'สุชาติ' เปิดนโยบาย 'คืน เพิ่ม สร้าง' เพื่อผู้ใช้แรงงาน ลั่น รทสช. พร้อมทำทันที

27 เม.ย.2566 - ที่พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) นายสุชาติ ชมกลิ่น รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ร่วมแถลงนโยบายของพรรค รทสช.เพื่อพี่น้องผู้ใช้แรงงาน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรครวมไทยสร้างชาติและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค เป็นประธาน พร้อมผู้บริหารและแกนนำพรรค รทสช.เข้าร่วม

นายสุชาติ กล่าวว่า สิ่งที่พรรค รทสช.จะทำเพื่อพี่น้องผู้ใช้แรงงานและพี่น้องประชาชนเมื่อกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งสิ่งที่พรรค รทสช.ซึ่งอยู่ในระบบประกันสังคมประมาณ 13 ล้านคน รวมทั้งแรงงานนอกระบบอีกประมาณ 21 ล้านคน เปิดเผยว่า พรรค รทสช.มีนโยบายเพื่อมุ่งสร้างรากฐานความมั่นคงให้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสิ่งที่พรรค รทสช.คิดไว้เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงให้แก่
พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ภายใต้นโยบาย “คืน เพิ่ม สร้าง” โดย คืน เงินชราภาพให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ซึ่งขณะนี้การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกา เข้าไปสู่สภาผู้แทนราษฎรแล้ว หากพรรค รทสช.ได้กลับเข้ามาเป็นรัฐบาล ก็สามารถขับเคลื่อนตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้บังคับได้ทันที ซึ่งในเรื่องนี้เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม 3 ขอ ขอเลือก ขอคืน ขอกู้ ที่พี่น้องผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคมแก้ไขกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากในช่วงโควิดที่ผ่านมาผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถมีเงินมาจับใช้จ่ายสอยได้ เมื่อเข้าแอพพลิเคชั่นก็มีแต่ตัวเลขแต่ไม่สามารถนำเงินออกมาใช้จ่ายได้ จนต้องหันไปกู้หนี้ยืมสินจากเงินนอกระบบ ซึ่งในเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีความห่วงใยและสั่งการให้ตนได้ไปดูแลในเรื่องนี้ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา 2 ปีในขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ตั้งคณะกรรมการ ทำประชาพิจารณ์เพื่อนำกฎหมายเข้าสู่คณะรัฐมนตรีพิจารณา

นายสุชาติ ยังกล่าวถึงนโยบายการ ‘เพิ่ม’ โดยจะเพิ่มเงินสงเคราะห์ให้แก่บุตรของผู้ประกันตนตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 10 ขวบ จากเดิมที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ ให้บุตรครอบครัวละไม่เกิน 3 คน คนละ 600 บาท และใช้สิทธิ์ส่วนนี้อยู่ประมาณ 1.3 ล้านคน และในช่วงโควิดได้ปรับเป็น 800 บาท และนโยบายของพรรค รทสช.จะปรับเป็น 1,000 บาท ซึ่งขณะนี้ได้ร่างรายละเอียดต่างๆ ไว้แล้ว และสามารถทำได้ทันที ซึ่งเงินในส่วนนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินแต่เป็นการใช้เงินกองทุนประกันสังคม ซึ่งพรรค รทสช.มีวินัยการเงินการคลัง คำนึงถึงสิ่งที่ทำได้ ทำจริง รวมทั้งเพิ่มเงินชราภาพ ให้แก่ผู้ประกันตนที่อายุ 55 ปี เป็น 10,000 บาท เพื่อให้ผู้ประกันตนที่เกษียณแล้วมีเงินใช้อย่างเพียงพอ

“สร้างโรงพยาบาลประกันสังคมเพื่อรักษาดูแลผู้ประกันตนกว่า 13 ล้านคน ยามเจ็บป่วย เป็นความภาคภูมิใจของผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งเร่งผลักดันกฎหมายร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ....เพื่อให้แรงงานนอกระบบและผู้ประกอบอาชีพอิสระ แม่ค้า พ่อค้า หาบเร่แผงลอย ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง แท็กซี่ ไรเดอร์ ได้เข้าสู่ระบบ มีประกันสังคมและความมั่นคงในชีวิต มีกองทุนเพื่อพี่น้องแรงงานนอกระบบในการส่งเสริมการประกอบอาชีพ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นนโยบายที่พรรค รทสช.ได้คิดไว้ทั้งหมดแล้ว เพื่อสร้างรากฐานความมั่นคงให้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ได้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” นายสุชาติ กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก้าวไกลเพ้อชนะยุบพรรค!

ใจดีสู้เสือ! "ชัยธวัช" เชื่อ "ก้าวไกล" มีโอกาสชนะสูง อ้างยิ่งศาล รธน.ปิดไต่สวน "คดียุบพรรค" ก็ยิ่งมั่นใจในคำแถลงปิดคดี ปลุกกองเชียร์ 7 ส.ค.

'ก้าวไกล' มองคดียุบพรรคไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้เตรียมพร้อมเป็นรัฐบาล เลือกตั้งครั้งหน้า

นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวเปิด 3 วิสัยทัศน์พัฒนาเชียงใหม่ พร้อมกับเปิดตัว นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ว่

รองโฆษก รทสช. ยกเหตุลอบสังหารทรัมป์ สิ่งที่สังคมไทยไม่ควรใช้เป็นแบบอย่าง

ผมขอประณามการใช้ความรุนแรง ในที่เพนซิวาเนีย ...ในฐานะคนที่อยู่อเมริกานานพอควร การใช้สิทธิเสรีภาพ เหนือร่างกายและชีวิตผู้อื่น จนมีผู้เสียชีวิตโดนลูกหลง1ราย เป็นสิ่งที่สังคมไทย ไม่ควรใช้เป็นแบบอย่าง

“สุชาติ” เผยผล เจรจา KTEPA ไทย – เกาหลีใต้ รอบแรก คาดเพิ่มตัวเลขส่งออกไทยไปเกาหลีใต้ สูงถึงร้อยละ 77 สองฝ่าย ย้ำความตั้งใจสรุปผลได้ภายในปี 2568

รมช.พณ.สุชาติ เผยผลการประชุมระหว่างไทยและสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ที่เริ่มประชุมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA)