การเผาไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศของเรา แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นการพูดคุยกับประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นอีกเรื่องสำคัญ ที่ได้ประสานงานกับหน่วยงานระดับนานาชาติ โดยมีกระทรวงการต่างประเทศ ช่วยกำกับดูแล ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน
14 มี.ค.2566- นายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ร่วม ตอบสดบนเวที #ประชันนโยบาย ในงาน “มติชน : เลือกตั้ง’66 บทใหม่ประเทศไทย” ร่วม “ย้ำจุดยืน ชูจุดขาย ประกาศจุดแข็ง” เรื่อง ปัญหาPM2.5 เป็นปัญหาใหญ่และลึกมากขนาดไหน?
นายวราวุธ กล่าวว่า PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 70 มาจากท้องถนน จึงมีความจำเป็นที่ต้องออกมาตรการและบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวด โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา อย่างเช่นในช่วงที่มี PM2.5 มาก ในส่วนของกรุงเทพมหานคร สามารถขอความร่วมมือให้ Work from home ได้ หรือการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในการใช้รถบนท้องถนน
ส่วน PM2.5 ในต่างจังหวัด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือในป่าอนุรักษ์ และอุทยานแห่งชาติ ที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศปิดไปแล้ว อีกสองส่วน คือ เรื่องของไฟป่า ที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงมหาดไทย ที่ต้องทำตามภารกิจ และสามพื้นที่การเกษตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพูดคุยกับเกษตรกรว่า ที่เผาทุกวันนี้เกษตรกรกำลังฆ่าตัวตายอยู่ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่างต้องทำหน้าที่ของตน เพราะเวลา PM2.5 ปกคลุม ไม่ได้เลือกว่าจะไปภาครัฐบาล หรือฝ่ายค้าน หรือพี่น้องประชาชน แต่ทุกคนโดนเหมือนกันหมด
นายวราวุธ กล่าวต่อว่า การเผาไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศของเรา แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นการพูดคุยกับประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นอีกเรื่องสำคัญ ที่ได้ประสานงานกับหน่วยงานระดับนานาชาติ โดยมีกระทรวงการต่างประเทศ ช่วยกำกับดูแล ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน
และพรรคการเมืองต้องมีนโยบายที่ชัดเจน อย่างพรรคชาติไทยพัฒนาของเราจุดแข็งของนโยบายคือต้องสามารถแก้ปัญหาวันนี้และแก้ปัญหาในอนาคตไปได้พร้อมกัน ต้องแก้นโยบายตั้งแต่ระดับรากหญ้าไปจนถึงระดับประเทศ เรานำเสนอเกี่ยวกับ Asia Pacific Regional Carbon Credit Center ที่จะเป็นศูนย์กลางที่สามารถ วัด ซื้อ ขาย พัฒนาทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องคาร์บอนเครดิต
ซึ่งจะสอดคล้องกับ WOW Thailand ของพรรคชาติไทยพัฒนา คือ W แรกคือ Wealth ความมั่งคั่ง การเกิด Asia Pacific Regional Carbon Credit Center จะทำให้เกิดรายได้กับพี่น้องประชาชน พี่น้องเกษตรกร ทั้งยังเพิ่มมูลค่าสินค้าในการผลิต และทำให้ภาคธุรกิจมีแต้มต่อในเวทีระดับโลก ระดับนานาชาติ ซึ่งในอนาคตกำแพงภาษีด้านสิ่งแวดล้อมกำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลก และถ้าเราดำเนินการเช่นนี้ก็จะเกิดความน่าเชื่อถือของภาครัฐในสายตานานาชาติ
O คือ Opportunity โอกาส จะเกิดการลงทุนทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ เพราะตรงนี้จะเป็นศูนย์กลางของการเดินหน้าด้านคาร์บอนเครดิตในระดับสากล นอกจากนี้ลูกหลานของเกษตรกรจะเห็นแนวทางใหม่ในการเกษตร และจะกลับมาพัฒนาการเกษตรต่อไป
W ตัวสุดท้ายคือ Welfare คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพื่อทุกคน การมีคาร์บอนเครดิต จะทำให้ PM2.5 ในภาคการเกษตรหายไป อากาศก็จะดีขึ้น ภาคการเกษตรจะเป็นการเกษตรอย่างยั่งยืน และจะเกิดการแข่งขันที่ยุติธรรมมากขึ้นบนเวทีนานาชาติ
พรรคชาติไทยพัฒนา ขอยืนยันว่า แนวคิดพวกนี้ไม่ได้ไกลตัว แต่มันเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทยใน 6 จังหวัด สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ชาวนาได้รายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต ไร่ละ 500 บาท ต่อปี ประเทศไทยมีที่นากว่า 60 ล้านไร่ ถ้าได้ไร่ละ 500 บาท คิดเป็นเงินเกือบ 30,000 ล้านบาท ที่จะมาอยู่ในมือของชาวนา ไม่ใช่ในมือนายทุน
นายวราวุธ กล่าวปิดท้ายว่า นโยบายที่ดี ไม่ได้ดูแลแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แนวนโยบายที่ดีต้องสามารถดูแลได้ตั้งแต่คนตัวเล็ก อุ้มขึ้นมาให้ก้าวทันระดับนานาชาติ ดูแลคนในระดับภาคธุรกิจให้สามารถทำงานทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ได้ เป็นนโยบายที่พลิกโฉมประเทศไทย ให้ไปยืนอยู่ท่ามกลางนานาอารยประเทศโดยไม่อายใคร พรรคเราไปยืนอยู่บนเวทีโลกมาแล้ว ประเทศไทยของเรามีดีมากกว่าแค่พูด เราทำในสิ่งที่เราได้สัญญาเอาไว้ และเรากำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าของประเทศไทย ให้ประเทศอื่น ๆ เห็น “เราทำมาแล้ว และเราขออาสาทำต่อ”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
PM2.5 มาแล้ว พบ ‘กทม.’ ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ พบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ
'วราวุธ' ยัน 'แก้ รธน.' ยังเป็นเรื่องด่วนของรัฐบาล
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหั
'วราวุธ' ย้ำจุดยืน ไม่แตะ 'ม.112' แม้จะมี ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ หลายฉบับ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหั