ซูเปอร์โพล ประเมินความเสี่ยงผลการเลือกตั้งที่อาจมีโอกาสพลิกผัน

19 มี.ค. 2566 – สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ประเมินความเสี่ยง ความล้มเหลวการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,061 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15 – 18 มีนาคม พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.7 ยังคงสนับสนุนรัฐบาลทำงานต่อ ในขณะที่ร้อยละ 34.2 ขออยู่ตรงกลาง พลังเงียบ และร้อยละ 28.1 ไม่สนับสนุนรัฐบาล

ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะกาบัตรให้แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนใด (ถ้าเลือกได้) พบ 5 อันดับแรก ได้แก่ ร้อยละ 39.0 ระบุ บัตร อุ๊งอิ๊ง (เพื่อไทย) ร้อยละ 21.9 ระบุบัตรอนุทิน (ภูมิใจไทย) ร้อยละ 13.9 ระบุ บัตรจุรินทร์ (ประชาธิปัตย์) ร้อยละ 13.2 ระบุ บัตรลุงตู่ (รวมไทยสร้างชาติ) และร้อยละ 2.6 ระบุบัตรลุงป้อม (พลังประชารัฐ) ตามลำดับ

นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงการเมือง กับ กระแส ส.ส.ย้ายออกจากพรรค (โอกาสพลิกผัน) พบว่า ร้อยละ 57.4 เสี่ยงน้อยถึงไม่กระทบเลย ในขณะที่ ร้อยละ 24.5 กระทบปานกลาง และร้อยละ 18.1 เสี่ยงมาก ถึง มากที่สุด

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงการเมืองกับกระแส ส.ส.ย้ายออกจากพรรค (โอกาสพลิกผัน) กับ ความตั้งใจจะกาบัตรเลือกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ถ้าเลือกได้ พบว่า บัตรลุงตู่ (รวมไทยสร้างชาติ) มีความเสี่ยงมากที่สุดคือร้อยละ 27.1 บัตรอุ๊งอิ๊ง (เพื่อไทย) มีความเสี่ยงสูงรองลงมาคือร้อยละ 22.2 บัตรอนุทิน (ภูมิใจไทย) มีความเสี่ยงร้อยละ 18.2 บัตรจุรินทร์ (ประชาธิปัตย์) มีความเสี่ยงร้อยละ 12.9 และบัตรลุงป้อม (พลังประชารัฐ) มีความเสี่ยงร้อยละ 3.6 ตามลำดับ

รายงานของสำนักวิจัยซูเปอร์โพล ระบุว่า ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงความล้มเหลวการเมืองในผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า โอกาสพลิกผันทางการเมืองยังคงมีอยู่ที่จะทำให้อันดับผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงได้โดยเฉพาะต่อ พรรครวมไทยสร้างชาติที่ชู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในปัจจุบันนี้และนางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ที่มีความเสี่ยงสูงอาจเกิดโอกาสพลิกผันเปลี่ยนใจของประชาชนผู้ตั้งใจจะเลือกได้ นี่คือความรู้สึก (Sentiment) ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอันน่าจะมีปัจจัยสำคัญมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลอื่น ๆ ประกอบและพบสาเหตุที่เป็นไปได้บางประการได้แก่

ประการแรก ความเป็นสถาบันการเมืองการไม่เป็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งใหม่จนกล่าวกันว่าเป็นพรรคเฉพาะกิจ ไม่ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อหวังเป้าหมายทางการเมืองอะไรบางอย่าง ความมีหลักการอุดมการณ์ทางการเมืองที่ยาวนาน และผลงานการประกันรายได้เกษตรกรพืชเศรษฐกิจน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ความตั้งใจจะเลือกบัตรจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ จากพรรคประชาธิปัตย์มีความเสี่ยงต่ำต่อการตัดสินใจของแฟนคลับพรรคประชาธิปัตย์ในการตั้งใจจะกาบัตรจุรินทร์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

ถ้าเลือกได้ ประการที่สอง ความเป็นอนุรักษ์นิยมที่ประชาชนต้องการให้กลับไปสู่วิถีชีวิตแบบเดิมปรากฏในนโยบายกัญชาของพรรคภูมิใจไทยอันเป็นวิถีชีวิตของประชาชนชาวบ้านในการใช้กัญชาเพื่อเหตุผลทางการแพทย์พื้นบ้าน หมอชาวบ้านในสมัยดั้งเดิมและผลงานของพรรคภูมิใจไทยด้านสุขภาพและดูแลสวัสดิการของบุคลากรทางการแพทย์ เช่น อสม. การเป็นที่ยอมรับของนานาชาติทั่วโลกต่อผลงานฝ่าวิกฤตโควิด น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้มีความเสี่ยงต่ำเช่นกัน ส่วนการทำลายพรรคภูมิใจไทยจากกระแสไม่น่ามีผลเท่าการมุ่งจะฆ่ากันเองของผู้มีอำนาจ

รายงานของซูเปอร์โพลระบุด้วยว่า การวิเคราะห์ความเสี่ยงครั้งนี้มาจากความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงความล้มเหลวการเมืองของพรรคการเมืองและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีอาจจะพลิกผันด้วยเหตุผลอื่นได้ เช่น การใช้กฎหมายเพื่อรวบหัวรวบหาง กินปลาทั้งบ่อ จัดการกับพรรคการเมืองที่แย่งปลาในบ่อเดียวกัน เมื่อจัดการพรรคการเมืองที่แย่งปลาในบ่อเดียวกันได้ตัวเลือกตัวหารน้อยลงก็จะเข้าสู่เป้าหมายทางการเมืองของบางคนได้ เพราะกลยุทธ์ชนะการเลือกตั้ง กับ เป้าหมายการจัดตั้งรัฐบาลและการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอาจจะเป็นคนละส่วนกัน ผู้ชนะการเลือกตั้งอาจจะไม่บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งรัฐบาลและไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ดังนั้น ถ้าห่ำหั่นฆ่ากันเองเพื่อแย่งปลาในบ่อเดียวกัน ก็อาจจะพังกันไปทั้งแถบ แต่ถ้าตกลงกันได้เพื่อให้ทุกอย่างขับเคลื่อนเดินหน้าถึงเป้าหมายแบบเป็นมาอย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้น (Status Quo) หมายถึงพรรคร่วมรัฐบาลยังสามารถรวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาลแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ได้เหมือนเดิมเพราะคะแนนวันนี้ของฝั่งรัฐบาลรวมกันแล้วจะพบว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่ชนะแบบแลนด์สไลด์ การเจรจาตกลงกันได้ในกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อก้าวข้ามความขัดแย้งแท้จริงจึงเป็นแนวทางที่น่าพิจารณาเพราะต่าง ๆ ฝ่ายต่างมีศักยภาพคงไม่มีใครยอมตกเป็นเป้านิ่งให้ถูกกระทำเพียงฝ่ายเดียว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ธัญพร’ ล้มแชมป์คว้าเก้าอี้นายก อบจ.สุรินทร์

การเลือกตั้ง นายก อบจ.สุรินทร์ แทนตำแหน่งที่ว่างลง หลังจากที่ นายพรชัย มุ่งเจริญพร ลาออกจากตำแหน่งก่อนหมดวาระ 3 เดือน ในวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

สรุปผลเลือกตั้ง นายกอบจ.ราชบุรี กำนันตุ้ย 242,297 คะแนน ชนะเด็กส้ม 175,353 คะแนน

ผลการนับคะแนนเลือกตั้ง (อย่างไม่เป็นทางการ) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี (กรณีผู้บริหารพ้นจากตำแหน่ง) วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2567

ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา