24 เม.ย.2565– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง อาชีพไหนใครเลือกใครเป็น ผู้ว่า กทม. กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 21 – 24 เมษายน พ.ศ.2565
เมื่อวิเคราะห์ กลุ่มคน กทม.ที่ต้องการ เรื่อง ความสะดวกสบายและปลอดภัยในการเดินทางระดับมากถึงมากที่สุด ว่าตั้งใจจะเลือกใคร พบว่า อันดับแรก เลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 19.7 อันดับที่สอง เลือกนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 11.3 อันดับสามเลือก นาย สกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 8.7 อันดับสี่เลือก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 8.6 อันดับห้า เลือก นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 5.1 และอื่น ๆ ได้แก่ นางสาว รสนา โตสิตระกูล และ น.ต.ศิธา ทิวารี เป็นต้น ร้อยละ 4.5 ในขณะที่ จำนวนมากหรือร้อยละ 42.1 ในกลุ่มนี้ ยังไม่ตัดสินใจ (พลังเงียบ)
เมื่อวิเคราะห์ กลุ่มคน กทม.ที่ต้องการ เรื่อง การแก้ปัญหาทางเท้า ระดับมากถึงมากที่สุด ว่าตั้งใจจะเลือกใคร พบว่า อันดับแรก เลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 18.7 อันดับที่สอง เลือกนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 11.2 อันดับสามเลือก นาย สกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 9.3 อันดับสี่เลือก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 8.3 อันดับห้า เลือก นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 5.4 และอื่น ๆ ได้แก่ นางสาว รสนา โตสิตระกูล และ น.ต.ศิธา ทิวารี เป็นต้น ร้อยละ 4.4 ในขณะที่ จำนวนมากหรือร้อยละ 42.7 ในกลุ่มนี้ ยังไม่ตัดสินใจ
เมื่อวิเคราะห์ กลุ่มคน กทม.ที่ต้องการ เรื่อง คุณภาพการศึกษาของ กทม. ระดับมากถึงมากที่สุด ว่าตั้งใจจะเลือกใคร พบว่า อันดับแรก เลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 20.1 อันดับที่สอง เลือกนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 11.3 อันดับสามเลือก นาย สกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 9.7 อันดับสี่เลือก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 8.4 อันดับห้า เลือก นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 5.4 และอื่น ๆ ได้แก่ นางสาว รสนา โตสิตระกูล และ น.ต.ศิธา ทิวารี เป็นต้น ร้อยละ 4.4 ในขณะที่ จำนวนมากหรือร้อยละ 40.7 ในกลุ่มนี้ ยังไม่ตัดสินใจ
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจำแนกออกตาม กลุ่มอาชีพ พบว่ากลุ่มอาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน และค้าขายอิสระ เลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับที่หนึ่งคือ ร้อยละ 17.0 ร้อยละ 22.7 และร้อยละ 17.6 ในขณะที่ กลุ่มนิสิตนักศึกษาตั้งใจจะเลือก นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร มาเป็นอันดับที่หนึ่ง ได้ร้อยละ 20.5 แซงหน้านายชัชชาติ ที่ได้ร้อยละ 12.7 และในกลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป พบอันดับแรกได้แก่ นายสกลธี ภัททิยกุล มาเป็นอันดับที่หนึ่ง ได้ร้อยละ 16.7 อันดับที่สองนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 14.2 และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นอันดับสามได้ร้อยละ 13.1
นอกจากนี้ ที่น่าสังเกตคือ อันดับที่สองในกลุ่มอาชีพข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ และนายสกลธี ภัททิยกุล ได้ร้อยละ 11.4 เท่ากัน อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนยังไม่ตัดสินใจ (พลังเงียบ) คือตัวแปรสำคัญว่าจะเทคะแนนเสียงไปให้ใครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘อนุทิน’ ปลื้มโพลสะท้อน ปชช. ยก ‘มหาดไทย’ กระทรวง-รัฐมนตรี มีผลงานด้านสังคม
‘อนุทิน’ ขอบคุณประชาชนให้คะแนนมหาดไทยอันดับ 1 กระทรวงและรัฐมนตรีมีผลงานด้านสังคม เผยเป็นทั้งกำลังใจและแรงกระตุ้นให้ทำงานหนักขึ้นเพื่อประชาชนและประเทศชาติ
10 อาชีพการแพทย์ยอดนิยม ปี 2568 - หางานสายสุขภาพ
ในยุคโลกดิจิทัลที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า และการดูแลสุขภาพร่างกายต่างได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง สายงานอาชีพในการแพทย์ไม่เพียงแต่จะมีบทบาทสำคัญในสังคม แต่ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต โดยเฉพาะในปี 2568
โพลจี้ตูด แก้ปัญหา 'ปากท้อง-ค่าครองชีพ' คลองหลอดขึ้นแท่นชาวบ้านตามข่าว
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจข่าวที่ปชช.สนใจ ยาเสพติดชายแดนมาอันดับแรก ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ปชช.สนใจติดตามข่าวมากที่สุด ด้านปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพแพง เรื่องสำคัญให้รัฐบาลแก้ปัญหาหลัก
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา