ศาลรธน.นัด 1 มิ.ย.นี้ ตีความ พ.ร.ก.ฉุกเฉินขัดรธน. ม.26 หรือไม่ พร้อมสั่งจำหน่ายคดี คำโต้แย้งประกาศ-คำสั่ง คสช.คุมสื่อ ชี้ถูกยกเลิกแล้ว-ไม่มีผลบังคับใช้
11 พ.ค.2565 - ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณากรณีศาลแขวงดุสิตส่งคำโต้แย้งของนายปิยรัฐ จงเทพ หรือ โตโต้ จำเลยในคดีหมายเลขดำที่ อ 1762/2563 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ว่า พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. มาตรา 9 และมาตรา 11 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 และ มาตรา 26 หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงไม่ทำการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กำหนดประเด็นพิจารณาวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 (2) และมาตรา 11 (6) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ โดยกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ ในวันพุธที่ 1 มิ.ย.นี้ เวลา 09.30 น.
นอกจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญยังได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 51 กรณีศาลปกครองกลางส่งคำโต้แย้งของมูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ในคดีหมายเลขดำที่ 63/2560 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ว่า ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 103/2557 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 41/2559 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3,4,5,26,27,34 และ มาตรา 35 หรือไม่
โดยศาลรัฐธรรมนูญอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่า ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 103/2557 ถูกยกเลิกโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 9/2562 แล้ว ไม่มีผลใช้บังคับต่อไป ส่วนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 41/2559 ข้อ 1 ที่กำหนดให้การนำเสนอข้อมูลข่าวสารหรือการออกรายการที่มีเนื้อหาสาระตามข้อ 3 (1) ถึง (7) ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 103/2557 เป็นการออกอากาศที่มีเนื้อหาสาระตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 (ห้ามมิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงฯ)นั้น เมื่อประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้นถูกยกเลิกไปแล้ว คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 41/2559 ข้อ 1 ย่อมไม่มีผลใช้บังคับต่อไปด้วย อันเป็นกรณีไม่มีเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยคดีนี้ต่อไป จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
เดือด! 'โตโต้' สวน ยธ. ยันมีอำนาจสอบทักษิณป่วยทิพย์ ลั่น กมธ.มั่นคงฯทำงานครอบจักรวาล
นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน (ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง
ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา
มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ
สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก
ดร.เสรี หวังศาลเป็นที่พึ่งปชช. ลุ้น 22 พ.ย. รับไม่รับคำร้อง ‘ทักษิณ-เพื่อไทย’ ล้มล้างฯ
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถูกสงสัยว่าป่วยทิพย์ ณ ห้อง VVIP ชั้น 14 โรงพ