'กมล กมลตระกูล' เตือนโครงการรื้ออาคาร'สถาบันปรีดี พนมยงค์' ไปให้เอกชนใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จะกลายเป็น 'อนุสาวรีย์อัปยศ' ของสถาบันปรีดี พนมยงค์ ไปชั่วกัลปาวสาน เชื่อถ้า'ครูองุ่น'ยังมีชีวิตอยู่จะคัดค้านไม่ยืนยอมแน่
29เม.ย.2565- นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวถึง โครงการพัฒนาพื้นที่ของสถาบันปรีดี พนมยงค์ ว่า
ฤา จะสร้างอนุสาวรีย์อัปยศ!
โครงการรื้ออาคารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ไปให้เอกชนใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ทั้งๆที่ได้รับการบริจาคมาเพื่อให้ใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณประโยชน์เท่านั้น ตามที่มีจารึกไว้ที่อาคาร
โครงการนี้คงจะหยุดไม่ได้ เพราะไม่มีเจ้าภาพที่ออกมาปกป้องผลประโยชน์สาธารณะและความถูกต้องชอบธรรมในสังคม
ในสายตาของสังคม อาคารใหม่นี้ จะกลายเป็น “ อนุสาวรีย์อัปยศ” และ กลายเป็น “จำเลยของสังคม” ของสถาบัน ปรีดี พนมยงค์ ไปชั่วกัลปาวสาน
อันที่จริง ถ้าเปิดเผย TOR และสัญญาการแบ่งรายได้ เพื่อเป็นการชี้แจงด้วยข้อเท็จจริง มากกว่าการแสดงเหตุผลจากฟากกรรมการด้านเดียว แล้วให้สาธารณะเป็นคนตัดสินว่าชอบธรรมและเหมาะสมหรือไม่กับการนำที่ดินบริจาคที่ผู้บริจาคได้แสดงวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน
ใน TOR ได้มีการนำค่าเสียโอกาสของที่ดินทำเลทองเป็นเวลา 30 ปี คิดเป็นตัวเงินขั้นต่ำไม่ต่ำกว่า 800 ล้านบาท ( ประมาณการจากค่าเช่าต่อตารางเมตรที่สูงขึ้นทุกปีในละแวกนี้) มาพิจารณาต่อรองหรือไม่?
จะถือสิทธิเหมือนที่ดินเป็นทรัพย์สินส่วนตัวไม่ได้ เพราะได้รับการบริจาคมา การก่อสร้างก็มีการระดมทุนและมันสมอง จึงเป็นสมบัติส่วนรวม ที่มอบให้มูลนิธิเป็นผู้ดูแล มากกว่าที่คิด และปฏิบัติเสมือนว่ามูลนิธิเป็นเจ้าของในการพัฒนาโครงการของรัฐก็ยังมีกฎหมายให้ทำประชาพิจารณ์ก่อน ในกรณีนี้ก็ควรทำเช่นเดียวกัน
ถ้ามีการทำประชาพิจารณ์ก็อาจจะได้ความเห็นและข้อเสนอในการแก้ปัญหาที่สั่งสมมามากมายที่ดำรงอยู่ตามคำชี้แจง รวมทั้งมีทางออกให้เลือกอีกมากมาย เช่น การนำที่ไปจำนองแล้วสร้างเอง จ้างบริษัทที่ปรึกษา หรือบริษัทอสังหาฯ มาบริหาร จะได้ไมีมีข้อผูกมัดในเรื่องการแบ่งสัดส่วนการใช้เนื้อที่ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของครูองุ่น ฯลฯ
ในแง่นิติศาสตร์คณะกรรมการก็ไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ในแง่รัฐศาสตร์และสังคม มีมุมมองในด้านศีลธรรม จริยธรรมและความชอบธรรมทางสังคมซึ่งเป็น Soft Power ด้วย
นอกจากนี้ หลัก ธรรมมาภิบาล 6 ประการก็ไม่ได้นำมาปฏิบัติ ซึ่งย่อมจะมีผลกระทบต่อเกียรติประวัติและการยอมรับของสังคมในระยะยาวต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของชื่อของมูลนิธิ ที่เป็นชื่อเดียวกับ รัฐบุรุษอาวุโสของประเทศ
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้หากนำเสนอหรือริเริ่มในขณะที่ครูองุ่นยังมีชีวิตอยู่ ไม่ต้องคาดเดาเลย ว่าจะถูกครูองุ่นคัดค้านอย่างไม่ยินยอมแน่นอน และอาจจะขอทวงคืนที่ดืนกลับมาให้องค์กรอื่นที่มีความมุ่งมั่นในการใช้ประโยชน์เพื่อบรรลุเจตนารมณ์ของท่านปรีดี พนมยงค์ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายในความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้ง 3 ด้าน คือ ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยทางสังคม และประชาธิปไตยทางการเมือง ซึ่งครูองุ่นยึดเป็นปณิธาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นักวิชาการ' ค้านตั้งกำแพงภาษีสินค้าจากจีน แนะรัฐควรช่วยผู้ประกอบการแบบจีน
นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ และประธานอนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร สภาผู้บริโภค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า
กสม.เสนอทบทวนสถานที่ตั้งโครงการเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ อ.องครักษ์
กสม. เสนอทบทวนสถานที่ตั้งโครงการเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาด 20 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก ย้ำชุมชนและประชาชนที่จะได้รับผลกระทบต้องมีส่วนร่วมตัดสินใจ
'กมล' ยกหลักคิดนักปรัชญาการเมือง ตอบโจทย์ 'สินค้าจีนราคาถูก ดีหรือเสีย ต่อคนไทย'
นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ และประธานอนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร สภาผู้บริโภค เผยแพร่บทความเรื่อง สินค้าจีนราคาถูกดีหรือเสียต่อคนไทย มีเนื้อหาดังนี้
จี้รัฐบาลไทย เอาอย่าง สิงคโปร์ ปฏิรูปกม.ต่อต้านมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ ทางออนไลน์ และไซเบอร์
นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ เขียนบทความ เรื่อง สิงคโปร์ ปฏิรูปกม.ต่อต้านมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ ทางออนไลน์ และไซเบอร์ (Cybersecurity Act) และ (Computer Misuse Act)
'นักวิชาการ' ยกเคสอเมริกา 'เงินดิจิทัล' ควรโอนเข้าบัญชีให้คนจน นำไปล้างหนี้จะเพิ่มกำลังซื้อ
นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึง โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ว่า
'นักวิชาการอิสระ' เตือนไทยไม่เข้าร่วม 'BRICS' หายนะศก.ยิ่งกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง จับตา 'SCO'
'กมล' วิเคราะห์ อำนาจภูมิรัฐศาสตร์ของไทย เตือนหากไม่เข้าร่วม BRICS ยังผูกอยู่กับดอลลาร์ เงินบาทจะไร้ค่าไปด้วย หายนะทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง จับตา องค์กรความร่วมมือเชี่ยงไฮ้ SCO จะแทนยูเอ็น