We Watch เปิดจุดสังเกต 5 จุด ที่จำเป็นต่อการจับตาเป็นพิเศษ ในการช่วยกันทำให้การเลือกตั้งยุติธรรม หลังประมวลบทเรียนจากการสังเกตการณ์เลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมา
14 พ.ค.2566 – เฟซบุ๊ก We Watch โพสต์ข้อความระบุ การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 14 พ.ค. แม้จะเป็นกิจกรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญ ทว่าสิ่งควรตระหนักคือมีระยะเวลาในกระบวนการสั้น หากนับตั้งแต่เปิดหีบเลือกตั้งไปจนถึงปิดหีบเลือกตั้ง ประชาชนจะมีเวลาเพียง 9 ชั่วโมง (8.00 น.-17.00 น.) ฉะนั้นทุกนาทีของการใช้สิทธิจึงมีความหมายยิ่ง
มีคำถามว่า ผู้ออกมาใช้สิทธิจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องสิทธิของตัวเองและผู้อื่นอย่างไรได้บ้าง
We Watch คัดจุดสังเกต และวิธีการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง โดยประมวลจากข้อกังวล ที่พบได้จากข้อมูลของอาสาสมัคร We Watch ทั่วประเทศ ในการเลือกตั้งล่วงหน้า-นอกเขต ในวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา มาเป็นบทเรียนชี้ให้เห็นจุดสำคัญในการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง
โดยมี 5 จุด ที่จำเป็นต่อการจับตาเป็นพิเศษ เพื่อทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างยุติธรรมมากที่สุด ดังนี้
1. การหาเสียงเลือกตั้ง
2. รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3. หน่วยเลือกตั้งและคูหาเลือกตั้ง
4. การนับและรายงานผลคะแนน
5. ประชาชนสามารถทักท้วงต่อ กปน.
1. การหาเสียงเลือกตั้ง
กรณีเหล่านี้เป็นข้อห้ามในการหาเสียงในวันเลือกตั้ง หากพบกิจกรรมดังต่อไปนี้สามารถรายงานเข้ามาได้ที่ We Watch ทุกช่องทาง
หาเสียงโดยให้หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์
โฆษณาหาเสียงด้วยการจัดมหรสพ หรืองานรื่นเริงต่างๆ
หาเสียงโดยจัดเลี้ยง หรือรับปากว่าจะจัดงานเลี้ยง
หาเสียงโดย หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้าย หรือทำให้ประชาชนเข้าใจผิด
ทำโพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยมีเจตนาไม่สุจริต ที่มีลักษณะเป็นการชี้นำ
หาเสียงเลือกตั้ง นับตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้ง จนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
ห้ามเจ้าหน้าที่รัฐ ใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ช่วยโฆษณาหาเสียง
กรณีนี้พบปัญหามากที่สุด ประชาชนสามารถเช็คจำนวนบัตรเลือกตั้งที่มีในหน่วย บัตรเลือกต้งที่ถูกใช้ และการรวมคะแนน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยป้องกันการสวมสิทธิ์ในการเลือกตั้งหรือกรณี “บัตรเขย่ง”
2. รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการใช้สิทธิ
ปิดประกาศบัญชีรายชื่อฯ ไว้ที่หน่วยเลือกตั้ง หรือบริเวณใกล้เคียงหรือไม่
เอกสารแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
ดูรายการเกี่ยวกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ได้รับมาก่อนลงคะแนน (ส.ส.5/5)
ดูการเปิดเผยรายงานผลการนับคะแนนรายหน่วยเลือกตั้ง (แบบ ส.ส.5/18)
รายการเกี่ยวกับจำนวนบัตรเลือกตั้งเมื่อเสร็จสิ้นการออกเสียงลงคะแนน (ส.ส.5/7)
3. หน่วยเลือกตั้งและคูหาเลือกตั้ง
กรณีนี้ประชาชนสามารถตรวจสอบความเรียบร้อยตั้งแต่ก่อน-ระหว่าง-หลังใช้สิทธิ ไปจนถึงการนับคะแนนด้วยการตรวจสอบง่าย ๆ ถึงความเรียบร้อยดังนี้
เปิดหีบบัตรเลือกตั้งเพื่อตรวจสอบและนับจำนวนบัตรเลือกตั้งทั้งหมดของหน่วยเลือกตั้ง ตอน 7.30 น.
หีบบัตรเปล่าหรือไม่ ใช้สายรัดเรียบร้อยไหม (ยกเว้นกล่องแบบพลาสติก)
4. การนับและรายงานผลคะแนน
กรณีนี้จำเป็นต้องเฝ้าจับตาการทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย (กปน.) ซึ่งอาจจะทำงานเหนื่อยล้ามาทั้งวัน การมีประชาชนช่วยสังเกตการณ์การนับคะแนนจะช่วยทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ กปน. สมบูรณ์และลดข้อผิดพลาดได้มาก
นับคะแนนเปิดเผยและนับติดต่อกันจนเสร็จหรือไม่
• กปน. คนที่หนึ่ง มีหน้าที่หยิบบัตรทีละใบ และคลี่บัตรส่งให้ กปน. คนที่สอง
• กปน. คนที่สอง มีหน้าที่วินิจฉัยบัตรเลือกตั้ง แสดงบัตรเลือกตั้งให้ประชาชนมองเห็น และอ่าน
• บัตรดี กปน. จะอ่านว่า “ดี” และอ่านหมายเลขของผู้สมัครที่ได้คะแนนในกรณีการเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรืออ่านหมายเลขของบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่ได้คะแนนในกรณีการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
• ถ้าเป็นบัตรที่กาเครื่องหมายในช่อง “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด” หรือ “ไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด” กปน. จะอ่านว่า “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด” หรือ “ไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด”
• ถ้าเป็นบัตรเสีย กปน. จะอ่านว่า “เสีย” และส่งต่อให้ กปน. ไม่น้อยกว่า 2 คนลงลายมือชื่อ และเขียนหลังบัตรว่า “เสีย ” ทันทีพร้อมทั้งระบุเหตุผลว่าเป็นบัตรเสียเพราะเหตุใด
• เมื่ออ่านบัตรเลือกตั้งเสร็จแล้ว ให้ส่งบัตรให้ กปน. คนที่สี่
• กปน. คนที่สาม มีหน้าที่ขานทวนคะแนนและขีดคะแนนลงในแบบขีดคะแนน (ส.ส.5/11 หรือ ส.ส.5/11(บช))
5. ประชาชนสามารถทักท้วงต่อ กปน.
บทบาทของประชาชนนอกเหนือจากการใช้สิทธิลงคะแนน ยังสามารถทักท้วงเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
• หากพบว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง หรือชัดเจน ประชาชนและผู้สังเกตการณ์สามารถทักท้วงการทำงานของ กปน. ด้วยวาจา โดยสุภาพได้
• หากทักท้วงแล้วไม่ได้รับการแก้ไข หรือไม่ได้รับคำตอบที่ถูกต้องเพียงพอที่จะคลายสงสัยได้ สามารถยื่นคำทักท้วง ตามแบบ ส.ส.5/10
• โดยสามารถขอ แบบทักท้วงการปฏิบัติหน้าที่ฯ หรือ แบบ ส.ส.5/10 ได้ที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
• ถ้ามีการยื่นคำทักท้วง ตามแบบ ส.ส.5/10 เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบและบันทึกคำทักท้วงพร้อมกับคำวินิจฉัยลงในรายงานเหตุการณ์ประจำที่เลือกตั้ง (ส.ส.5/6) และให้ผู้ทักท้วงและ กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง 5 คน ลงรายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน (และต้องลงรายมือชื่อต่อหน้าพยานไม่น้อยกว่า 2 คน)
! ข้อควรเน้นย้ำ !
– ผู้สังเกตการณ์เลือกตั้ง ควรที่จะบันทึกเหตุการณ์ที่ทักท้วงไว้ตลอด ทั้งการจดบันทึก และบันทึกภาพถ่ายและวีดีโอ (ในกรณีที่สามารถถ่ายได้โดยไม่ถ่ายติดประชาชนที่กำลังลงคะแนน).
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตอกยํ้าดีลฮ่องกง ลิ่วล้อแจงแทนนาย ‘พรรคส้ม’ ยากเป็นรัฐบาล
ตอกย้ำดีลฮ่องกงเหลว! "ณัฐวุฒิ" ขยายความ "ทักษิณ" คุย "ธนาธร" แค่เล่าชะตากรรม ไม่มีการพาดพิง ม.112 กับก้าวไกล เผยตั้งแต่โหวต "พิธา"
'พิธา' คุยพรรคประชาชนแข่งเลือกตั้งมีแต่ชนะกับพัฒนา ไม่มีคำว่าแพ้
ที่จ.อุดรธานี แกนนำ สส. และผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน ร่วมเวทีปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 พ.ย. 2567 ซึ่งพรรคประชาชนได้ส่ง คณิศร ขุริรัง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก
'ณัฐวุฒิ' ป้อง 'ทักษิณ' สวน 'ธนาธร' ปม 112
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่า ผมเป็นคนกำกับเวทีปราศรัยที่อุดร ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง ยืนอยู่ใกล้ๆ
'ทักษิณ' คุยเลือกตั้งครั้งหน้า 'เพื่อไทย' กวาด สส. ไม่ต่ำกว่า 200 ที่นั่ง
"ทักษิณ" ประกาศถ้าเจอพ่อค้าเสพติดช่วยบอกว่าทักษิณกลับมาแล้ว ยัน รัฐบาลนี้อยู่ครบเทอม ชวนคนเสื้อแดงสีตกใส่กลับมา โว คราวหน้า ไม่มีแพ้ ไม่ต่ำกว่า 200 เสียง พร้อม เสนอตัวเอง ใช้สมองช่วยประเทศฟื้นจากความลำบาก
'ธนกร' จี้ กกต. คุมเข้มเลือกตั้งนายก อบจ. ปูด 'เมืองคอน' เริ่มซื้อเสียง
'ธนกร' จี้ กกต. คุมเข้มหาเสียงเลือกตั้ง อบจ. หลายจังหวัด แนะทำงานเชิงรุก จับตา 'เมืองคอน' สู้ดุเดือด ชาวบ้านแจ้งเรียกเก็บบัตรประชาชนหลายพื้นที่ ขอตรวจสอบเข้มโปร่งใส
เลือกตั้งนายก อบจ.นครพนม แชมป์เก่าออกปาก 'น่ากลัวทุกคน'
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) รวมถึง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ทั่วประเทศ จะดำรงตำแหน่