โพลยุติธรรมยุคสมศักดิ์ ทุกนโยบายประชาชนพอใจเกินครึ่ง แก้หนี้นำโด่ง 66% ชาวบ้านรู้จักดีเอสไอมากสุด ส่วนความหวัง ปชช.อยากเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม!
28 เม.ย.2565 - สำนักงานกิจการยุติธรรม ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การดำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรม” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-22 มีนาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อนโยบายการดำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า 1. การแก้หนี้และไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก 65.68%
2.การให้โอกาสผู้ต้องขังกลับคืนสู่สังคมและนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ตัวอย่างมีความพึงพอใจ
ต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก 64.41%
3.การช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อและผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ตัวอย่าง มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก 63.30%
4.การปราบปรามยาเสพติดและยึดทรัพย์ตัดเครือข่ายวงจรยาเสพติด ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ - พอใจมาก 61.44%
5.การผลักดันร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. .... ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก 58.49%
6.การปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก 53.75%
จากการสำรวจเมื่อถามถึงงานบริการของกระทรวงยุติธรรมที่ตัวอย่างรับรู้มากที่สุด 5 อันดับแรก พบว่า
การร้องทุกข์ เช่น ผู้เสียหายแชร์ลูกโซ่ ค้ามนุษย์ (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) มากที่สุด 89.92% รองลงมา
งานบริการสาธารณะของผู้ต้องขัง เช่น การขุดลอกคูคลอง (กรมราชทัณฑ์) 88.63% การแจ้งเบาะแส เช่น
คดีแชร์ลูกโซ่ ค้ามนุษย์ (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) 88.17% งานให้บริการติดต่อหรือเยี่ยมผู้ต้องขัง
(กรมราชทัณฑ์) 88.09% และงานคุมความประพฤติ เช่น การรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ การฝึกอาชีพ
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ในการคุมความประพฤติ (กรมคุมประพฤติ) 88.02%
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคาดหวังต่อกระทรวงยุติธรรมในการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน พบว่า 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1 พัฒนาระบบการบริการของหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าถึงอย่างเท่าเทียม 27.46% อันดับ 2 เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชน 17.42% อันดับ 3 ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งอาชญากรรมพิเศษให้มีประสิทธิภาพ 16.40% อันดับ 4 พัฒนาระบบแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดและการช่วยเหลือดูแลผู้พ้นโทษ 11.61% และอันดับ 5 พัฒนาระบบป้องกันอาชญากรรมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสังคม 8.36%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ณฐพร’ ห่วงบุคลากรกระบวนการยุติธรรม ไม่ทำหน้าที่ตาม รธน.
ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ทุกท่านต้องไม่ลืมว่า ท่านมีหน้าที่ตามบทบัญัตติ รัฐธรรมนูญ มาตรา 50 (1)(2)
'พิชิต' ชี้ 'ทวี' ต้องรับผิดชอบทางการเมือง! ปมป่วยทิพย์ชั้น 14
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.)
'ดร.อานนท์' ยกนิ้วชม 'ลุงป้อม' สมกับเป็นทหาร!
ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
ไม่รอด! บุก ป.ป.ช. ทวงถาม ‘รมต.ทวี’ หลุดโผเอื้อนักโทษเทวดาชั้น 14
สืบเนื่องจากกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง (ป.ป.ช.) มีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง
ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
'หมอวรงค์' จวกยับพักโทษคดีโกง เท่ากับร่วมมือกันทำลายประเทศ!
เราต้องยอมรับว่า คดีทุจริตที่เกิดจากนักการเมือง ต้องถือว่าเป็นคดีร้ายแรง พอๆกับคดีค้ายาเสพติด หรือแม้แต่คดีฆ่าข่มขืน เพราะการทุจริตเป็นการทำลายโอกาสของประชาชน มีผลกระทบต่อการ