กกต.-ไปรษณีย์ นำทีมสื่อมวลชน จับตานับจำนวนบัตรเลือกตั้ง ก่อนส่งถึง 400 เขตภายในวันที่ 12 พ.ค. อย่ากังวลปมจ่าหน้าซองผิด ตรวจสอบได้ทุกคะแนนไม่มีตกน้ำ มั่นใจไม่กระทบเลือกตั้งเป็นโมฆะ
8 พ.ค. 2566 – ที่สำนักงานไปรษณีย์ สำนักงานใหญ่ นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วย นายดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไปรษณีย์ไทย ได้นำคณะสื่อมวลชน ร่วมติดตามการนับจำนวนและคัดแยกบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ที่ผ่านการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า และบัตรลงคะแนนผู้พิการ ผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา รวมถึงบัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ที่ส่งเข้ามาถึงประเทศไทยแล้ว
นายดนันท์ กล่าวว่า ในส่วนของบัตรเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักรมีทยอยเข้ามากว่า 60,000 ใบ หรือประมาณ 67% จาก 45 ประเทศ จากจำนวนทั้งหมด 67 ประเทศ มีคณะกรรมการ 3 ฝ่ายคือกรมการกงสุล กกต. และไปรษณีย์ตรวจคัดแยก ขณะนี้ บัตรเลือกตั้งล่วงหน้าในประเทศ เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ถูกขนส่งมายังศูนย์คัดแยกเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างทำการคัดแยกโดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วย กกต. และไปรษณีย์ โดยในเบื้องต้นอยู่ในส่วนของการตรวจนับ และคัดแยก ยังไม่ถึงการคัดกรองที่จะตรวจเรื่องของการจ่าหน้าซองบัตร อย่างไรก็ตามกระบวนการคัดแยก ตรวจสอบจะใช้เวลา 7-9 พ.ค. ช้าสุดคือวันที่ 10 พ.ค.นี้ และเริ่มส่งไปยัง 400 เขต คาดว่าจะถึงภูมิลำเนาของภายในวันที่ 12 พ.ค.นี้ ยืนยันว่าการดำเนินการในศูนย์คัดแยกจะมีวอร์รูมคอยมอนิเตอร์ดูการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีเจ้าหน้าที่ กกต.มาร่วมทำงานด้วย สำหรับเจ้าหน้าที่ที่เข้าพื้นที่ต้องลงทะเบียน ยืนยันตัวตน ห้ามนำอุปกรณี โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือเข้าไป และเมื่อออกจากศูนย์ จะต้องมีการตรวจค้นก่อน สำหรับขั้นตอนการตรวจนับและคักแยกบัตรเลือกตั้ง จะตรวจรหัสซ้ำ 3 รอบ เพื่อให้แน่ใจว่าบัตรลงคะแนนจะถูกส่งตรงตามที่ผู้ลงคะแนน
ด้าน นายแสวง กล่าวว่า จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าประมาณ 91.83% ต้องขอบคุณผู้มาใช้สิทธิ์ ที่มาด้วยแรงศรัทธาประชาธิปไตย ซึ่งสำนักงานกกต.สัญญาว่าจะรักษาทุกเสียงที่ประชาชนได้ลงคะแนนไว้ ส่วนกรรมการประจำหน่วย และอนุกรรมการประจำเขต ซึ่งการทำงานอาจจะมีการผิดพลาดบ้าง แต่ขอบคุณที่อดทนทั้งต่อสภาพอากาศ และแรงเสียดทานทางการเมือง ทำให้งานรวมกว่า 16 ชั่วโมง รวมถึงประชาชนที่ร่วมกันตรวจสอบการทำงานของ กปน. และกกต. ซึ่งมีทั้งเรื่องจริง เรื่องเท็จ แต่สั่งให้ ผอ.ทุกจังหวัด รายงานเข้ามาทุกเรื่องที่ปรากฏเป็นข่าว ว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร มีการแก้ไขอย่างไร เป็นเรื่องดี ที่สิ่งที่เราทำอยู่นั้นอยู่ในสายตาของประชาชนเสมอ
ส่วนวันเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค. จะไม่ให้มีสิ่งผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เกิดขึ้นอีก และคาดว่าเลือกตั้งในวันดังกล่าวการบริหารจัดการจะง่ายกว่านี้ เพราะไม่ต้องส่งไปรษณีย์ และบุคลากรที่จะทำงานมีมากกว่านี้ การลงคะแนนตรงตามหน่วยเลือกตั้งนั้นๆ ประชาชนจะไม่สับสน แต่คิดว่าเรื่องหีบไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่สำคัญคือปัญหาการจ่าหน้าซอง แต่ก็ยืนยันว่าเรามีกระบวนการตรวจสอบ ขอให้ผู้ใช้สิทธิ์มั่นใจว่าซองบรรจุบัตรเลือกตั้งจะถูกส่งไปยังหน่วยเลือกตั้งของผู้มีสิทธิ์
นายแสวง กล่าวถึงกระบวนการตรวจสอบคัดแยกบัตร กรณีกรรมการประจำหน่วยเขียนรหัสจังหวัด หรือเขตเลือกตั้งผิดพลาดว่า หลังปิดหีบจะมีการตรวจสอบว่าต้นขั้วที่ใช้ไป กับจำนวนบัตรที่ออกเสียงตรงกันหรือไม่ และกรรมการประจำหน่วยจะทำบัญชีมา เมื่อไปรษณีย์ได้รับถุงบัตรมาแล้ว ก็จะทำการตรวจเบื้องต้น เมื่อคัดแยกเสร็จก็จะดูว่าจำนวนซองที่คัดแยกกับยอดต้นขั้วตรงกันหรือไม่ ดังนั้นยอดจะกระทบกันโดยอัตโนมัติ ส่วนที่อาจจะมีปัญหา
“ถ้ามีการจ่าหน้าซอง ถ้าถูกต้องทั้ง 3 จุด ก็จะถูกแยกออกไปเลย ถ้ามีปัญหากรอกครบ แต่เขียนเขต หรือรหัสเลือกตั้งผิด จะยึดรหัสเขตเลือกตั้ง 3 ตัวท้าย ซึ่งอยู่ด้านล่างของซองเป็นหลัก แต่ถ้ากรอกไม่ครบ หรือไม่มีรายละเอียดใดๆ หรือไม่มีการกรอกอะไรเลย ซึ่งส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะมีเรื่องนี้เกิดขึ้น โดยกรณีนี้จะถูกส่งมาให้คณะกรรมการ ที่มีเจ้าหน้าที่ กกต. และไปรษณีย์วินิจฉัยว่าซองนี้จะไปลงเขตใด ซึ่งจะต้องไปสอบทานกับต้นขั้วก่อน ยอมรับว่าอาจจะยุ่งยากพอสมควร” นายแสวง ระบุ
เมื่อถามว่า มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่ามีการกรอกรหัส 3 ตัวท้ายผิด นายแสวง กล่าวว่า เขตเลือกตั้งนั้นคิดว่าประชาชนทราบ แต่รหัสเขต 3 ตัวท้าย ไม่รู้ว่าประชาชนเข้าใจหรือเปล่า อาจจะเข้าใจว่า กปน.ต้องกรอกรหัสไปรษณีย์ที่ตนเองมีภูมิลำเนาอยู่ ยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของ กปน. แต่การที่เราออกแบบการจ่าหน้าซอง ให้เขียนถึง 3 ชั้น เพื่อที่เวลาเกิดปัญหาก็จะสามารถตรวจสอบได้ และสามารถส่งบัตรเลือกตั้งนั้นส่งไปยังหน่วยเลือกตั้งที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์อยู่ ดังนั้นยืนยันว่า แม้จะมีการตั้งข้อสังเกตการทำงานของกปน. แต่ยืนยันว่าบัตรทุกใบไม่เป็นบัตรเสีย คะแนนเสียงไม่ตกน้ำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา หลังประชาชนพบความผิดพลาดหลายอย่างในการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า และแสดงความไม่พอใจ กกต. นายแสวง กล่าวว่า เป็นความรู้สึกของประชาชนที่มองเราแบบนั้น
เมื่อถามย้ำว่า กังวลหรือไม่ว่าจะมีคนนำความผิดพลาดนี้ไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะ นายแสวง กล่าวว่า ตนคะเนอย่างนั้นไม่ได้ แต่สั่งให้ ผอ.จังหวัด ทุกจังหวัดรายงานทุกเหตุการณ์ ทั้งการติดเอกสารผิด เอกสารผิด แต่ยืนยันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ สามารถเดินหน้าการเลือกตั้งต่อไปได้ ตนเข้าใจว่าเรื่องนี้ประชาชนมีความกังวล จึงจะประสานกับไปรษณีย์ และแจ้งให้ทราบต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อวยทักษิณชนะนายกอบจ.
"ภูมิธรรม" โว พท.ชนะนายก อบจ.อุดรฯ เป็นเรื่องธรรมดา เหตุ ปชช.ยังรัก “ทักษิณ” ชอบผลงานที่ทำมา
'อังกินันทน์' ชนะขาด! ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.เพชรบุรี'
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี (อย่างไม่เป็นทางการ) ณ เวลา 23.59 น. โดยนับครบแล้วทั้ง 734 หน่วยเลือกตั้ง
'ทักษิณ-พท.' อย่าเพิ่งตีปีก! ชั้น 14 ป.ป.ช. ใกล้งวด คดีครอบงำยิ่งชัด รอ กกต. เคาะ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า หน้าแตกกันไปตามๆ กัน เมื่อได้ทราบผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่รับวินิจฉัยคำร้อง
ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.อุดรธานี' อย่างไม่เป็นทางการ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี
ทักษิณรอดคลุมปี๊บ! ส้มเหลวปักธงอุดรธานี ‘คนคอน’ตบหน้า‘ปชป.’
เลือกตั้ง อบจ. 3 จังหวัด “เพชรบุรี-อุดรธานี-นครศรีธรรมราช” ราบรื่น
ปิดหีบศึกนายกฯ อบจ.3 จังหวัด ภาพรวมใช้สิทธิน้อย 3 ทุ่มรู้ผล
'เลขาฯ กกต.' เผย ภาพรวม เลือกตั้ง นายกฯ อบจ. 3 จังหวัด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย คาด รู้ผลไม่เป็นทางการ 3 ทุ่ม