'พงศกร ขวัญเมือง' เคลียร์ปมร้อน 'สวนคลองช่องนนทรี' ถูกโจมตีใช้งบมหาศาล

22 เม.ย.2565 - ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง ทีมงาน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. หมายเลข 6 โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี ใช้ไปเพียง 80 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้มีการแชร์ข้อมูลให้เกิดการเข้าใจผิดว่าใช้งบประมาณ 980 ล้านบาท

ร.ต.อ.พงศกร ระบุว่า จากกระแสที่มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้งบประมาณสร้างสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี และมีหลายคนบอกว่างบประมาณ 980 ล้านบาทสูงเกินไป ไม่คุ้มค่า ล่าสุดพูดไปจนถึง 1,556 ล้านบาท ทำให้ยิ่งเข้าใจผิดกันใหญ่ วันนี้ผมเลยขอถือโอกาสชี้แจงเรื่องความคุ้มค่า และงบประมาณครับ

โครงการพัฒนาคลองช่องนนทรีเป็นการพัฒนาทั้งหมด ทั้งสวนสาธารณะและทางเดินริมคลอง การฟื้นฟูคลอง ระบบไหลเวียนน้ำ คลองช่องนนทรี คลองสาทร และคลองไผ่สิงโต ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบระบายน้ำ และระบบไหลเวียนน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสียในคลองที่มีพื้นที่ต่อเนื่อง รวมทั้งควบคุมปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ในคลองทั้ง 3 คลองให้สามารถเชื่อมกันได้ทั้งระบบ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นงบประมาณตามแผนที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการ ส่วนที่ทุกคนเห็นเป็นสวนสาธารณะด้านบนที่แล้วเสร็จใช้งบประมาณ 80 ล้านบาทครับ

นอกจากนี้ ยังมีอีก 10 ประเด็นเข้าใจผิดเกี่ยวกับคลองช่องนนทรี ผมเลยขอถือโอกาสนี้ชี้แจงรายละเอียดครับ
 
1.ที่เห็นอยู่คือ 80 ล้าน​ ! ต้องชี้แจงอย่างงี้ครับว่าส่วนที่เห็นคือลานกิจกรรมที่เป็นเพียง 5% ของโครงการทั้งหมด ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท
 
2. ราวกันตก และ skywalk ภาพสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีที่มีราวกันตกทำจากเหล็กข้ออ้อยที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม จริงๆแล้วในช่วงนั้นสวนยังไม่เปิดให้บริการเต็มรูปแบบแต่เป็นเทศกาลเราจึงเปิดให้ใช้พื้นที่เป็นชั่วคราว ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตลอดเวลา แต่ตอนนี้ได้ติดตั้งราวกันตกใหม่ที่ปลอดภัยและสวยงาม และเป็น skywalk ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังระบบขนส่งสาธารณะ และได้ติดป้ายชี้แจ้งว่าอยู่ระหว่างดำเนินการและใช้เป็นการชั่วคราว
 
3.การแก้ไขน้ำมีกลิ่นเหม็น จากการเปิดประตูระบายน้ำ ทำให้น้ำที่ตกตะกอน มีการไหลเวียน และในระยะยาวจะใช้น้ำบำบัดจากโรงบำบัดน้ำเสียคลองช่องนนทรี ผลักดันน้ำลงคลอง รวมถึงวางพื้นฐานวงแหวน้ำให้เชื่อมต่อกัน คลองช่องนนทรี-คลองสาธร-สวนลุมพินี-คลองต้นสน-คลองไผ่สิงห์โต-คลองเคย ซึ่งจะช่วยให้น้ำในคลองดีขึ้นทั้งระบบ
 
4.ขวางทางน้ำ สวนสาธารณะสร้างบนคลอง ไม่กีดขวางทางน้ำ และมีการปรับปรุงท้องคลองที่จะเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ
 
5.สวนสาธารณะสร้างบนคลอง ไม่กีดขวางทางน้ำ และมีการปรับปรุงท้องคลองที่จะเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ
หลายคนสงสัยว่าในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวจะมีโครงการรถไฟฟ้าหรือไม่ และจะไปกระทบกับโครงการคลองช่องนนทรีเดิมหรือไม่ ตอบตรงนี้เลยครับว่า หากในอนาคตมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขึ้นมา ซึ่งมีแนวทางที่จะพัฒนาอยู่แล้ว จะเป็นการสร้างบนเลน BRT เพราะฉะนั้นการสร้างระบบขนส่งมวลชนในอนาคตจะไม่กระทบคลองช่องนนทรีแน่นอน แต่กลับจะเพิ่มให้มีการใช้สวนสาธารณะดังกล่าวมากขึ้น
 
6.ความเก่งของผู้ออกแบบ หลายๆโครงการในเมืองใหญ่มี อ.กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกเจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งในไทย และต่างประเทศเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน ซึ่งทุกโครงการของ อ.กชกร เป็นการออกแบบเพื่ออนาคต ตอบโจทย์ทั้งทัศนียภาพความสวยงาม และการใช้งานที่คุ้มค่า เช่น สวนจุฬา 100 ปี
 
7.รถติด ไม่เป็นสาเหตุของรถติดอย่างแน่นอน เพราะตัวสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีสร้างอยู่บนคลอง ไม่กินผิวถนน ไม่ขวางทางจราจรและไม่ทำให้รถติด ในทางกลับกันสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีมีทางเชื่อมต่อให้คนที่ใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเดินทางเชื่อมต่อได้มากขึ้น
 
8.ไม่ใช่แค่คลองช่องนนทรี แต่เป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายคลองอื่น ๆ ด้วย การพัฒนาคลองช่องนนทรีไม่ได้เกิดประโยชน์เพียงแค่ช่องนนทรีเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาโครงข่ายหลักคลองช่องนนทรี คลองสาทร คลองไผ่สิงโต และคลองต้นสน และใช้ท่อแทนคลอง แยกน้ำดีกับน้ำเสียออกจากกัน เพื่อให้น้ำในคลองมีคุณภาพดีขึ้น และน้ำเสียที่แยกจะถูกส่งเข้าโรงบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ที่สวนลุมพินี
 
9. ผลการศึกษา โครงการคลองช่องนนทรี แท้จริงแล้วเป็นโครงการที่ถูกพูดถึงมานานกว่า 14 ปี โดยเสนอแนวคิดไว้ว่ากรุงเทพฯ ควรมีการพัฒนา คลองช่องนนทรีและคลองสาทร 
 
10.ประโยชน์ที่ได้เพิ่มขึ้น สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี เป็นโครงการฟื้นคืนชีวิตคลอง (Canal Revitalisation) สายแรกของเมืองกรุงเทพฯ และฟื้นความสัมพันธ์เมือง-ระบบนิเวศ ด้วยการใช้ความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมเมือง (Urban landscape Architecture) ปรับใช้แนวคิดการแก้ปัญหาที่ยึดหลัก ‘เข้าใจ-ประยุกต์-ปรับเปลี่ยน-เลียน-รู้ บทเรียนจากธรรมชาติ (Nature-based Solution)’ เพื่อการออกแบบที่ยืดหยุ่น ยั่งยืน ทำให้คลองได้ทำหน้าที่ทางนิเวศ มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เชื่อมการไหลของน้ำ จัดการการไหลให้สัมพันธ์กับทิศทางน้ำขึ้น-น้ำลง เพิ่มศักยภาพคลองในการกักเก็บ ชะลอ ซึม รองรับ และระบายน้ำฝน ฟื้นฟูตลิ่งริมคลองด้วยการปรับใช้โครงสร้างทางชีววิศวกรรม (Bio-engineering ) เพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมถึงฟื้นฟูความสัมพันธ์คนกับคลองให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.รทสช. จี้ ‘ผู้ว่าฯกทม.’ เร่งแก้ปัญหาคนแร่ร่อน นอนเกลื่อนถนนริมคลองหลอด

สส.เกรียงยศ จี้กทม.เร่งแก้ปัญหาคนแร่ร่อนนอนเกลื่อนถนนริมคลองหลอดใกล้ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแค่เอื้อม หวั่นชาวต่างชาตินำภาพไปเผยแพร่จะเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีกับเมืองท่องเที่ยว ดักคออย่าโยนให้แต่กระทรวงพม.

'สกลธี' เสียดายหลายโครงการดีๆที่เคยทำ ถูกปล่อยทิ้ง ชี้ต่อยอดงานคนอื่นไม่เสียหน้าหรอก

นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า การไม่ใช้ App เป๋าตังก็เหมือนการปล่อยทิ้งร้างคลองโอ่งอ่าง คลองช่องนนทรี

นายกฯ ควงผู้ว่าฯกทม. ตรวจคลองโอ่งอ่าง ชุมชนวอนช่วยกระตุ้นท่องเที่ยวให้คึกคักอีกครั้ง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ อาทิ นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางวันทนีย์ วัฒนะ

'วัชระ' ยื่น ป.ป.ช. สอบผู้ว่าฯกทม.-สก.ก้าวไกล เซ่นปมทุจริตจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย

นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือถึงนายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และประธานกรรมการป.ป.ช. ทุกคนผ่านงานสารบรรณป.ป.ช. ในหนังสือร้องเรียนระบุว่าได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนให้ยื่นหนังสือกับสำนักงาน ป.ป.ช.

นายกฯ ถกรับมือน้ำท่วมกรุงเทพฯ 'ชัชชาติ' แจงราชทัณฑ์เร่งลอกท่อ-กองทัพช่วยขุดลอกคลอง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมนายกฯโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดียว่า “หารือกับมหาดไทย กลาโหม ยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์ กรุงเทพฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เ

'ดร.เอ้' ลงพื้นที่พญาไท รับฟังปัญหาผังเมืองใหม่ ประชาชนสุดช้ำ แนะผู้ว่าฯ ต้องจริงใจ

ดร.เอ้ ลงพื้นที่พญาไท รับฟังปัญหาผังเมืองใหม่ ประชาชนสุดช้ำ แนะผู้ว่าฯ ต้องจริงใจ เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม อย่าเอื้อประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง