สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจปัจจัยเสี่ยงต่ออันตรายทางไซเบอร์ ร้อยละ 94.2 พบการระดมปลุกปั่น สร้างความแตกแยกของคนในชาติและสั่นคลอนสถาบันฯ แนะภาครัฐเพิ่มบทบาทภาคประชาชน ใช้ 'สังคมคุมสังคม'
23 ต.ค. 2564 - ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนามแบบผสมผสาน เรื่อง ปัจจัยเสี่ยงต่ออันตรายทางไซเบอร์ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,017 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 19 - 22 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.2 พบการระดมปลุกปั่นในโลกโซเชียลมีเดียและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สร้างความแตกแยกของคนในชาติและสั่นคลอนสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.7 เคยพบปัญหาข้อมูลการค้าขาย ธุรกรรมทางธุรกิจ ผิดปกติจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ออนไลน์ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.0 เคยถูกหลอกลวง เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินจากการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล ระบบออนไลน์ และการใช้โซเชียลมีเดีย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 75.5 เคยเจอความไม่ปลอดภัยกับข้อมูลส่วนตัวและอื่น ๆ จากการใช้บริการธนาคารและสถาบันการเงิน เช่น การถูกดูดเงินออกจากบัญชี การโอนเงิน การใช้ออนไลน์แบงค์กิ้ง เป็นต้น และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.5 เคยถูกบูลลี่ (Bully) ข่มขู่ คุกคาม เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โซเชียลมีเดียและการใช้ออนไลน์ต่าง ๆ
ที่น่าพิจารณาคือ เกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.9 พบปัญหาค่อนข้างมากถึงมากที่สุดว่า หน่วยงานรัฐยังไม่ค่อยตื่นตัว ไม่บูรณาการเชื่อมโยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ในขณะที่ร้อยละ 40.3 พบปัญหาปานกลาง และร้อยละ 10.8 พบปัญหาค่อนข้างน้อยถึงไม่พบปัญหาเลย
เมื่อถามถึงระดับความเสี่ยงต่ออันตรายจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดียและระบบออนไลน์ต่าง ๆ พบว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.5 ระบุเสี่ยงค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 36.1 ระบุเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 13.4 ระบุเสี่ยงค่อนข้างน้อยถึงไม่เสี่ยงเลย
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.6 กังวลต่ออันตรายจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และระบบออนไลน์ต่าง ๆ ในขณะที่เพียงร้อยละ 2.4 เท่านั้นที่ไม่กังวลเลย
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนพบเห็นมากที่สุดคือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย ทำคนในชาติแตกแยกและสั่นคลอนสถาบันพระมหากษัตริย์ และยังเกิดปัญหาอันตรายต่อการทำธุรกรรมการเงินการธนาคารของประชาชนและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย นอกจากนั้นประชาชนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย ถูกบูลลี่ ข่มขู่คุกคามจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนไม่พบการบูรณาการเชื่อมโยงการทำงานและยังไม่เห็นการตื่นตัวของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางไซเบอร์ในการปกป้องผลประโยชน์ชาติ ความมั่นคงของประเทศและประชาชน จึงสะท้อนออกมาในส่วนที่เป็นความเสี่ยงสูงต่ออันตรายจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระบบอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียระดับประเทศ โดยประชาชนตกอยู่ในสถานการณ์จำเป็นต้องใช้ ไร้อำนาจในการปฏิเสธการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งๆ ที่มีความกังวลต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินและความไม่มั่นคงของประเทศ ความแตกแยกของคนในชาติที่ถูกกระทำโดยขบวนการในโลกโซเชียลมีเดีย จึงจำเป็นที่ภาครัฐต้องเพิ่มบทบาทของภาคประชาชน (Non-State Power) ใช้ “สังคมคุมสังคม” สร้างความตระหนักรู้และตื่นตัวของประชาชน เสริมระบบลดปัญหาอันตรายทางไซเบอร์ภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยใช้อำนาจแห่งชาติ (National Power) ให้น้ำหนักขับเคลื่อนประเทศสู่ยุคสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เย้ยกฎหมาย! โพสต์ขาย 'น้ำท่อม' ฉลองวันลอยกระทง
ภายใต้การนำของ พ.ต.อ.พิเชษฐ์พงศ์ แจ้งค้ายคม ผกก. สภ.เมืองสมุทรสาคร พ.ต.ท.สุขุม เพาะไธสง รอง ผกก.ป. พ.ต.ท.โสภาส ถนนทิพย์ สวป. สภ. พร้อมกำลังตำรวจ
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ
โพลหวังอิ๊งค์เร่งแก้ปากท้อง
โพล 2 สำนักประสานเสียง คนส่วนใหญ่หนุน “แพทองธาร” หวังแก้ปัญหาปากท้องโดยด่วน