ขีดเส้น 'นักเลือกตั้ง' นโยบายหาเสียง อย่าลากปัญหาใหม่ให้ประเทศ

แฟ้มภาพ

เปิดผลงานวิจัย เสียงสะท้อนคนใต้ เตือนนักการเมือง – พรรคการเมือง   ใช้นโยบายหาเสียง ต้องไม่สร้างปัญหาใหม่ให้กับประเทศ

30 เม.ย.2566 – ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนเมษายน 2566 (45.80)  ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 (45.10)  และเดือนกุมภาพันธ์ 2566 (44.80) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในครอบครัว  รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต  ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

 โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่  การเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์  โดยในปีนี้ได้มีการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของแต่ละพื้นที่ในการจัดงานเทศกาลสงกรานต์อย่างเต็มรูปแบบ ภายในงานมีการจัดกิจกรรม ต่าง ๆ เช่น การจัดแสดงดนตรี การเล่นน้ำสงกรานต์ และการจัดแสดงสินค้า  เป็นต้น  โดยเทศกาลสงกรานต์ปีนี้มีความคึกคัก และมีประชาชนเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยจำนวนมาก โดยมีการประเมินการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้มากถึง 2.3 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในเดือนเมษายนปี้นี้ นอกจากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสงกรานต์แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้การใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้น  อีกทั้ง สินค้าจำนวนหนึ่งมีการปรับราคาขึ้นในช่วงสงกรานต์นี้  โดยเฉพาะค่าอาหารต่าง ๆ ได้ปรับราคาสูงขึ้น โดยทางผู้ประกอบการให้เหตุผลว่า ราคาวัตถุดิบมีการขยับสูงขึ้นตามสภาพอากาศที่ร้อนจัด

เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดน้อยลง ทำให้ธุรกิจร้านอาหารมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่เพื่อเก็บวัตถุดิบต่าง ๆ เนื่องจากอากาศที่ร้อนมากในช่วงนี้  โดยประชาชนส่วนหนึ่งมองว่าช่วงเดือนเมษายนนี้ค่าครองชีพสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก  ในขณะที่รายได้ของประชาชนเท่าเดิม  ทั้งนี้ ประชาชนที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางจำเป็นต้องปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ รวมถึงมีความคาดหวังว่ารัฐบาลใหม่จะเข้ามาช่วยเพิ่มรายได้ และลดค่าใช้จ่ายของประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และไม่ก่อหนี้ครัวเรือนขึ้นอีก

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและความต้องการของประชาชนต่อนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม  มีดังนี้

1. ความต้องการของประชาชนต่อโนบายด้านพลังงาน   สืบเนื่องจากค่าพลังงานต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้  โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าของครัวเรือนในเดือนเมษายนนี้ มีการเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนเป็นอย่างมาก  และมีแนวโน้มที่ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต  ทั้งนี้ ประชาชนจึงมีความต้องการให้รัฐบาลใหม่ช่วยแก้ปัญหาพลังงานอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าในบ้านที่เพิ่มขึ้น  เช่น  การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนติดตั้งระบบไฟฟ้าบนหลังคาบ้าน (Solar Rooftop) เพื่อลดค่าไฟฟ้า และสามารถนำไฟฟ้าส่วนเกินขายคืนให้แก่ภาครัฐได้   อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่คาดหวังว่า รัฐบาลใหม่จำเป็นต้องเข้ามารีบแก้ไขค่าไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน  อาทิ  การลดค่าไฟฟ้า  การลดค่า FT และการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ประชาชน  เป็นต้น

 2. ความต้องการของประชาชนต่อนโยบายด้านคมนาคมขนส่ง เช่น การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล  รถขนส่งสินค้า และรถโดยสารสาธารณะ ฯลฯ  เพื่อลดการปล่อยมลพิษของยานพาหนะ  อีกทั้ง ปรับปรุงคุณภาพของรถโดยสารสาธารณะ และกำหนดค่าบริการที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ประชาชนที่มีรายได้ต่ำ และรายได้ปานกลางสามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้มากขึ้น

 3.  ความต้องการของประชาชต่อนโยบายด้านการเกษตร  เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ และปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง ทำให้พืชผลทางการเกษตรมีจำนวนน้อย ประกอบกับราคาปุ๋ย และวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้บางช่วง เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น  โดยต้องการให้มีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรที่ยั่งยืน และให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้  ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตร อีกทั้งช่วยประหยัดการใช้ทรัพยากร และช่วยลดปัญหาการสร้างก๊าซเรือนกระจก  นอกจากนี้ ควรปรับโครงสร้างหนี้  การให้สินเชื่อที่สอดคล้องกับศักยภาพ และกระแสรายได้ รวมถึงพฤติกรรมของเกษตรกร โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสินเชื่อเกษตรกรที่ครอบคลุมและทันสมัย

 4. ความต้องการของประชาชนต่อนโยบายด้านแรงงาน  โดยนโยบายด้านแรงงานของพรรคการเมืองส่วนใหญ่เน้นเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งแข่งขันกันว่าพรรคใดจะเสนอค่าจ้างขั้นต่ำได้สูงกว่ากัน  ทั้งนี้ ประชาชนมองว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำต้องสอดคล้องกับความสามารถของแรงงานในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจได้  โดยภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SME และธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงวิสาหกิจชุมชน ในการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เพื่อเพิ่มผลผลิต และลดความสูญเสียให้น้อยลง รวมถึงการส่งเสริมทางด้านการตลาด โดยเฉพาะการจัดจำหน่ายทั้งในประเทศ และการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ  อันจะทำให้ผลประกอบการของธุรกิจดีขึ้น จนสามารถนำส่วนต่างของผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นไปเพิ่มรายได้ให้กับแรงงานได้อย่างเหมาะสม

 นอกจากนี้ ประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ ควรพิจารณาการใช้งบประมาณของประเทศอย่างเหมาะสม  และควรกำหนดนโยบายที่สามารถทำได้จริง และสามารถทำได้ทันที ไม่ให้เป็นเพียงนโยบายเพื่อหาเสียงเท่านั้น  โดยประชาชนมีความคาดหวังว่า นโยบายในการหาเสียงของพรรคการเมืองต่าง ๆ เมื่อดำเนินการแล้วจะไม่สร้างปัญหาใหม่ให้กับประเทศ 

นอกจากนี้ ประชาชนมีความกังวลต่อนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน โดยมองว่าพรรคการเมืองหลายพรรคร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล และจะใช้นโยบายของพรรคใดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม  ทั้งนี้ ประชาชนคาดหวังว่า รัฐบาลใหม่จะนำนโยบายที่ให้ความสำคัญและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มากกว่ากลุ่มทุนและกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มพวกพ้อง และเครือญาติของนักการเมือง

ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 36.20 และ 36.70  ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 32.60 และ 37.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.80 33.40 และ 32.30 ตามลำดับ

สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ และต้องการให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ    1) การช่วยลดค่าไฟฟ้า และรักษาระดับราคาพลังงานต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม   2) การช่วยเหลือภาระหนี้สินแก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการขนาดเล็ก  3) การเพิ่มเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ   และ 4) การให้งบประมาณช่วยเหลือประชาชนในการนำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก้าวไกลเพ้อชนะยุบพรรค!

ใจดีสู้เสือ! "ชัยธวัช" เชื่อ "ก้าวไกล" มีโอกาสชนะสูง อ้างยิ่งศาล รธน.ปิดไต่สวน "คดียุบพรรค" ก็ยิ่งมั่นใจในคำแถลงปิดคดี ปลุกกองเชียร์ 7 ส.ค.

'ก้าวไกล' มองคดียุบพรรคไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้เตรียมพร้อมเป็นรัฐบาล เลือกตั้งครั้งหน้า

นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวเปิด 3 วิสัยทัศน์พัฒนาเชียงใหม่ พร้อมกับเปิดตัว นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ว่

เหนื่อยแน่! เพื่อไทย รับต้องปรับยุทธศาสตร์ หลังผลโพลตามหลังก้าวไกล

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลนิด้าโพลเปิดผลโพลในไตรมาส 2 ที่ ปรากฏว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ พรรค

‘พิธา’ แสลงหู ‘สว.สีส้ม’ ขออย่าป้ายสีเติมนามสกุลให้ใคร

‘พิธา’ ขออย่าป้ายสีเติมนามสกุลให้ใคร หลังเลือก สว. ผุดคำว่า ‘สว.สีส้ม’ เชื่อส้มในที่นี้คือ ‘จุดยืนประชาธิปไตย’ ย้ำหลักกฎหมายพรรคการเมืองเอี่ยวไม่ได้ มองจะได้สภาสูงที่มีคุณภาพ แม้ไม่ใช่เลือกตั้งทางตรง

'อนาคตไกล' ขยับเปิด 6 นโยบายบริหารพรรค หวังคว้าที่นั่งในสภา

นายภวัต เชี่ยวชาญเรือ โฆษกพรรคอนาคตไกล เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ค.2567 ตัวแทนผู้บริหารระดับสูงของพรรค นายภาณุวัฒน์ เอกพลกุล นายทะเบียนสมาชิกพรรคและคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย