'อดีตบิ๊กศรภ. 'วิเคราะห์ Fight From Home ฟันธง 'เซเลนสกี' คงต้องซมซานรับข้อเสนอรัสเซีย

'พล.ท.นันทเดช' วิเคราะห์ FIGHT FROM HOME -สู้อยู่ที่บ้าน สหรัฐฯเข้าไปแทรกแซง หลายสิบประเทศ ฟันธง 'เซเลนสกี' คงจะต้องซมซานมาขอรับข้อเสนอของรัสเซีย ไม่นานนี้แน่นอน

16 มี.ค.2565 - พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ FIGHT FROM HOME ตอน 2 มีเนื้อหาดังนี้

ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 & 2 ยุติลง มาถึงสงครามเย็น และต่อเนื่องด้วยสงครามก่อการร้าย จากกรณีกลุ่มก่อการร้าย จี้เครื่องบิน ชนตึก World Trade ที่มหานคร New York ในเหตุการณ์9-11 แล้ว สหรัฐฯ ซึ่งยังยืนหยัดใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารที่สำคัญ คือ “การทำสงครามนอกประเทศ” มาตลอดเวลา

ทำให้เราไม่เคยเห็นพื้นที่ของสหรัฐฯได้รับความเสียหายแม้แต่ตารางนิ้วเดียว(ยกเว้นที่ฮาวายในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก็เป็นดินแดนที่สหรัฐฯไปยึดเขามา และห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐฯ) ยุทธศาสตร์แบบนี้ แม้จะทำให้สหรัฐฯปลอดภัย แต่สหรัฐฯก็ต้องทุ่มเทเงินไปสร้างฐานทัพนอกประเทศขึ้นมาหลายแห่ง เพื่อใช้ต่อระยะในการทำสงครามได้อย่างสะดวกในทุกภูมิภาคของโลกนี้

เมื่อกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศขึ้นแบบนี้ ทำให้สหรัฐฯ ได้สร้างตำราทางทหารที่ใช้กันใน ร.ร.เสนาธิการทหาร อย่างเปิดเผย โดยใช้ชื่อว่า “ คู่มือว่าด้วยการล้มรัฐบาล และ เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ที่ไม่สนับสนุนผลประโยชน์ของสหรัฐฯ” บทเรียนนี้ยกตัวอย่างการเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในประเทศต่างๆ ในช่วงสงครามเย็น 47 ประเทศ ประสบความสำเร็จ 23 ครั้ง ล้มเหลว 20 ครั้ง สำเร็จบางส่วน 2 ครั้ง และล้มเหลวบางส่วน 2 ครั้ง

การเข้าไปแทรกแซงกิจการของประเทศต่างๆนั้น จะว่าสหรัฐฯฝ่ายเดียวก็ไม่ถูกนัก เพราะเมื่อพูดถึงเรื่องความมั่นคงระหว่างประเทศ ทุกประเทศย่อมต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติตนเป็นหลักการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคง จึงมีที่มาคล้ายคลึงกันจะต่างกันก็แค่ การนำยุทธศาสตร์มาเป็นกำหนดยุทธวิธีในการปฏิบัติเท่านั้น ที่แตกต่างกัน

แต่ทั้งนี้ การกำหนดยุทธวิธีการปฏิบัติ ของสหรัฐฯก็ควรคิดหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำของตนแล้วว่า 'ไม่ว่าสหรัฐฯ จะทำสำเร็จหรือล้มเหลว ก็จะส่งผลร้ายเพียงอย่างเดียว คือ ทำให้ประเทศที่สหรัฐเข้าไปแทรกแซงนั้น ล่มสลายเสียหายยับเยิน เพียงแต่ จะมาก หรือน้อยเท่านั้นเอง'

ปัจจุบันประเทศที่สหรัฐฯเข้าไปแทรกแซง ทั้งทางตรง และทางอ้อมหลายสิบประเทศ ที่พอสรุปให้เห็นเฉพาะที่ชัดเจนจริงๆ เช่น ทำให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับจีนและรัสเซีย เกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ ไต้หวันกับจีน ยูเครนกับรัสเซีย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าประเทศไหนรบกับใคร สหรัฐฯก็ไม่ได้เสียหายอะไร

ตัวอย่างเช่น กรณียูเครน ถ้าสหรัฐฯ พานาโต้ เข้าช่วยยูเครน รัสเซียย่อมต้องเล่นงานยุโรปก่อน เมื่อทั้งคู่งอมพระรามไปแล้ว สหรัฐฯถึงจะเข้ามาช่วย เหมือนทุกๆครั้ง แต่คราวนี้ไม่เหมือนกับทุกสงครามที่ผ่านมา เพราะ 1.ประเทศใน EU ส่วนใหญ่เริ่มรู้ทัน สหรัฐฯแล้ว และ 2.รัสเซียไม่ได้โดดเดี่ยว เพราะการบุกยูเครนครั้งนี้ มีหรือที่จีนจะไม่รู้เรื่องมาก่อน ถ้าจีนร่วมกับรัสเซีย สหรัฐฯก็คงหาทางชนะได้ยากแน่นอน

ประธานาธิบดีเซเลนสกี้ของยูเครนจึงถูกกลุ่มประเทศสมาชิกนาโต้หลอก ว่าจะร่วมยูเครนสู้กับรัสเซีย แต่เอาเข้าจริงแล้ว กลายเป็นการสู้แบบ Fight From Home (สู้อยู่ที่บ้าน) ดังนั้นรัสเซียจึงไม่ต้องเร่งร้อนเข้าตี ให้เวลาประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้อง อพยพไปตามช่องทางที่รัสเซียเป็นผู้กำหนดก่อน ทำให้ทางยูเครนซึ่งวางแผนจะใช้ประชาชน เข้ามาเป็นเหยื่อ เพื่อจะใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อโจมตีรัสเซียว่า เฆ่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงทำไม่สำเร็จตามที่คิดไว้

เมื่อแผนนี้ยูเครนใช้ไม่ได้ผล ในที่สุด เซเลนสกี้คงจะต้องซมซานมาขอรับข้อเสนอของรัสเซีย ซึ่งน่าจะไม่นานนี้แน่นอนครับ

“เรื่องยูเครนนี้สอนไทยว่า อย่าไปยุ่งกับเรื่องของชาวบ้าน”ครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุ้ย! อดีตบิ๊กศรภ. บอกแบ่งงบซอฟต์พาวเวอร์แจก ’หมูเด้ง’ บ้าง จะได้มีผลงาน

อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ แนะนำเงิน Soft power จำนวนมหึมา ของนายก อุ๊งอิ๊ง นั้นควรแบ่งมาแจกให้ 'น้องหมูเด้ง'

'นายกฯอิ๊งค์' อยู่ได้เกิน 6 เดือนไหม! ขึ้นอยู่กับ 2 ทางรอด

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อุ๊งอิ๊งจะอยู่เกิน 6 เดือนไหม

เซเลนสกี อ้างความชอบธรรมให้กับการรุกรานดินแดนรัสเซียและโจมตีเคิร์สต์

ประธานาธิบดีของยูเครนอ้างความชอบธรรมในการรุกคืบของกองกำลังทหารเข้าไปในจังหวัดเคิร์สต์ โวโลดิมีร์ เซเลน