5 พ.ค.2565 - ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่า กทม คุณวิโรจน์ ลักขณาอดิศร กับ การเสนอแนะนำหนังสือ “ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี” ของ ณัฐพล ใจจริง
“ในงานเทศกาลหนังสือฤดูร้อน ครั้งที่ 2 Summer Book Fest 2022 ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เมื่อวันเสาร์ผ่านมา มี “เวที” การเมืองเล็กๆ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และอาจจะมีนัยสำคัญที่บ่งชี้ถึงการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่จะเกิดขึ้นในอีกราว 2 สัปดาห์กว่าๆ จากนี้…..
ส่วนคุณวิโรจน์นั้น มาในแนวอุดมการณ์ที่เป็นนามธรรมและคุณค่า คือการนำเสนอในแง่มุมที่ว่า การสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้แข็งแรงนั้น จะต้องอยู่ภายใต้บรรยากาศที่ผู้คนมีเสรีภาพ ทั้งเสรีภาพในการเลือกหาเลือกอ่าน เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ได้อ่านไป ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็ถูกต้องทีเดียว
ในการพูดรอบนี้ คุณวิโรจน์ได้เอ่ยชื่อหนังสือหลายเล่มที่เป็นหนังสือขายดีและเป็นที่นิยมของคนรุ่นหนุ่มสาวฝั่งฝ่ายประชาธิปไตย เช่น “ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี” ของ อาจารย์ณัฐพล ใจจริง
การสร้างพื้นที่ซึ่งจะมี “เสรีภาพ” ในการอ่าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้น มันยังอยู่ในกรอบขอบอำนาจของผู้ว่าฯกทม. หรือจะต้องผ่านการขับเคลื่อนผ่านอำนาจรัฐในระดับที่ใหญ่ไปกว่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม โครงการ “คูปองตาสว่าง” ที่จะเป็นบัตรแทนเงินสดที่ กทม.จะแจกให้เด็กๆ นำไปใช้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ชีวิตเชิงวัฒนธรรม เช่น ไปเข้าพิพิธภัณฑ์ ซื้อหนังสือที่ชอบ หรือลงเรียนกีฬา ดนตรี ศิลปะ และกิจกรรมอื่นๆ ที่ตนเองสนใจได้ตามใจชอบนั้นก็น่าสนใจมาก”
จากคอลัมน์ “คนตกสีที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง : ‘ว่าที่ผู้ว่าฯกทม.’ บนเวทีหนังสือฤดู‘ร้อน’” ของ กล้า สมุทวนิช ใน มติชน 4 พ ค 2565
ผมเชื่อว่า สิ่งที่คุณกล้าเขียน เป็นความจริง และผมอยากถามคุณวิโรจน์ว่า คุณไม่ทราบว่า หนังสือ “ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี” ของ ณัฐพล ใจจริง มีปัญหาในการนำเสนอข้อเท็จจริงทางวิชาการหรือครับ?
ถ้ายังไม่ทราบ ผมจะนำบางตัวอย่างมาใส่ไว้ในคอมเมนท์นะครับ แล้วหวังว่า จะให้ความสำคัญกับ ชาว กทม. อย่างผม ด้วยการตอบข้อสงสัยของผมนะครับ ขอบคุณครับ
ทั้งนี้ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ได้โพสต์รายละเอียดเพิ่มเติมในคอมเม้นต์ ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น
เตือนภัยคนใช้รถ จับ 2 โจรแดนมังกร ตระเวนลักทรัพย์ตามลานจอด
พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.กัมปนาท อรุณคีรีโรจน์ ผบก.น.7
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 51: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 40): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร