'นิด้าโพล' ชี้คนไทยค้านแนวคิด 'ซื้อเสียงถูกกฎหมาย?'

20 มีนาคม 2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ซื้อเสียงถูกกฎหมาย?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-18 มีนาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,329 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนว่า “ประเทศไทยมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 76.75 ระบุว่า เชื่อมาก รองลงมา ร้อยละ 16.33 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 3.46 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 3.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.15 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความเชื่อว่า “ปัญหาการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” จะสามารถแก้ไขได้ ตัวอย่างที่ระบุว่าเชื่อมาก ค่อนข้างเชื่อ และเฉย ๆ ไม่ตอบ/ไม่สนใจว่า “ประเทศไทยมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ (จำนวน 1,239 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 63.92 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 17.76 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 11.46 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 6.62 ระบุว่า เชื่อมาก
และร้อยละ 0.24 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอที่จะให้ “การซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” เป็นการกระทำที่ถูกกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 71.93 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 12.27 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 8.50 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 6.77 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 0.53 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอที่จะให้ “การจัดเลี้ยงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง” เป็นการกระทำที่ถูกกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.44 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 14.52 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 13.02 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 11.89 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.13 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอที่จะให้ “การจัดมโหรสพ กิจกรรมบันเทิงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง” เป็นการกระทำที่ถูกกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 61.17 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 13.54 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 12.27 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 12.19 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.83 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการไม่อนุญาตให้เปิดเผยผลโพลการเลือกตั้ง ในระหว่างเจ็ดวันก่อนการเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการออกเสียงลงคะแนน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.06 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 28.97 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 10.99 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 2.18 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เผยคนไทยให้เกียรติคนที่ใช้ ตำแหน่ง ยศ นำหน้าชื่อ และเกือบ 90% ไม่เคยตรวจสอบว่าจริงหรือไม่

นำหน้านามนั้น สำคัญไฉน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับคำนำหน้านาม

ก้าวไกลเพ้อชนะยุบพรรค!

ใจดีสู้เสือ! "ชัยธวัช" เชื่อ "ก้าวไกล" มีโอกาสชนะสูง อ้างยิ่งศาล รธน.ปิดไต่สวน "คดียุบพรรค" ก็ยิ่งมั่นใจในคำแถลงปิดคดี ปลุกกองเชียร์ 7 ส.ค.

'ก้าวไกล' มองคดียุบพรรคไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้เตรียมพร้อมเป็นรัฐบาล เลือกตั้งครั้งหน้า

นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวเปิด 3 วิสัยทัศน์พัฒนาเชียงใหม่ พร้อมกับเปิดตัว นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ว่

‘นิด้าโพล’ ชี้ประชาชนหนุนมาตรการส่งดี เปิดดูสินค้าก่อนจ่าย

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Dee-Delivery เปิดก่อนจ่าย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

'นิพิฏฐ์' แนะเอาตัวให้รอด จากการเมืองใหม่ที่ไม่เห็นอนาคต กับการเมืองเก่าประชานิยมซื้อเสียงไปวันๆ

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ทนายความ อดีตส.ส.พัทลุง โพสต์ข้อความหัวข้อ "เอาตัวให้รอด" มีรายละเอียดดังนี้