สรุปผลการสำรวจ : การเมืองไทย…วุ่นวายจริงหรือ?
20 มีนาคม 2565 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,127 คน ระหว่างวันที่ 14-17 มีนาคม 2565 พบว่า ประชาชนมองว่าการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง ณ วันนี้สะท้อนให้เห็นถึงการต่อรองอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง ร้อยละ 68.90 โดยมองว่าการนัดรับประทานอาหารร่วมกันของพรรคการเมืองในช่วงนี้ไม่เหมาะสม ร้อยละ 61.67 อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาบ้านเมืองโดยเฉพาะน้ำมันแพง สินค้าแพง ร้อยละ 91.44 รายได้ไม่พอกับรายจ่าย หนี้สิน ร้อยละ 71.81 คิดว่านักการเมืองไทย (ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน) ไม่ค่อยดูแลทุกข์สุขของประชาชน ร้อยละ 52.19 ทั้งนี้ไม่ค่อยเชื่อมั่นต่อการบริหารงานของรัฐบาล ร้อยละ 45.12 ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 32.77 มองว่ารัฐบาลไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ร้อยละ 50.94 และในภาพรวมมองการเมืองไทย ณ วันนี้ ค่อนข้างวุ่นวาย ร้อยละ 49.69
เมื่อทำโพลเกี่ยวกับปัญหาที่ประชาชนต้องการให้แก้ครั้งใดก็จะมีปัญหาของแพงเข้ามาในผลโพลอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ อีกทั้งยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ดูเหมือนเน้นประโยชน์ของนักการเมืองกันเองมากกว่าดูแลทุกข์สุขประชาชน ประชาชนจึงมองภาพการเมืองไทย ณ วันนี้ว่าค่อนไปทาง “วุ่นวาย” อยู่ไม่น้อย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาวินี รอดประเสริฐ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าคำตอบแต่ละข้อมีความเกี่ยวข้องโยงเชื่อมกัน เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีปัญหาทางเศรษฐกิจรวมถึงโรคระบาด ซึ่งทุกปัญหายังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างลุล่วง จึงส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลจากเดิมที่ไม่ค่อยพึงพอใจจึงยิ่งเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีข่าวที่ปรากฏว่ามีการนัดรับประทานอาหารร่วมกันของพรรคการเมืองทั้งพรรคเล็กและพรรคใหญ่ จึงเป็นอีกประเด็นที่ทำให้ประชาชนมองว่าอาจมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ จากผลสำรวจที่ออกมาไม่ค่อยเป็นผลบวกกับรัฐบาลเท่าไร เพราะความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองและรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสภาพความเป็นอยู่ยังไม่เห็นผลชัดเจน ทำให้ความวุ่นวายทางการเมืองคงไม่สามารถจบได้ง่ายนัก แม้แต่รัฐบาลในอนาคตเชื่อว่าคงทำงานลำบาก หากต้องการที่จะสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นต้องมองทั้งความวุ่นวายที่เกิดจากนักการเมือง และเร่งแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน จึงจะสามารถช่วยบรรเทาเรื่องของความวุ่นวายที่เกิดขึ้นให้น้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น