'อดีตบิ๊กศรภ.' ขยายความ 'น้องมิลลิ' พูดเรื่องรถไฟ120ปี พระมหากษัตริย์ สร้างบ้านเมือง 'คณะราษฎร' ทำให้ชะงักงัน

'พล.ท.นันทเดช' ขยายความ'น้องมิลลิ'พูดเรื่องรถไฟ 120 ปี ร.5, ร.6 และ ร.7 สร้างบ้านสร้างเมือง เศรษฐกิจดีกว่า เกือบทุกประเทศในเอเชีย'คณะราษฎร'จึงยึดอำนาจทำให้เกิดภาวะชะงักงันหลายเรื่อง รวมถึงการพัฒนารถไฟเพิ่งมาโงหัวยุค'รัฐบาลลุงตู่'

22 เม.ย.2565 - พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก หัวข้อ จากเพลงแร็ป ถึง รถไฟในสมัยคณะราษฏร และ รถไฟลุงตู่ มีเนื้อหาดังนี้

กรณีน้อง มิลลิ สาวเพลงแร็ปนำเรื่องต่างๆ ของประเทศไทยไปร้องโชว์ในต่างประเทศจนเป็นข่าวดังรู้กันทั่วไปนั้น ประเด็นที่น้องมิลลิแร็ปไปนั้น ผมเห็นว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไรที่ไม่ดีต่อประเทศไทย ยกเว้นเรื่องรถไฟ 120 ปี ซึ่งถ้าดูดีๆ ก็เป็นเรื่องจริง จึงขอขยายความ บอกเตือนคนไทยทั่วๆไปให้เข้าใจถึง พระราชวิริยะอุตสาหะใน การสร้างบ้านสร้างเมืองของพระมหากษัตริย์ไทย 3 พระองค์ คือ ร.5, ร.6 และ ร.7 ให้เข้าใจสั้นๆ ครับ

1.ร.5 ทรงสร้างทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับการคมนาคม, สาธารณูปโภค,การชลประทาน (เขื่อน และ คลอง) การเพิ่มพื้นท่ีทำนาทำไร่, เรื่องสิทธิความเท่าเทียม และ การศึกษา

2.ร.6 ทรงขยายผลให้พระราชประสงค์ของ ร.5 เสร็จสมบูรณ์ขึ้น โดยยอมสละประโยชน์ส่วนพระองค์พระราชทานแก่บ้านเมือง ทรงให้เสนาบดีกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์ ว่าจะถวายเท่าใดก็จะทรงรับเท่านั้นเพื่อนำเงินไปร่วมในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตของราษฎร ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้กับประชาชน (เส้นทางรถไฟ, ขุดคลอง, โรงไฟฟ้า, น้ำประปา, ตัดถนน สร้างสะพานทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดมากกว่าร้อยสะพาน)ในรัชสมัยของ ร.6 นั้นพระองค์ทรงสิทธิ์ในการบริหารงานราชการแผ่นดินอย่างเต็มที่ แต่พระองค์ก็มิได้ทรงใช้พระราชอำนาจดังกล่าวนี้เลยนอกจาก 2 กรณี ได้แก่ (1) การประกาศสงครามกับเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และ (2) การใช้นโยบายการคลังเชิงรุก เกี่ยวกับการกู้เงิน เพราะทรงเห็นว่า เส้นทางรถไฟยังไปไม่ถึงจังหวัดสุดท้ายในสยามตามเขตประเทศที่ ร.5 ทรงประกาศไว้

3.ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง สยามได้กู้เงินจากตลาดการเงินในกรุงลอนดอน 2 ครั้ง ครั้งแรก (พ.ศ.2464) จำนวน 2 ล้านปอนด์ และครั้งที่สอง (พ.ศ.2466) จำนวน 3 ล้านปอนด์ เพื่อมาสร้างทางรถไฟจนครบทุกภาคเสร็จสิ้นในต้นรัชสมัยของ ร.7 รวมทั้งการก่อสร้างเขื่อนและสาธารณประโยชน์ต่างๆ (ในสมัยรัฐบาลคณะราษฎร นายปรีดีก็มีการกู้เงินในลักษณะนี้เช่นกัน แต่ไม่สามารถใช้หนี้ได้ภายในเวลาอันรวดเร็วเหมือน ร.7)

การลงทุนครั้งนี้ส่งผลดีในระยะเวลาต่อมาอย่างมาก ทำให้สยามมีรายได้จากการค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากระบบขนส่งทางรางและการเพิ่มผลผลิตสินค้าทางการเกษตร ซึ่งส่งผลให้เงินคงพระคลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อเขื่อนพระราม ๖ และโครงการชลประทานป่าสักใต้สำเร็จ รวมกับโครงข่ายเส้นทางรถไฟซึ่งเชื่อมต่อครบทุกภาคได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ผลผลิตจากการเกษตรได้เพิ่มปริมาณขึ้นและขยายตัวเข้าสู่ท้องตลาดได้รวดเร็วขึ้น จนสามารถใช้หนี้สินที่กู้มาจากตลาดการเงินในกรุงลอนดอนหมดสิ้นโดยไม่ต้องตั้งงบประมาณใช้หนี้ไว้ในงบประมาณแผ่นดิน

4.ในต้นรัชสมัยของ ร.7 สยามมีสภาพเศรษฐกิจ ที่ดีกว่า เกือบทุกประเทศในเอเชีย เพราะ
1. สยามเป็นประเทศเอกราชที่ชนะสงครามโลก มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติ จึงไม่มีใครมาจะมารุกรานสยามได้อีกต่อไป
2. มีความเจริญทางด้านโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วนครบถ้วน
3. มีการแก้ไขสนธิสัญญาที่เสียเปรียบครบถ้วนแล้ว แต่มีบางประเทศ ที่ขอเลื่อนเวลาในการเตรียมตัวยาวออกไปบ้างเท่านั้น
4. มีเงินคงคลังสมบูรณ์
5. มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงรักประชาธิปไตยและทรงมีพระเมตตา

ทั้ง 5 เรื่องนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จุดประกายให้คณะราษฎรเล็งเห็นประโยชน์หากทำการปฏิวัติได้สำเร็จ การบริหารประเทศก็คงไม่ลำบากนัก จึงได้ใช้วิธีฉ้อฉลและบิดเบือนเหตุการณ์เข้ามาก่อการปฏิวัติแบบไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไร อาจกล่าวได้ว่า เพราะขณะนั้นสยาม มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทุกอย่างแล้ว ใครเข้ามาปกครองก็สบายและถ้าเกิดผิดพลาด ปฏิวัติไม่สำเร็จก็ไม่ต้องกลัวโทษประหารเพราะ ใครๆก็รู้ว่า ร.7 ทรงมีพระเมตตา และเป็นนักประชาธิบไตย การปฏิวัติของคณะราษฎรนี้เองจึงทำให้ประเทศไทยเกิดภาวะชะงักงันหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือ ไม่มีพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงรถไฟอย่างที่ควรจะทำ นอกจากเชื่อมเส้นทางไปยังจังหวัดต่างๆ เป็นไปตามที่น้องมิลลิแร็ปไว้

วันเวลา 25 ปีที่แทบจะเสียเปล่าของคณะราษฎร ต่อเนื่องอีก 25 ปีของสงครามเย็นที่ไทยต้องสู้ศึกรอบด้าน เพื่อกู้ศักดิ์ศรีให้กับสหรัฐฯ จนมาถึงยุค พล.อ.เปรม จึงมีการเริ่มวางโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมาอีกครั้ง ในยุค“โชติช่วงชัชวาลย์” แต่หลังจากนั้นก็เจอเครือข่ายทักษิณอีก 15 ปี ที่ทำให้มีนักการเมืองต้องโทษคดีทุจริตมากกว่า 10 คน (รายละเอียดอ่านในหนังสือวิวัฒน์รัตนโกสินทร์ครับ)ประเทศไทย เพิ่งมาโงหัวก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นใหม่ในยุครัฐบาลลุงตู่นี้เอง

ขอสั้นๆเท่านั้น แต่คงพอเข้าใจนะครับ

และนี่คือเหตุผลหนึ่ง ที่ว่า “ลุงตู่โครตน่าเบื่อเลย แต่ก็ต้องทน” ครับ

พลโท นันทเดช/ 21เมษา 65

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'DREAMGALS' ประสานเสียงระดับหูเคลือบทองในเอ็มวี 'PRIORITY'

หลังปล่อยดาเมจแซ่บในเอ็มวีและท่าเต้นสุดจึ้งของ พ.ศ. นี้อย่างเพลง “SORRY” กันไปแล้ว ก็ถึงเวลา "DREAMGALS (ดรีมแกลส์)" ยูนิตสามสาว MILLI (มิลลิ), Flower.far (ฟลาวเวอร์.ฟาร์) และ GALCHANIE (แกลชานี) ขอเป็นตัวแทนเล่าเรื่องความเจ็บปวดของฝ่ายหนึ่งผู้เลือกตัดใจจากความรัก ในมิวสิกวิดีโอเพลง “PRIORITY” อีกหนึ่งผลงานที่ปล่อย Official Audio ออกมาก่อนหน้านี้ที่แฟนๆ คอมเมนต์เรียกร้องเอ็มวีเพราะผลงานนี้ "ทำถึง" สุดๆ!

ผลจากการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 ทำให้ประเทศไทยไม่ก้าวหน้า

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กว่าผลจากการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 ทำให้ประเทศไทยไม่ก้าวหน้า (ตอนที่2)

ดร.เสรี ฟาดกีบหลอน! การศึกษาไทยขยายสู่ประชาชนเพราะคณะราษฎร

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า กีบถูกครอบงำจนหลอนว่าการศึกษาของไทยขยายสู่ประชาช

ประเทศไทยจะไปได้ไกลกว่านี้มาก ถ้าไม่มีคณะราษฎร

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเนื่องในวันครบ 92 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยมีเนื้อหาดังนี้

‘อดีตบิ๊กศรภ.’ ชี้กลยุทธ์’ซุนวู’ กำลังจู่โจม ‘เศรษฐา-ทักษิณ’ เสียขบวน

ตำราพิชัยสงครามของซุนวู มีการนำมาสอนกันใน ร.ร.เสนาธิการทหารของทุกเหล่าทัพ และยังใช้กันอย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจ ปัจจุบันทางการเมืองก็นำมาประยุกต์ใช้เช่นกัน