บรรพชาอุปสมบท-บวชชีพรหมโพธิ ปฏิบัติธรรมสังเวชนียสถาน ถวายเป็นพระราชกุศล

วธ.ร่วมกับวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จัดบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ เดินทางไปปฏิบัติธรรม - ศึกษาพุทธประวัติ ณ พุทธสังเวชนียสถานอินเดีย - เนปาล

18 ก.ค.2567- นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี คณะพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย - เนปาล และมูลนิธิพระธรรมวิทยากรไทยในแดนพุทธภูมิ จัดโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 30 กรกฎาคม 2567 รวมระยะเวลา 13 วัน ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จ.สมุทรปราการ วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร และพุทธสังเวชนียสถาน สาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรร เข้าร่วมพิธี ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จังหวัดสมุทรปราการ

รมว.วธ. กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าไตร สำหรับอุปัชฌาย์ จำนวน 1 ไตร และสำหรับผู้บรรพชาอุปสมบท จำนวน 73 ไตร และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ ถวายเป็นพระราชกุศลครั้งนี้ ไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการ ปฏิบัติงานและได้รับเงินเดือนตามปกติ ซึ่งโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิฯ ครั้งนี้ มีบุคลากรภาครัฐ ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน และประชาชนสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท จำนวน 73 คน บวชชีพรหมโพธิ จำนวน 73 คน และบวชเนกขัมมะ จำนวน 98 คน นอกจากนี้ มีผู้บวชสมทบในโครงการฯเพิ่มเติมอีกแบ่งเป็นบรรพชาอุปสมบทจำนวน 25 คน และบวชชี 34 คน รวมมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 303 คน

" โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนจากภาคส่วนต่างๆ ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันหลักของชาติ ตลอดจนให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันบำเพ็ญคุณงามความดี ถวายเป็นพระราชกุศลด้วยการปฏิบัติธรรมในพุทธสังเวชนียสถาน ที่สำคัญให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและศีลธรรม เพื่อนำหลักธรรมมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อธำรงรักษาและร่วมกันเผยแพร่พุทธศาสนา” รมว.วัฒนธรรม กล่าว

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยมงคล ขลิบผม และปฐมนิเทศ ตลอดจนซักซ้อมพิธีการ ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ในวันที่ 18 ก.ค. จากนั้นในวันที่ 19 ก.ค. จะมีการซ้อมขานนาค/ซ้อมบวชชีพรหมโพธิ และอบรมการรักษาศีล ณ วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย และวันที่ 20 กรกฎาคม จะมีพิธีมอบผ้าไตรพระราชทานแก่ผู้บรรพชาและมอบผ้าสไบ พร้อมเข็มที่ระลึกแก่ผู้บวชชีพรหมโพธิ ศีล 10 ณ ปริมณฑลต้นพระศรีมหาโพธิ์ และประกอบพิธีอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดไทยพุทธคยา จากนั้นระหว่างวันที่ 20 - 28 ก.ค. 2567 ผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท และบวชชีพรหมโพธิ จะปฏิบัติธรรม ฟังบรรยายธรรมะและศึกษาพุทธประวัติ ณ สังเวชนียสถาน และวันที่ 29 ก.ค.จะมีทำพิธีลาสิกขา/ลาศีล 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.จัดมหกรรม‘ปลาร้า หมอลำอีสาน’ ยกระดับวัฒนธรรมพื้นบ้านให้ดังก้องโลก

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท

สุดม่วน! วธ.จัด ‘หมอลำเฟสติวัลร้อยแก่นสารสินธุ์’ หนุนยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด Sustainable Brands (SB) Thailand และ บริษัท

พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่

เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1  โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ

ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม

โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List