7 พ.ค.2565 - ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง อิทธิพล การเมือง กับ ผู้ว่า กทม. กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,217 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวโยงกับ อิทธิพล ธุรกิจการเมืองและพวกพ้อง พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 22.5 อันดับสองได้แก่ นางสาว รสนา โตสิตระกูล ร้อยละ 17.8 อันดับสามได้แก่ นาย สกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 13.0 อันดับสี่ได้แก่ นาย สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 11.6 อันดับห้า ได้แก่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 9.9 อันดับหกได้แก่ น.ต.ศิธา ทิวารี ร้อยละ 8.8 อันดับเจ็ด ได้แก่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 6.5 และอื่น ๆ ร้อยละ 19.2 ที่ระบุว่าเป็นผู้สมัครที่ไม่มีส่วนเกี่ยวโยงกับ อิทธิพล ธุรกิจการเมืองและพวกพ้อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึง ความตั้งใจจะเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม กลุ่มคนนิยมพรรคการเมือง พบว่า กลุ่มคนนิยมพรรคพลังประชารัฐแตกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ คือ จะเลือก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นอันดับแรก คือ ร้อยละ 29.9 และข้ามไปเลือก นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นอันดับที่สองคือ ร้อยละ 22.4 เลือกนายสกลธี ภัททิยกุล เป็นอันดับที่สาม คือ ร้อยละ 15.9 ในขณะที่เลือกนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์เพียงร้อยละ 0.9 ของกลุ่มนิยมพรรคพลังประชารัฐ
เมื่อวิเคราะห์กลุ่มคนนิยมพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า จะเลือกนาย สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นอันดับที่หนึ่ง คือร้อยละ 47.9 แต่ยังข้ามไปเลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์เป็นอันดับที่สอง คือ ร้อยละ 13.8 และเลือกนายสกลธี ภัททิยกุล เป็นอันดับที่สาม คือ ร้อยละ 10.6
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนนิยมพรรคกล้าจะเลือก นายสกลธี ภัททิยกุล เป็นอันดับที่หนึ่งคือร้อยละ 39.2 รองลงมาคือ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 24.1 และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นอันดับที่สาม ได้ร้อยละ 10.1
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์กลุ่มคนนิยมพรรคเพื่อไทย กลับพบว่า ส่วนใหญ่ เกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.6 ยังไม่ตัดสินใจ แต่ในกลุ่มที่ตัดสินใจแล้วจะเลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นอันดับที่หนึ่ง หรือร้อยละ 33.2 อันดับที่สองคือ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 7.9 อันดับที่สามคือ นายสกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 3.6 ตามลำดับ ในขณะที่ กลุ่มคนนิยมพรรคก้าวไกล จะเลือกนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นอันดับแรก คือร้อยละ 28.4 จะเลือกนาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นอันดับที่สองคือร้อยละ 11.9 และจะเลือก นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นอันดับที่สาม คือร้อยละ 9.7 และยังข้ามมาเลือก นายสกลธี ภัททิยกุล เป็นอันดับที่สี่คือร้อยละ 6.3 ในกลุ่มนิยมพรรคก้าวไกลอีกด้วย และในกลุ่มนิยมพรรคไทยสร้างไทย พบว่า จะเลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 21.0 จะเลือก น.ต.ศิธา ทิวารี ร้อยละ 9.3 จะเลือกนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 6.8 จะเลือกนายสกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 2.5 จะเลือกนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 1.2 ในขณะที่จะเลือก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 0.6 ในกลุ่มนิยมพรรคไทยสร้างไทย ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ความตั้งใจจะเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม กลุ่มอาชีพ พบว่า ในกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับแรก คือร้อยละ 23.1 อันดับที่สองได้แก่ นายสกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 17.3 อันดับที่สามได้แก่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 13.5 อันดับที่สี่ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 11.5 อันดับห้า ได้แก่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ได้ร้อยละ 9.6 ในกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และอื่น ๆ ร้อยละ 3.8 ระบุ น.ต.ศิธา ทิวารี และ นางสาวรสนา โตสิตระกูล เป็นต้น ในขณะที่เหลือ ร้อยละ 21.2 ยังไม่ตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มพนักงานเอกชนหรือ มนุษย์เงินเดือน ส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48.6 ยังไม่ตัดสินใจ ส่วนที่ตัดสินใจแล้วร้อยละ 21.1 จะเลือกนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มาเป็นอันดับที่หนึ่ง อันดับที่สองเป็น นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 12.2 อันดับที่สามเป็น นายสกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 6.8 อันดับสี่เป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 5.0 อันดับที่ห้าเป็น นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 3.9 และอื่น ๆ ได้แก่ น.ต.ศิธา ทิวารี นางสาวรสนา โตสิตระกูล เป็นต้น ได้ร้อยละ 2.4 ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มค้าขายและอาชีพอิสระ พบว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จะสูสีกันมากคือร้อยละ 18.0 กับ ร้อยละ 17.4 โดยมีนายสกลธี ภัททิยกุล ตามมาเป็นอันดับที่สามได้ร้อยละ 7.8 อันดับสี่ได้แก่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 5.5 อันดับห้าได้แก่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมืองได้ร้อยละ 3.8 และร้อยละ 3.4 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ น.ต.ศิธา ทิวารี นางสาวรสนา โตสิตระกูล เป็นต้น โดยยังมีกลุ่มไม่ตัดสินใจสูงถึงร้อยละ 44.1 ในกลุ่มอาชีพค้าขายและอาชีพอิสระ
ในขณะที่กลุ่มรับจ้างทั่วไป อันดับหนึ่งได้แก่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ร้อยละ 28.7 อันดับสองได้แก่ นายสกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 14.6 และอันดับสามได้แก่ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ได้ร้อยละ 12.4 อันดับสี่ได้แก่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 9.6 อันดับห้า ได้แก่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 7.3 และร้อยละ 6.6 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ น.ต.ศิธา ทิวารี นางสาวรสนา โตสิตระกูล เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 20.8 ยังไม่ตัดสินใจในกลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มคนนิยมพรรคการเมืองที่น่าพิจารณามีอยู่สามกลุ่มคือ กลุ่มคนนิยมพรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคกล้า พบว่าความตั้งใจจะเลือกผู้สมัครกระจายออกไปแตกต่างกันสามคนคือ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายสกลธี ภัททิยกุล และพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แต่กลุ่มคนนิยมพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคไทยสร้างไทย จะเลือกผู้สมัครคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มาเป็นอันดับที่หนึ่ง
“อย่างไรก็ตาม ผลโพลชิ้นนี้ ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ผู้สมัครที่อยู่ในระดับท้าย ๆ ของผลสำรวจสามารถกลับขึ้นมาในอันดับต้น ๆ ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีการถามในประเด็นอะไร เช่น เมื่อถามถึงผู้สมัครที่ปลอดจากอิทธิพล ธุรกิจการเมืองและพวกพ้อง พบว่า นางสาวรสนา โตสิตระกูล เลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับที่สอง ต่อจาก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เช่นกันกับนายสกลธี ภัททิยกุล ที่ช่วงแรก ๆ ดูเหมือนจะอยู่ในอันดับท้าย ๆ ก็ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่สาม จึงขึ้นอยู่กับว่าประชาชนจะนึกถึงด้านไหนของผู้สมัคร และ เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบความน่าสนใจคือ กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ตัดสินใจแล้ว ในขณะที่ พนักงานเอกชนหรือมนุษย์เงินเดือน และค้าขายอาชีพอิสระ ส่วนใหญ่ ยังไม่ตัดสินใจ แต่ที่ตัดสินใจแล้วจะเลือกนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มาเป็นอันดับที่หนึ่ง ส่วนอันดับที่สองสลับกันระหว่าง นายชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ กับ นายสกลธี ภัททิยกุล” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.รทสช. จี้ ‘ผู้ว่าฯกทม.’ เร่งแก้ปัญหาคนแร่ร่อน นอนเกลื่อนถนนริมคลองหลอด
สส.เกรียงยศ จี้กทม.เร่งแก้ปัญหาคนแร่ร่อนนอนเกลื่อนถนนริมคลองหลอดใกล้ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแค่เอื้อม หวั่นชาวต่างชาตินำภาพไปเผยแพร่จะเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีกับเมืองท่องเที่ยว ดักคออย่าโยนให้แต่กระทรวงพม.
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ
โพลหวังอิ๊งค์เร่งแก้ปากท้อง
โพล 2 สำนักประสานเสียง คนส่วนใหญ่หนุน “แพทองธาร” หวังแก้ปัญหาปากท้องโดยด่วน