'อดีตรมว.คลัง' เตือนอย่าชักศึกเข้าบ้าน ถ้า 'บิ๊กตู่' ไปเหยียบหัวแม่เท้าจีน โอกาสการค้าขายในภูมิภาคจะมลายหายไป

'ธีระชัย-อดีตรมว.คลัง'ยันไม่ได้เสนอให้เลือกระหว่างการค้ากับจีนและสหรัฐ แต่เตือน'ประยุทธ์'ต้องเดินระหว่างเขาควาย ไม่เอียวไปด้านใดด้านหนึ่ง โอกาสการค้าขายในภูมิภาคจะมลายหายไปถ้าไทยไปเหยียบหัวแม่เท้าของจีน

11พ.ค.2565 - นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความ หัวข้อ อย่าชักศึกเข้าบ้าน มีเนื้อหาดังนี้

ผมไม่ได้นิยมจีนเป็นพิเศษ หรือนิยมสหรัฐเป็นพิเศษ แต่ผมเน้นผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นหลัก ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้กับจีน จะยกหนีไปไหนไม่ได้ จะยกไปแอบอิงสหรัฐไม่ได้ และในด้านการค้าขายกับจีน ก็มีแต่จะโตขึ้นทุกวัน บางคนกังวลว่าไทยคบจีนเสียเปรียบเพราะค้าขายขาดดุล

สินค้ายอดนิยมจากจีนเป็น consumer products เสื้อผ้าแฟชั่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และมือถือ เครื่องไฟฟ้า สินค้าแม่และเด็ก และของใช้รถยนต์

ถ้าไทยนำเข้าจากสหรัฐ/ยุโรปแทน ก็คงแก้ปัญหาขาดดุลกับจีนได้ แต่ไม่นานกระเป๋าจะฉีกขาดโหว่ ไทยจึงต้องแก้ขาดดุลกับจีน ด้วยการพัฒนาสินค้ายอดนิยมแก่คนจีน หาประโยชน์จากกลุ่มผู้ซื้อขนาด 1,400 ล้านคนให้จงได้

ส่วนที่ไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐนั้น ก็อย่าเพิ่งไปดีใจ เพราะไทยพลาดโอกาสด้าน services อีกมาก โดยเฉพาะรายได้โฆษณาในโซเชียลมีเดีย

อย่างไรก็ดี ผมไม่ได้เสนอให้เลือกระหว่างการค้ากับจีนและสหรัฐ แต่เตือนว่าพลเอกประยุทธ์ต้องเดินระหว่างเขาควาย ไม่เอียวไปด้านใดด้านหนึ่ง

นอกจากนี้ ที่ตั้งภูมิศาสตร์ของไทย ยังมีโอกาสที่จะพัฒนาการค้าในภูมิภาคได้มากขึ้นอีกด้วยเพราะประเทศไทยตั้งอยู่ตรงสี่แยกสุวรรณภูมิ มีจีนอยู่ทิศเหนือ มีอินเดียอยู่ทิศตะวันตก ประชากรสองพันกว่าล้านคนนี้ นับวันจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามากขึ้น

สองพันกว่าล้านคนนี้ นับวันจะมีฐานะดีขึ้น จะมีกำลังซื้อสูงขึ้น จะต้องการสินค้าคุณภาพสูงขึ้น จะต้องมีสินค้าให้เลือกหลากหลายมากขึ้น จะเป็นเช่นนี้ไปอีกหลายสิบปี

แต่นับเวลามาหลายพันปี สองประเทศนี้ไม่สามารถส่งสินค้าหากันข้ามเทือกเขาหิมาลัยที่สูงทุ่สุดในโลกได้เลย และก็จะไม่มีวันทำได้ด้วย และการที่มีแนวพรมแดนยามร่วมกัน ทำให้เกิดการระหองระแหงอยู่เนืองๆ

ดังนั้น ประเทศไทยที่มีคนทั้งสองเชื้อชาติ จึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางได้ เชื่อมการค้าผ่านสี่แยกได้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนยังต้องซื้อวัตถุดิบและน้ำมันจากอัฟริกาตะวันออกอีกมาก ซึ่งไทยสามารถเชื่อมการค้าผ่านสี่แยกได้อีกด้วยโดยพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่ระนอง แล้วเชื่อมรถไฟความเร็วสูงไปที่จีน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาเพิ่มมูลค่าแก่วัตถุดิบในไทย

สรุปแล้ว ไม่มีประเทศใดที่สามารถทำตัวเป็นห้องแถวคุมสี่แยกสุวรรณภูมิได้ดีเท่ากับไทยและจุดศูนย์กลางการค้าขายระดับทองคำนี้ จะสามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่คนไทยไปได้อีกนับร้อยๆ ปี เป็น competitive advantage ทางภูมิศาสตร์ที่ธรรมชาติให้มา เทียบได้กับจุดพักคาราวานอูฐ caravanserai ที่เฟื่องฟูตามเส้นทางสายไหมพันปีที่แล้ว

อย่างไรก็ดี โอกาสการค้าขายในภูมิภาค จะมลายหายไป ถ้าไทยไปเหยียบหัวแม่เท้าของจีน ไม่ว่าโดยตนเอง หรือโดยตกหลุมของสหรัฐ

รูป 1 กต.กล่าว 2 ประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง ไทยดำเนินนโยบายต่างประเทศยึดสมดุลอยู่แล้ว
ผมจึงขอถามว่า การที่พลเอกประยุทธ์บุ่มบ่ามลดตัวลงไปลงนามร่วมกับ รมว.กลาโหมสหรัฐในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย ในแถลงการณ์ด้านการทหารของสองประเทศ …
แต่กล่าวพาดพิงไปถึงอินโด-แปซิฟิก และการเชื้อเชิญประเทศอื่นที่มีจุดยืนคล้ายกัน ตลอดจนบทบาทของอาเซียนนั้น …

เกินเลยไปจากความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่างสองประเทศ ใช่หรือไม่?มีประเทศอาเซียนอื่นที่ทำแถลงการณ์ทำนองนี้ หรือไม่? ประเทศใด?

ประเด็นที่สอง กต.กล่าวว่า เรื่อง นาโต้-2 เป็นแค่จินตนาการ!!!
ผมขอแสดงข้อมูลว่า ถ้าเป็นจินตนาการ ก็เป็นจินตนาการที่มีนัยสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งถ้า กต.ไทยยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของจิตนาการนี้ ก็เป็นการทำหน้าที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์

รูป 2 บุคคลที่แถลงข่าวระดับนานาชาติ ที่แสดงจินตนาการกังวลเรื่องนาโต้เอเซีย คือ รมว.กต.จีน นายหวังยี
คนนี้ไม่ใช่นักวิเคราะห์โซเชียลมีเดียทั่วไปนะครับ

รูป 3 เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2565 บอริส จอห์นสัน นายกฯ อังกฤษระบุว่า ถึงเวลาที่นาโต้จะขยายขอบเขตไปทั่วโลก
คนนี้ก็ไม่ใช่ผู้นำประเทศกระจอกทั่วไปนะครับ

รูป 4 เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2565 ลิซ ทรัส รมว.กต.อังกฤษ ก็ระบุว่า ถึงเวลาที่นาโต้จะขยายบทบาทไปปกป้องใต้หวัน
NATO ย่อมาจาก North Atlantic Treaty Organization ซึ่งหมายถึงพื้นที่เฉพาะมหาสมุทรอัตลันติกตอนเหนือ แต่กำลังจะขยายบทบาทไปทั่วโลก คนนี้ก็ไม่ใช่รมว.กต.ประเทศกระจอกทั่วไปนะครับ

รูป 5 เกาหลีใต้เป็นประเทศเอเซียประเทศแรกที่เข้าร่วมกิจกรรมนาโต้อย่างเป็นทางการ โดยเข้าร่วมกลุ่มป้องกันด้านไซเบอร์

รูป 6 กลุ่มนี้เรียกว่า Nato Cooporative Cyber Defense Center of Excellence ตั้งอยู่ที่เอสโตเนียในยุโรป นอกจากสมาชิกนาโต้ 27 ประเทศแล้ว ขณะนี้มีประเทศนอกอีก 5 ประเทศ เป็นการแสดงการรุกคืบของนาโต้เข้าไปในเอเซีย ทีละคืบ ทีละคืบ

รูป 7 ในการประชุมระดับซัมมิตนาโต้ระหว่างวันที่ 29-30 มิ.ย. 2565 ปรากฏว่านาโต้ได้เชิญผู้นำคนใหม่ของเกาหลีใต้เข้าร่วม ผู้นำคนใหม่ของเกาหลีใต้คนนี้ ได้ประกาศนโยบายชัดเจนว่าจะกลับไปจับมือแน่นแฟ้นกับสหรัฐเหมือนในอดีตหลายสิบปีก่อน

อธิบายแบบชาวบ้าน คือกลับไปยุคสงครามเย็นนั่นเอง แต่เปลี่ยนตัวคู่ต่อสู้กับตะวันตก จากสหภาพโซเวียต ไปเป็นจีน
ถามว่า การเดินหมากเชื่อมโยงไปที่นาโต้ตานี้ของเกาหลี เป็นจินตนาการดังที่ กต.ไทยบรรยาย หรือไม่?
ต้องดูรูป 8 ทันทีที่สำนักข่าวยอนหับของเกาหลีใต้ทวิตข้อความ ข่าวเรื่องเกาหลีใต้ไปร่วมกิจกรรมกับนาโต้ด้านสงครามไซเบอร์ …

นายหู ซีจิน ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กรข่าวที่เป็นแขนขาของรัฐบาลจีน ก็ทวิตตอบโต้ …
เขาเตือนว่า การที่เกาหลีเลือกเดินถนนสายที่เป็นปรปักษ์กับเพื่อนบ้านอย่างนี้ จุดหมายปลายทางของถนนสายนี้ อาจจะเป็นเหมือนยูเครน!!!

นี่ไม่ใช่จินตนาการของคนในโซเชียลมีเดียทั่วไปอย่างแน่นอน

รูป 9 รมช.กต.จีน นายลี ยูเชง ก็ออกมากล่าวสำทับเกาหลีใต้ เตือนเรื่องอนาคตจะเป็นเหมือนยูเครน และอ่านระหว่างบรรทัดได้ชัดแจ้งว่า จีนมองว่าต้นตอของปัญหาเกิดจากยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐ
สรุปแล้ว พลเอกประยุทธ์ที่เดินทางไปร่วมประชุมกับไบเดน ควรพิจารณาหาทางวางภาพพจน์ท่าทีของไทยเตรียมเอาไว้

โดยควรจะแถลงข่าวของอาเซียน หรือ ของไทย ว่าพร้อมจะสนับสนุนแนวทางของสหรัฐ ถ้าหากไม่กีดกันประเทศใดประเทศหนึ่ง และไม่เป็นการกีดกันทางการค้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธีระชัย' เหน็บโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หนุนสร้างพายุหมุนในจีนและเกาหลี แทนไทย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว

ดิจิทัลวอลเล็ตส่อขัดรธน.! อดีตรมว.คลังแนะกฤษฎีกาตีความ รัฐบาลล้วงงบฯจากปี67ด้วย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์

'สมาคมธนาคารไทย' ลดดอกเบี้ยตอกย้ำความขัดแย้งนายกฯกับผู้ว่าฯธปท.

'อดีตรมว.คลัง' ชี้สมาคมธนาคารไทยลดดอกเบี้ย ตอกย้ำความขัดแย้งระหว่างนายกฯ กับผู้ว่าฯแบงค์ชาติ กลยุทธ์ที่นายกฯ งัดมาใช้นั้นไม่สำเร็จ ไม่มีผลต่อการลงทุนภาคเอกชนเพราะเป็นเพียงระยะสั้น

'อดีตรมว.คลัง' วิเคราะห์ 'ปิโตรเลียมไทย-กัมพูชา' แนะทางเลือกเหมือน ไทย- มาเลเซีย

'อดีตรมว.คลัง' วิเคราะห์ 'ปิโตรเลียมไทย-กัมพูชา' ชี้ไม่มีการระบุว่าเป็นการกำหนดแนวเขตทางทะเล ถ้าไทยฟ้องศาลโลกก็ไม่แน่ว่าจะชนะ แนะทางเลือกเจรจายุติปัญหาข้อพิพาท เช่น กรณีไทย- มาเลเซีย