ทยา-ศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ซัดแก๊งด้อยค่าสถาบัน ถามอัญเชิญพระเกี้ยว วัฒนธรรมประเพณีที่พวกเราชาวจุฬาภูมิใจ มันไปเกี่ยวกับอำนาจนิยมหรือ ศักดินาตรงไหน?
28 ต.ค.2564 - จากกรณีองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.)มีมติให้ยกเลิกกิจกรรมอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ จนนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางนั้น
นางทยา ทีปสุวรรณ ภรรยานายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และในฐานะอดีตนิสิตเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ปี 33 โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องนี้ ระบุว่า พระเกี้ยว คือ สัญลักษณ์แทนพระองค์สมเด็จพระปิยมหาราช ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้เป็นตราของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พวกเราชาวจุฬาอันเป็นประชาชนคนธรรมดาได้มีโอกาสเล่าเรียน
พระเกี้ยว จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความรู้ ความเสมอภาคและเสรีภาพของคนไทย
การอัญเชิญพระเกี้ยว จึงถือเป็นการแสดงความเคารพ ความกตัญญูรู้คุณต่อพระมหากษัตริย์ไทยถึง 2 พระองค์ที่ทำให้มีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้เราจนทุกวันนี้ นับเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่พวกเราชาวจุฬาภูมิใจ มันไปเกี่ยวกับอำนาจนิยมหรือ ศักดินาตรงไหน??
การที่โลกเปลี่ยน เราต้องปรับตัว พัฒนาตนเองให้เท่าทันสังคมที่เปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ดี แต่การยกเลิกประเพณีอันดีงามโดยยกสมมุติฐานแบบผิดๆ เพียงเพราะต้องการด้อยค่า และ ดูหมิ่นสถาบัน มันสมควรแล้วหรือ??
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก