น… คุ้มมั๊ย กับ ค่าแกง?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ