รอกำหนดโทษ 2 ปี! คดี '3 นศ.ขอนแก่น' ชักธงปฏิรูปสถาบัน

ศาลขอนแก่นพิพากษารอกำหนดโทษ 2 ปี ‘3 นักศึกษา’ คดีชักธงปฏิรูปสถาบัน ที่ มข. ให้โอกาสกลับตัวกลับใจเป็นพลเมืองดี

25 มี.ค. 2565 – เมื่อเวลา 10.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลแขวงจังหวัดขอนแก่น ได้นัดอ่านคำพิพากษา ระหว่างโจทก์ คือ พนักงานอัยการ จ.ขอนแก่น กับจำเลย ประกอบด้วยนายวชิรวิทย์ เทศศรีเมือง แกนนำกลุ่มขอนแก่นพอกันที, นายชัยธวัช รามมะเริง และนายเชษฐา กลิ่นดี ทั้งหมดเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. จากเหตุการณ์ที่แกนนำกลุ่มขอนแก่นพอกันที และกลุ่มผู้ชุมนุม ได้ทำกิจกรรมเชิญธงชาติลงจากยอดเสา เหตุเกิดเมื่อเดือน ก.พ.2565 ที่บริเวณหน้าอาคารสิริคุณากร ตึกอธิการบดีหลังเก่า มข. ก่อนนำธงสีแดงเขียนข้อความว่า ปฏิรูปกษัตริย์ ชักขึ้นยอดเสา

ตามข้อกล่าวหาร่วมกันชักธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยโดยไม่เคารพ โดยดูถูกเหยียดหยาม และโดยทำให้เกิดความเสื่อมเสียซึ่งเกียรติภูมิของประเทศไทย, ร่วมกันชักธงชาติไทยไว้ ณ ที่หรือโดยวิธีอันไม่สมควร และร่วมกันกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเหยียดหยามต่อธง ตาม พ.ร.บ.ธงฯ มาตรา 45, 53 (3) และ 54

โดยทันทีที่ถึงเวลานัดหมาย จำเลยทั้งสาม พร้อมด้วยนายพัฒนะ ศรีใหญ่ ทนายความจากเครือข่ายศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เดินทางมารายงานตัวต่อศาลทันที โดยศาลไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนรวมทั้งผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาในเขตอำนาจศาลแต่อย่างใด

นายพัฒนะ ศรีใหญ่ ทนายความฯ กล่าวว่า คดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้อง 3 ข้อหา โดยที่ศาลฯ มีคำพิพากษาตัดสิน 2 ข้อหา คือ คดีชักธงปฏิรูปกษัตริย์ว่า จำเลยทั้งสามกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ธงฯ มาตรา 45, 53 (3) เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงลงโทษตามมาตรา 45 ซึ่งโทษหนักที่สุด โดยพฤติการณ์ประกอบกับจำเลยยังเป็นนักศึกษา ไม่เคยมีโทษมาก่อน ศาลจึงมีคำสั่งรอการกำหนดโทษ 2 ปี

“ศาลแขวงขอนแก่นได้พิพากษารอกำหนดโทษ โดยระบุว่าการกระทำของนักศึกษาถือเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบ การชักธงของสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นการชักธงที่ไม่เหมาะสม ส่วนข้อหาดูหมิ่นเหยียดหยามธง นั้นศาลไม่ตัดสินว่าผิด ส่วนโทษคือการรอการกำหนดโทษไว้ ถือว่ามีความผิด แต่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะลงโทษจำเลยอย่างไร ให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวกลับใจเป็นพลเมืองดี หลังจากนี้หากนักศึกษาทั้ง 3 คน มีความเห็นร่วมกันว่าคำพิพากษาไม่ถูกต้อง สามารถจะอุทธรณ์ได้ ต้องดูแนวทางกันก่อน ซึ่งดูจากอัตราโทษก็ถือว่าไม่ใช่คดีร้ายแรง” ทนายความ ระบุ

นายพัฒนะ กล่าวด้วยว่า การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงมาสังเกตการณ์ในทุกครั้งที่มาศาล ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่วันนี้พบว่าเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวมีลักษณะการถ่ายภาพที่เจาะจงเป็นรายบุคคลเกินไป ต่างจากทุกครั้งที่เข้ามาสังเกตการณ์ จึงพยายามเข้าไปพูดคุยเพื่อสอบถาม และขอให้ลบภาพถ่าย แต่เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวได้เดินหนีออกจากศาล โดยตนเองในฐานะทนายจึงต้องปกป้องสิทธิของลูกความจึงได้ดำเนินการโทรศัพท์ร้องเรียนผู้อำนวยการศาลแล้วเพื่อให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการแนะทางแก้ 'ปลาหมอคางดำ' เชื่อแพร่พันธุ์ภาคอีสานยาก

ผศ.ดร.พรเทพ เนียมพิทักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้ยังคงไม่พบการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำในภาคอีสาน

'พท.' ลุยเต็มสูบปีมหามงคล ดันนิรโทษเหมาเข่ง ล้างผิด 112

'เพื่อไทย' เดินหน้าเต็มสูบ ใช้ กมธ.บังหน้า ชงร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเข้าสภา ลุยล้างผิดคดี 112 อ้างช่วยเยาวชน 3 นิ้ว ไม่ได้ทำเพื่อ 'ทักษิณ' ลั่นทำให้เสร็จในปีมหามงคล

ยังไม่หลุด สส.! ศาลให้ประกันตัว 'ลูกเกด ก้าวไกล' ดิ้นอุทธรณ์ 112

'ลูกเกด ชลธิชา' ได้ประกันตัว 1.5 แสนบาท คดี 112 หลังศาลตัดสินจำคุก 2 ปี ลุยยื่นอุทธรณ์ต่อ ด้าน ’ชัยธวัช’ ชี้ สส.ใหม่ก้าวไกล ส่วนใหญ่โดนคดีก่อนเข้าพรรค

'ธนกร' ขวาง 'ปิยบุตร' ปลุกแก้ปลายเหตุ นิรโทษเหมาเข่งคดี 112

'ธนกร' ค้าน 'ปิยบุตร' ชี้แค่ปลายเหตุนิรโทษคนผิด ม.112 ไม่เห็นด้วยยกโทษคนหมิ่นสถาบัน เหยียบย่ำหัวใจคนไทยมากไป จี้แก้ให้ตรงจุด จัดการตัวการบิดเบือนใส่ข้อมูลเท็จ-เบื้องหลังเยาวชนดีกว่า