'อัษฎางค์' ฟาด 'วิโรจน์' อ่านหนังสือให้เกิน 8 บรรทัด ชี้ สนามหลวงไม่ใช่สวนสาธารณะ แต่เป็นโบราณสถาน กรมศิลป์ขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 13 ธ.ค. 20 ย้ำสนามหลวงเป็นสมบัติของชาติแล้วจะทวงคืนจากใคร? ไปให้ใคร
25 มี.ค.2565 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณี นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล ทวงคืนท้องสนามหลวง มีเนื้อหาดังนี้
ไม่มีวัวปน
"สนามหลวง ไม่ใช่สวนสาธารณะ แต่เป็นโบราณสถาน"
………………………………………………………………….
โดย อัษฎางค์ ยมนาค
24 มีนาคม 2565 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล เรียกร้องว่า
"การมีรั้วมากั้นบริเวณท้องสนามหลวงนั้นตนไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการทำลายทัศนียภาพ ทำลายเสน่ห์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะได้ใช้พื้นที่"
นายวิโรจน์ ยังกล่าวต่อว่า
"ทำไมไม่มีโต๊ะม้าหิน แท่นน้ำดื่ม มีแค่รถสุขา จะจัดสุขาให้เป็นสัดส่วนได้หรือไม่ เสน่ห์คนที่มาเล่นหมากรุก เปิดสภากาแฟ หรือแม้แต่เปิดเวทีไฮด์ปาร์ค จัดกิจกรรมทางการเมือง พูดประเด็นการเมืองและสังคม มันหายไปหมด ทั้งนี้อย่าอ้างพ.ร.บ.โบราณสถานมั่ว ๆ "
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร จากพรรคก้าวไกล ที่อาสามาบริหารจัดการเมืองกรุง แต่ดันไม่เข้าใจและแยกแยะเรื่องเล็กๆ แค่นี้ไม่ออกว่า สวนสาธารณะและโบราณสถาน มีการใช้ประโยชน์ต่างกันอย่างไร แล้วปัญหาใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ ที่มีมากมายจะเข้าใจและมีปัญญาอะไรไปดูแล, แก้ไขและบริหารจัดการ
ผมถือโอกาสสอนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี้ให้กับ"ว่า"ที่ผู้สมัครผู้"ว่า"ฯ ที่สมควรโดน"ว่า" เนื่องจาก"ว่า"ไม่เข้าใจเรื่องเล็กๆ แบบนี้
………………………………………………………………….
อ่านช้าๆ ดีๆ น่ะวิโรจน์น่ะ อ่านให้เกิน 8 บรรทัด แล้วกลับไปหาปี๊บคลุมหัวไว้ตอนหาเสียงในวันต่อๆ ไป
สวนสาธารณะ หมายถึงบริเวณสาธารณะที่ภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนตามชุมชนและเมืองต่าง ๆ โดยรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลรักษา
สิ่งที่นายวิโรจน์ แหกปากเรียกร้องว่า "ให้คนมาเล่นหมากรุก เปิดสภากาแฟ เปิดเวทีไฮด์ปาร์ค จัดกิจกรรมทางการเมือง พูดประเด็นการเมืองและสังคม" นั้นมันต้องเป็นสวนสาธารณะ ไม่ใช่โบราณสถาน ฮ่วย!!
………………………………………………………………….
ที่นี่ตามมาดูว่าโบราณสถานมีลักษณะอย่างไร ต่างจากสวนสาธารณะอย่างไร!
พระราชบัญญัติโบราณสถาน ฯ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๔ ระบุว่า
"โบราณสถาน” หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย
ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน “สนามหลวง” สนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพื้นที่ 74 ไร่ 63 วา เป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2520
ดังนั้น ถ้านายวิโรจน์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ จากพรรคก้าวไกล อ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่เข้าใจ ก็ไปลาออกจากการเป็นว่าที่ผู้ว่าฯ เสีย มันขายหน้าตัวเองและพรรค ที่บอกกับคนไทยว่าจะมาเปลี่ยนประเทศและสังคม
จะเอาปัญญาอะไรไปเปลี่ยนประเทศและสังคม หรือแก้ปัญหา กทม. ในเมื่อ คำแค่สองคำ ยังไม่เข้าใจ แล้วกรุงเทพฯ มีแต่ปัญหาใหญ่ๆ จะเอาปัญญาที่ไหนไปแก้ นอกจากแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ
………………………………………………………………….
แล้วถ้า...วิโรจน์ ยังอยากจะให้คนมาเล่นหมากรุก เปิดสภากาแฟ เปิดเวทีไฮด์ปาร์ค จัดกิจกรรมทางการเมือง ก็อ่านบทลงโทษผู้ที่คิดจะฝ่าฝืนหรือบุกรุก เข้าไปในสนามหลวง ซึ่งเป็นโบราณสถานเสียด้วย
พระราชบัญญัติโบราณสถานคุ้มครอง ได้กำหนดโทษผู้ใดฝ่าฝืนหรือบุกรุก ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังต่อไปนี้ (ขอยกตัวอย่างพอสังเขป)
“มาตรา ๓๒ ผู้ใดบุกรุกโบราณสถาน หรือทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินเจ็ดแสนบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําต่อโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหน่ึงล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๓๓ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่า ทําให้ไร้ประโยชน์หรือทําให้ สูญหายซึ่งโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหน่ึงล้านบาท หรือท้ังจําทั้งปรับ”
ฮ่วย!!! นี่อ่ะน่ะ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพฯ จากพรรคก้าวไกล นี่ยังก้าวไปไม่ไหนไกลก็ตกท่อ กทม.ซะแล้ว
………………………………………………………………….
กรงเทพฯ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย และใหญ่ระดับต้นๆ ของโลก และด้วยความเป็นเมืองใหญ่ระดับโลกนี้ ทำให้มีปัญหาร้อยแปดพันเก้า แต่...ก้าวแรกของว่าที่ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกล ก็ก้าวไม่ไปไหนไกลแล้ว
รู้สึกอายบ้างมั้ย ถามจริงๆ
สนามหลวงเป็นสมบัติของชาติ ชาติเป็นของประชาชน แล้วจะทวงคืนสนามหลวงจากใคร? ไปให้ใคร?
………………………………………………………………….
ประวัติสนามหลวง: https://www.facebook.com/100566188950275/posts/264232169250342/?d=n
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ Night at The Museum
กลับมาอีกครั้งสำหรับบิ๊กอีเว้นท์ของคนรักพิพิธภัณฑ์ เมื่อกรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดจัดกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ในเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย
'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี
กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
เพื่อความสบายใจ 'สส.พรรคส้ม' แจงยิบ 3 ประเด็น ต้องฟ้องหมิ่นประมาท ปกป้องสาธารณะ
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน(ปชน.) โพสต์เฟซบุ๊ก แสดงความเห็นกรณีปชน.จะฟ้องบุคคลที่กล่าวหาปชน.เป็นแนวร่วมขบวนการบีอาร์เอ็น ว่า
โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม
7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา