17 มี.ค.2565 - เฟซบุ๊ก พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความว่า “ประเทศต้องไปต่อ แต่ต้องคิดให้รัดกุม” เพื่อไทยถามรัฐเร่งปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่นคิดดีแล้วหรือถังแตกกันแน่ ห่วงผู้ป่วยโควิดเข้าไม่ถึงการรักษาหลังถูกชิงปลดออกจากยูเซป
นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลเตรียมผ่อนคลายมาตรการทางสาธารณสุข สอดรับการเตรียมประกาศให้โควิด19 เป็นโรคประจำถิ่น ภายหลังนำการรักษาโควิด19 ออกจากยูเซป แล้วตั้งเกณฑ์ยูเซปพลัสขึ้นมาใหม่นั้น รัฐบาลมีการพิจารณาที่รัดกุมดีแล้ว หรือเป็นเพราะต้องเร่งดำเนินการเพราะถังแตก ไม่มีเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลให้ประชาชนแล้วกันแน่
ยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันรวมการตรวจ ATK ยังเป็นอันดับต้นๆของโลก อัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแทบทุกวัน อีกทั้งบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากยังคงแสดงความกังวลอย่างมากต่อสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ BA.2 ที่มีความรวดเร็วสูง และก่อให้เกิดภาวะ Long Covid แต่หลังจากวันนี้ (16มี.ค.) ผู้ป่วยจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มสีเขียวจะเข้าถึงการรักษายากยิ่งไปกว่าเดิม และอาจเกิดเหตุโดนปฏิเสธการรักษาจากโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยสะดวก ทั้งที่การรักษาโรคโควิด19 ควรให้เข้าถึงการบริการทางสาธารณสุขให้เร็วที่สุด
ชนินทร์ กล่าวว่า นอกจากนี้นายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังประกาศเตรียมให้จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดนำร่องในการประกาศใช้มาตรการโรคประจำถิ่น ผ่อนคลายการรับชาวต่างชาติจากชายแดนกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้ (2565)
ในขณะที่สถานการณ์การระบาดในจังหวัดยังทรงตัวในระดับค่อนข้างสูง ผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 300 คน/วัน มีผู้ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มในระดับต่ำ เพียงประมาณ 55% หรือต่ำที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ จนสร้างความกังวลให้กับคนในจังหวัดอย่างมาก ยิ่งการผ่อนคลายมาตรการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนที่มีการเดินทางกลับภูมิลำเนา และกิจกรรมทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น เกรงว่าคนสุรินทร์จะต้องรับกรรมจากความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของรัฐบาลแทน จึงอยากให้ภาครัฐเร่งวางแผนให้รัดกุม และประชาสัมพันธ์ในเรื่องดังต่อไปนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น ได้แก่
1. เกณฑ์การรับวัคซีนและคุณสมบัติของผู้ที่สามารถเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศได้
2. มาตรการการตรวจคัดกรองและติดตามผู้เดินทาง เช่น ต้องตรวจ ATK ณ ด่านชายแดน ทั้งก่อนและหลังผ่านข้ามแดน และการให้เปิด GPS ติดตามผู้เดินทาง
3. เกณฑ์ในการวัดผลการระบาดที่เพิ่มขึ้น และมาตรการรองรับกรณีฉุกเฉิน
4. ความพร้อมของระบบสาธารณสุขในจังหวัด และการเตรียมประสานความร่วมมือจากจังหวัดข้างเคียง
“รัฐบาลชุดนี้มีผลงานเด่นชัดเรื่องความคิดไม่รอบคอบและขาดการสื่อสารที่ชัดเจนกับประชาชน ผมในฐานะคนสุรินทร์เข้าใจดีว่าประเทศไทยต้องไปต่อ เพื่อเปิดให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ แต่การดำเนินการใดๆต้องมีความรัดกุม และมีการสื่อสารกับประชาชนที่ชัดเจน หากยังคิดบริหารแบบขอไปทีอยู่อย่างนี้ ประชาชนคงอยากให้ไปๆสักทีเสียดีกว่า”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2
จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง
ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง