'พิภพ' ชี้ 9 สาเหตุที่ความขัดแย้งทางการเมืองในวาระครบรอบ 30 ปี พฤษภา 35 ยังดำรงอยู่

'พิภพ' ชี้ 9 สาเหตุที่ความขัดแย้งทางการเมืองในวาระครบรอบ 30 ปี พฤษภา 35 ยังดำรงอยู่ ปชต.ไทยยังไม่ปลดล็อกทหารออกจากการเมืองได้ การเลือกตั้งไม่สามารถคัดเลือกนักการเมืองน้ำดี กระบวนการยุติธรรมยังเป็นระบบจารีตนิยม

11พ.ค.2565 - นายพิภพ ธงไชย อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้

ความขัดแย้งทางการเมืองในวาระครบรอบ 30 ปี พฤษภา 35 ยังดำรงอยู่ในวันนี้

อันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจาก

1. สังคมประชาธิปไตยไทย ยังไม่สามารถปลดล็อกทหารออกจากการเมืองได้ ถ้าเทียบกับประเทศที่ผ่านเผด็จการทหาร อย่างเกาหลีใต้(ในเหตุการณ์ที่กวางจู) ในอินโดนีเซีย ในฟิลิปปินส์ ที่สามารถฟื้นฟูระบบประชาธิปไตยกลับคืนมาได้อีก

2. กระบวนการเรียนการสอน ในโรงเรียนนายร้อย จปร. ได้สร้างจิตสำนึกแบบชาตินิยมที่ล้าหลัง ที่ขัดแย้งกับระบบประชาธิปไตยสากล ทำให้เหล่าทหารบกในกองทัพไทย ถือเป็นหน้าที่ที่จะฉวยโอกาสเข้ามายึดอำนาจการปกครองไปให้ทหารในกลุ่มของตน เมื่อระบบประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งล้มเหลว เพราะไม่สามารถได้นักการเมืองที่เป็นนักประชาธิปไตยและปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น

3. สังคมประชาธิปไตยไทย โดยระบบการเลือกตั้ง ยังไม่สามารถคัดเลือกนักการเมืองน้ำดี ที่มีความสามารถและไม่ทุจริตได้

4. ระบบการศึกษาไทย ยังไม่สามารถสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยให้เด็กนักเรียนและนักศึกษาพ้นจากลัทธิอำนาจนิยมและเกิดลักษณะความสัมพันธ์แบบมนุษยนิยมในสิทธิมนุษยชนสากล ในระบบโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษา ได้มากพอ จิตสำนึกประชาธิปไตย จึงยังคงมีเป็นส่วนน้อยในคนรุ่นใหม่ ในยุคสมัย นับตั้งแต่ 14 ตุลา 16

5. กระบวนการเรียนรู้ที่คับแคบในระบบโรงเรียน เพราะให้นักเรียนได้อ่านเฉพาะตำราเรียนและฟังครูสอนหน้าห้องเพียงอย่างเดียว ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านหนังสือนอกตำรา แล้วนำมาถกเถียงในห้องเรียน

6.ระบบเศรษฐกิจไทย ยังเป็นระบบผูกขาด ทำให้นักธุรกิจและพ่อค้าหันไปสนับสนุนระบบอำนาจนิยม แทนที่จะสนับสนุนระบบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนกับสิ่งแวดล้อม ให้พัฒนาทันโลก

7. พรรคการเมืองไทย ยังไม่สามารถสร้างกลไกประชาธิปไตยในพรรคการเมืองได้ ยังเป็นพรรคการเมือง”แบบเจ้าพ่อ” ที่มีทุนไปใช้อำนาจ”แบบมาเฟีย”ในพรรคอยู่ในหลายพรรคการเมือง

8. สื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ทีวี หนัง ละคร ไม่ส่งสริมการเรียนประวัติศาสตร์ และระบบประชาธิปไตยให้ลึกซึ้ง ทำให้สิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน ที่มวลชนจะเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยในวงกว้าง ไม่เกิดขึ้นมากพอ จนสามารถยับยั้งเผด็จการทหารไม่ให้ฉวยโอกาสเข้ามาทำลายรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยได้

9. สุดท้าย ระบบในกระบวนการยุติธรรม ยังเป็นระบบจารีตนิยม ที่คนในระบบส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่ง ยังสนับสนุนเผด็จการทหาร ระบบราชการ ระบบทุนนิยม แทนที่จะสนับสนุนกระบวนการต่อสู้ของประชาชนในระบบประชาธิปไตย

30 ปีพฤษภา 35 กับ 50 ปี 14 ตุลา 16 จึงยังคงความขัดแย้งระหว่างอำนาจนิยมแบบทหารไทยกับระบบประชาธิปไตยสากล มาตั้งแต่ยุค 2475

และความขัดแย้งวันนี้ ได้ลามปามมาถึงงาน 30 ปีพฤษภา 35 ในวันที่ 17 พฤษภา ปีนี้ด้วย

ต่อหน้ากระดูกวีรชนในสถูปอนุสาวรีย์วีรชน ที่มีสัญญลักษณ์”สันติภาพบนสันติธรรม”

ขอสดุดีวีรชน ที่อุทิศตัวเอง อย่างไม่กลัวตาย ไม่กลัวการบาดเจ็บพิการ ไม่กลัวการอุ้มหาย ในเหตุการณ์เมื่อ 30 ปีก่อน บนถนนราชดำเนิน

จนวันนี้ ก็ยังไม่ได้รับการสดุดีมากพอจากสังคมไทย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ

'ธนกร' ยกผลโพลสภาค้านนิรโทษคดี ม.112 บี้กมธ.นำไปพิจารณารวมในร่างกม.

'ธนกร' ยก ผลโพลสภาเสียงประชาชนส่วนใหญ่กว่า 64.66%ไม่เห็นด้วย นิรโทษกรรมฉบับปชช. รวม ม.112-คดีโกง-ทำคนตาย จี้กมธ.นิรโทษ เปิดรับฟังความเห็นทุกฝ่ายรอบด้าน นำไปพิจารณารวมในร่างกม.

นิรโทษกรรมคืบ เคาะนิยาม 'แรงจูงใจทางการเมือง' คดี 112 ยังจบไม่ลง

นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุมในวันนี้ ว่า มติที่ประชุมเห็นชอบเรื่องของกรอบ

ถ้านิรโทษฯรวมคดี 112 ของทักษิณ คดี 112 ทั้งหมดต้องรวมด้วย กันครหาเลือกปฏิบัติ

นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม กล่าวก่อนการประ

ลั่นต้องไม่เลือกปฏิบัติ นิรโทษกรรมต้องครอบคลุมคดี ม.112

ที่รัฐสภา น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพร้อมด้วย น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ ตัวแทนเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน เดินทางเข้าให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการ