นิด้าโพล ชี้คนกรุงเลือก ‘พิธา’ เป็นนายกฯ

นิด้าโพลชี้คนกรุงเลือก ‘พิธา’ เป็นนายกฯ

26 มี.ค. 2566 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง คนกทม. เลือกพรรคไหนทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-21 มีนาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนกรุงเทพมหานครเลือกพรรคไหน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 25.08  ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 24.20 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3   ร้อยละ 18.24 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 5.96 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) อันดับ 5 ร้อยละ 5.68 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 5.20 ระบุว่า ยังหาคน ที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 7 ร้อยละ 4.84 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) อันดับ 8 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 2.00 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 10 ร้อยละ 1.64 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) อันดับ 11 ร้อยละ 1.56 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) และร้อยละ 3.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ  (พรรคพลังประชารัฐ) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคพลังประชารัฐ) นายรังสิมันต์ โรม (พรรคก้าวไกล) นายวิกรม กรมดิษฐ์ และนายสกลธี ภัททิยกุล (พรรคพลังประชารัฐ) 

เมื่อพิจารณาบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครอง
ของกรุงเทพมหานครพบว่า

1. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 27.50 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 22.14 ระบุว่าเป็น  พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 3 ร้อยละ 21.07 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 4 ร้อยละ 7.86 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) และอันดับ 5 ร้อยละ 5.36 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์  (พรรคไทยสร้างไทย) 

2. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 23.72 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 23.49 ระบุว่าเป็น            น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 19.30 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 5.81 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์      (พรรคไทยสร้างไทย)

3. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 29.16 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 24.43 ระบุว่าเป็น       น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 18.89 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.60 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 3.49 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)

4. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 24.52 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 22.61 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 19.35 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.47 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 6.71 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 27.09 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 19.60   ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 16.43 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.20 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 5 ร้อยละ 6.34 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

6. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 27.65 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 23.96 ระบุว่าเป็น  น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 14.06 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.68 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 5 ร้อยละ 5.53 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) 

สำหรับพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 34.92 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 27.72 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.32 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.76 ระบุว่าเป็น  พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.32 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า อันดับ 6 ร้อยละ 2.96 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.48 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.16 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 9 ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 10 ร้อยละ 1.48 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย และร้อยละ 2.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคไทยภักดี พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคสร้างอนาคตไทย   พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเทิดไท พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ และพรรคเศรษฐกิจไทย

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขต
การปกครองของกรุงเทพมหานครพบว่า

1. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 30.00 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 2 ร้อยละ 26.07 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 18.21 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.78 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และอันดับ 5 ร้อยละ 5.36 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 

2. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 35.12 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 25.58 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 13.02 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 10.70 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 2.79 ระบุว่าเป็น  พรรคพลังประชารัฐ และยังไม่ตัดสินใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน

3. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 36.96 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 28.95 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.99 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 4.31 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย และอันดับ 5 ร้อยละ 3.70 ระบุว่าเป็น  พรรคประชาธิปัตย์

4. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 36.59 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 27.39 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 16.28 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 5.17 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 3.07 ระบุว่าเป็น          พรรคเสรีรวมไทย

5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 35.74 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 23.34 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.12 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 4.90 ระบุว่าเป็น          พรรคไทยสร้างไทย

6. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 35.48 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 30.88 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 10.14 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 9.68 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 4.15 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

ด้านพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 34.40 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 28.76 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.68 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.08 ระบุว่าเป็น        พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.48 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า อันดับ 6 ร้อยละ 3.04 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.60 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.08 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 9 ร้อยละ 1.44 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 10  ร้อยละ 1.28 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 2.16 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเพื่อชาติ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคเทิดไท และพรรคประชาชาติ

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขต
การปกครองของกรุงเทพมหานครพบว่า

1. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 30.71 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 2 ร้อยละ 26.07 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 18.57 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.79 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และอันดับ 5 ร้อยละ 5.36 ระบุว่าเป็น       พรรคประชาธิปัตย์ 

2. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 34.65 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 26.51 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 13.49 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 10.24 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 2.09 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน

3. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 38.19 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 29.57 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.37 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 3.29 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคไทยสร้างไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 5 ร้อยละ 2.87 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

4. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 34.29 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 29.88 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 16.86 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 3.83 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 3.26 ระบุว่าเป็นพรรคเสรีรวมไทย

5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 35.16 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 23.05 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3  ร้อยละ 14.41 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 5.19 ระบุว่าเป็น  พรรคไทยสร้างไทย

6. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 34.79 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 32.03 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 11.29 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 8.30 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 3.92 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป.ป.ช. ชง ครม.ตรวจสอบโครงการเช่ารถเก็บขยะพลังงานไฟฟ้า กทม. พบเสี่ยงทุจริต

พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ลงนามในหนังสือที่ ปช. 0008/0114 เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2567 ส่งถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่องข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตการดำเนินโครงการเช่ารถเก็บขนมูลฝอยของ

เหนื่อยแน่! เพื่อไทย รับต้องปรับยุทธศาสตร์ หลังผลโพลตามหลังก้าวไกล

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลนิด้าโพลเปิดผลโพลในไตรมาส 2 ที่ ปรากฏว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ พรรค

น้องหมาน้องแมวจร จากสิ้นหวังสู่'บ้านใหม่'

ทาสหมาทาสแมวที่อยากรับหมาแมวจรไปเลี้ยงมอบความรักความอบอุ่น ช่วยเพื่อนสี่ขาได้มีบ้านหลังใหม่เป็นหลังสุดท้ายของชีวิต ตอนนี้ศูนย์ควบคุมสุนัขกรุงเทพมหานคร (ประเวศ) เปิดโอกาสให้คนกรุงที่สนใจสามารถเข้ามาเล่น ใช้เวลาอยู่ด้วยกันกับเหล่าหมาแมวจร ทดสอบว่าจะปิ๊งปั๊งหรือเคมีตรงกัน  จนตกลงปลงใจพาเข้าบ้าน

ดัชนีการเมืองไทยร่วง! ปากท้องฉุดเรตติ้งรัฐบาล 'เศรษฐา' ตามหลัง 'พิธา'

วนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,367 คน

'พิธา' รับบทเอฟซี 'ลิซ่า' ยกเป็นผู้ทำคุณูปการให้ชาติ อัด 'ซอฟต์พาวเวอร์' ไม่ใช่การยัดเยียด

'พิธา' รับบทเอฟซีภูมิใจ 'ลิซ่า' ปล่อย MV บอก 'ทำเกิน' ไม่ใช่แค่ทำถึง ยกเป็นผู้ทำคุณูปการให้ชาติ ย้ำ 'ซอฟต์พาวเวอร์' ไม่ใช่การยัดเยียด-ประดิษฐ์ประดอย