'กิตติพันธ์'เผยพิพิธภัณฑ์พระเมรุมาศ ร.9 คืบหน้ากว่า 30% มั่นใจเสร็จตามกำหนดปี 66 ก่อนออกแบบตกแต่งภายใน-จัดแสดงนิทรรศการรวมองค์ความรู้การก่อสร้าง-สถาปัตยกรรม-ศิลปกรรม แสดงความยิ่งใหญ่งานช่างไทย
28 ม.ค.2565 - นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพื้นที่ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ล่าสุด ได้มีการตรวจรับงานก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ งวดที่ 11 และ 12 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 ซึ่งมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า ๓๐% คาดว่าจะแล้วเสร็จได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในปี 2566
เมื่อการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จจึงจะเข้าสู่ขั้นตอนงานด้านการออกแบบและตกแต่งภายใน รวมถึงการจัดแสดงนิทรรศการเพื่อรวบรวมองค์ความรู้โบราณราชประเพณีเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมศพ พระศพ และองค์ความรู้ในการก่อสร้างพระเมรุมาศ ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา คติความเชื่อ งานสถาปัตยกรรม งานศิลปกรรมด้านต่างๆ ตลอดจนขั้นตอนต่างๆ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้ประชาชนได้เห็นถึงความงดงามของรูปแบบศิลปกรรมไทย ประเพณี และศิลปกรรมในรัชกาลที่ 9 ที่มีเอกลักษณ์ แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของงานช่างฝีมือไทยทุกสาขาที่ร่วมมือกันสร้างสรรค์เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าของคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ก่อสร้างอาคารหลังใหม่อยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อจัดเก็บโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญของชาติ โดยออกแบบได้มาตรฐานถูกต้องตามหลักการอนุรักษ์ มีเทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัยต่อโบราณวัตถุที่ทันสมัย เป็นต้นแบบคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ได้มาตรฐานสากล
ขณะนี้เจ้าหน้าที่กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อยู่ระหว่างดำเนินการนำโบราณวัตถุจำนวนมากกว่า 93,000 รายการ ออกจากบรรจุภัณฑ์เดิม แล้วนำขึ้นจัดแสดงหรือจัดเก็บบนชั้นเหล็ก ตู้ลิ้นชักเหล็กภายในห้องคลังต่าง ๆ โดยจำแนกการจัดเก็บโบราณวัตถุแต่ละประเภทให้เป็นหมวดหมู่ตามวัสดุเป็นหลัก ได้แก่ คลังหินและปูนปั้น คลังดินเผา 1 และคลังดินเผา 2 คลังโลหะ 1 คลังโลหะ 2 และคลังโลหะ 3 คลังไม้ 1 และคลังไม้ 2 คลังหนังสัตว์ คลังผ้า กระดาษ กระดูก งาและเขาสัตว์ เพื่อเตรียมเปิดให้บริการคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอย่างเป็นทางการภายในปี 2565 โดยจะเป็นลักษณะการให้บริการเยี่ยมชมหรือเข้าศึกษาค้นคว้าโบราณวัตถุ ณ สถานที่ตั้งเท่านั้น ส่วนงานบริการสืบค้นฐานข้อมูลทะเบียนพร้อมภาพถ่ายโบราณวัตถุจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการแบบออนไลน์ในปี 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พระเจ้าตอง' กลับพะเยา หลังโดนขโมย 36 ปีก่อน ค้นพบที่สวิต กรมศิลป์พิสูจน์แล้วของจริง
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้ประสานงานและติดตามนำ “พระเจ้าตอง” กลับจังหวัดพะเยา รับส่งมอบพระเจ้าตอง จากนางสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ Night at The Museum
กลับมาอีกครั้งสำหรับบิ๊กอีเว้นท์ของคนรักพิพิธภัณฑ์ เมื่อกรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดจัดกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ในเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย
'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี
กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม
7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา