‘รมว.ดีอีเอส’ แย้ม พรฎ.กำกับแพลตฟอร์มดิจิทัล ใกล้นำมาบังคับใช้แล้ว

รมว.ดีอีเอส ชี้ปิดแพลตฟอร์ม รอศาลสั่ง วอนอินฟูเอนเซอร์-เอเจนซี่โฆษณา ระมัดระวังเนื้อหาก่อนโพสต์ จ่อใช้ พรฎ.กำกับแพลตฟอร์มดิจิทัล คลอดเร็วๆนี้

9 พ.ค.2565-นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) กล่าวถึงถึงกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นเรื่องขอให้ร้องศาลสั่งปิดเว็บไซต์และแพลตฟอร์มขายสินค้าชื่อดังที่ปล่อยให้มีการเผยแพร่โฆษณาที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันว่า ดีอีเอสได้ติดตามเรื่องนี้ตั้งแต่ได้ทราบข่าวว่ามีการโพสต์ไม่เหมาะสมในแพลตฟอร์มชื่อดัง จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานจากทุกช่องทาง ยูทูป เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ พบว่ามี 42 ยูอาร์แอลที่แชร์ข้อมูล จึงได้ประสานงานกับทางแพลตฟอร์มให้มีการปิดกั้น เทคดาวน์ไปแล้ว และจะดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุดกับผู้มีความผิด และจะขอคำสั่งศาลสั่งปิดกั้นด้วยหากแพลตฟอร์มยังไม่ปิดกั้น แต่คิดว่าน่าจะปิดได้หมด ไม่มีปัญหา

“ฝากเตือนไปยังอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้ที่จะโพสต์ข้อความ คลิปต่างๆ รวมถึงเอเจนซี่โฆษณาอยากให้มีความระมัดระวัง โพสต์ที่จะ กระทบความรู้สึกของคนไทยหรือผิดกฎหมาย ผิดจรรยาบรรณสื่อในการโฆษณา จึงอยากให้ทำงานด้วยความระมัดระวัง ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ทั้งนี้จะดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุดกับผู้กระทำผิดทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น นาราเครปกระเทย ที่เป็นเจ้าของโพสต์บริษัทโฆษณา ตัวแพลตฟอร์ม ประกอบด้วย 3 กลุ่มนี้ซึ่งต้องดำเนินคดีทั้ง3กลุ่ม ส่วนใครจะมี ความผิดอย่างไรต้องดำเนินไปตามกฎหมาย”

ถามว่าจะเชิญบริษัทโฆษณา เอเจนซี่ มาทำความเข้าใจรูปแบบการนำเสนอหรือไม่ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของสมาคมโฆษณาที่มีมาตรฐานวิชาชีพ มีจรรยาบรรณ ที่จะต้องดูแลกันเอง ตนเชื่อว่าเขาได้พูดคุยกันอยู่แล้วในการบังคับใช้มีจริยธรรมอย่างจริงจังและควรมีบทลงโทษคนที่ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมหรือจรรยาบรรณของสมาคมโฆษณา สื่อโฆษณา ซึ่งอยากให้พวกเขากำกับกันเองมากกว่าเพราะหากเราไปใช้อำนาจรัฐก็เท่ากับไปแทรกแซง หรือทำให้เขารู้สึกไม่สบายใจ ทางสมาคมเขาจะกำกับดูแลกันเองส่วนทางเราก็คอยไปประสานงาน

“ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกเพราะกระทบความรู้สึกคนไทยโดยเฉพาะแพลตฟอร์มเองก็โดนกระทบมาก ที่กระทำไม่เหมาะสม คนไทยรับไม่ได้ ถือเป็นอุทาหรณ์ให้กับแพลตฟอร์มหรือการค้าออนไลน์การโฆษณาต่างๆที่จะต้องมีความระมัดระวัง การกระทำใดที่ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ขัดความรู้สึกของคนไทยสังคมจะลงโทษทั้งนั้น”

ถามว่า มีบางฝ่ายเสนอให้รัฐบาลออกกฎหมายการให้บริการดิจิทัล (Digital Services Act – DSA) ที่เหมือนกับกฎหมายของสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อใช้มากำกับดูแลแพลตฟอร์มต่างๆ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า กฎหมายที่จะดูแลเรื่องแพลตฟอร์มเราได้ร่างแล้ว เพื่อให้มีมาตรฐานสากลเหมือนในยุโรป ขณะนี้อยู่ระหว่างคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายกำลังยกร่างซึ่งใกล้เสร็จแล้วจะได้เข้าสู่สภา แต่อย่างไรก็ตามเรามีพระราชกฤษฎีกา กำกับแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งได้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปแล้วขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักงานกฤษฎีกากำลังตรวจร่าง ก่อนจะประกาศ ซึ่งจะ มีการบังคับให้แพลตฟอร์มดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ ต่างๆ จะต้องมาจดแจ้งการประกอบการ ต้องมีมาตรการในการควบคุมการใช้งานไม่ให้ผิดกฎหมาย หรือกระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อมีมาตรการกำกับดูแล เช่น เขาต้องมีตัวแทนในประเทศไทย มีอัลกอริทึมที่เหมาะสมในการโพสต์หรือแชร์ มีการควบคุมไม่ให้มีปัญหา กำกับดูแลโดยพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.)กำกับแพลตฟอร์มดิจิทัล จะออกเร็วๆนี้ ซึ่งผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปแล้ว กฤษฎีกาตรวจร่างยังไม่เสร็จ จึงยังไม่ได้ประกาศใช้

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า เห็นด้วยว่าเราควรจะทำให้เร็ว รัฐบาลให้ความสำคัญ พยายามแก้กฎหมาย ปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆตลอดเวลา ก็ต้องเร่งให้เร็วที่สุด แต่ต้องมีความรอบคอบ มีการรับฟังความคิดเห็น ตรวจร่างให้ถูกต้อง จึงต้องใช้เวลา แต่ โดยหลักการวันนี้ปัญหาใหญ่คือประชาชนจะต้องระมัดระวัง ในการใช้โซเชียลมีเดียในการโพสต์หรือแชร์ รวมถึงบริษัทที่ทำโฆษณา หรือ ผู้ขายทางออนไลน์ อินลูเอนเซอร์ จะต้องมีจรรยาบรรณถูกกฎหมาย และถูกบริบทของสังคมด้วย การทำอะไรขอให้ระมัดระวังไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก

“ประเด็นเรื่องการปิดแพลตฟอร์ม เป็นเรื่องที่จะต้องให้ศาลเป็นผู้พิจารณา ซึ่งโดยหลักกฏหมายแพลตฟอร์มเป็นตัวกลาง ไม่ใช่คนโพสต์ เมื่อแพลตฟอร์มทราบว่ามีคนโพสต์หรือการให้ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย หรือทางกระทรวงดิจิทัลแจ้งไป แล้วเขาปิด หรือเทคดาวน์เขาก็จะไม่มีความผิดเพราะเป็นแค่ตัวกลาง ไม่ใช่คนดำเนินการ แต่ถ้าเขาไม่ปิดปล่อยให้มีการโพสต์เช่นนั้นต่อไปก็จะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ถือว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด ก็จะดำเนินคดีพ่วงกันไปเลยทั้งคนโพสต์และตัวกลาง จึงอยู่ที่ว่าหลังจากนี้เขาทำอย่างไรต่อไป ก็ต้องดูที่ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย อยู่ดีๆจะไปปิดเขาเลยไม่ได้ จะต้องใช้กระบวนการทางกฎหมาย ประเทศไทยเรามีสิทธิเสรีภาพให้กับพี่น้องประชาชน การจะไปจำกัดสิทธิ หรือไปลงโทษก็ต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายก่อนคือให้ศาลเป็นคนตัดสินจะไปปิดเลยไม่ได้เพราะกระทบสิทธิของเขา”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป.ป.ช. แจงอุทธรณ์ คดีศาลยกฟ้อง 'อดีตผู้บริหารวิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี'

'เลขาฯ ป.ป.ช.' แจงคดีศาลยกฟ้อง 'อดีตผู้บริหารวิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี' ได้ชี้มูลผิดอาญาโดยอิสระ ยึดพยานหลักฐานตามกฎหมายปราศจากอคติ

ปลุก 'ผู้สมัคร สว.' เก็บหลักฐานฮั้ว อาชญากรการเมืองไม่รอดแน่

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เรียนผู้สมัคร สว ทุกท่าน ที่พบเห็นกระบวนการฮั้ว!

ทนายเชาว์ แนะจับตาหมากกลอัยการคดี 112 ทักษิณ

นายเชาว์ มีขวด ทนายความ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเรื่อง "คดี 112 ของทักษิณกับการประกันตัว" มีรายละเอียดว่า "ช่วงนี้มีคนนำมาตรา 112 มาเป็นประเด็นบนสื่อโซเชียลกันจำนวนมาก โดยเฉพาะคดีของน

อดีตอัยการสูงสุด กางวิอาญา ตอบข้อสงสัย ร้องขอความเป็นธรรมทำได้ถึงชั้นไหน

ศ.พิเศษ อรรถพล ใหญ่สว่าง อดีตอัยการสูงสุด (อสส.) ให้ความเห็นข้อกฎหมายถึงเรื่องการร้องขอความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม ว่า ใ

'ภูมิธรรม' หยันก้าวไกล อย่าเพิ่งคิดไปไกล ยากพลิกขั้วตั้งรัฐบาล

'ภูมิธรรม' เมิน 'ชัยธวัช' ออกตัวไม่จับมือเพื่อไทย มั่นใจยากพลิกขั้ว หยันอย่าไปไกลเกินสถานการณ์จริง ปัดกังวล มิ.ย. มีคดีสำคัญเยอะ ยันทำตามกม.ทุกอย่าง