เผยแพร่องค์ความรู้เกร็ดโขนผ่านศิลปะร่วมสมัยสู่สากล ‘ท่านผู้หญิงสิริกิติยา’ เป็นที่ปรึกษา

ถือเป็นครั้งแรกที่เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ”โขน” ศิลปะการแสดงชั้นสูง จะได้รับการถ่ายทอดผ่านงานศิลปะร่วมสมัยหลากหลายแขนงผ่านโครงการเผยแพร่องค์ความรู้เกร็ดโขนผ่านงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยสู่ระดับนานาชาติ พุทธศักราช 2566 “Miscellany of Khon Project”  เพื่อให้ชาวต่างประเทศได้ดื่มด่ำความงดงามของการแสดงโขนและรู้ซึ้งถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในโขนไทย ซึ่งยูเนสโกขึ้นบัญชีตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ

โครงการนี้เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กับมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน เป็นที่ปรึกษาและภัณฑารักษ์โครงการฯ และนายจิตติ ชมพี ทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการฯ  โดยจัดงานแถลงข่าว ณ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สำนักหอสมุดแห่งชาติ  ภายในงานมีการฉายตัวอย่างภาพยนตร์สารคดีสั้น “เกร็ดโขน” การแสดง School of Ganesh ด้วย

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า  โครงการเผยแพร่องค์ความรู้เกร็ดโขนผ่านงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยสู่ระดับนานาชาติพุทธศักราช 2566 อยู่ภายใต้ความร่วมมือหน่วยงานด้านวัฒธรรมการแสดงและศิลปะการออกแบบของรัฐบาล สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเมืองซานเตียโกเดกาลี สาธารณรัฐโคลอมเบีย ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐโคลัมเบียกำหนดจัดงาน Bienal International de Danza de Cali  ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. – 15 พ.ย. 2566  จึงจัดทำโครงการฯ ขึ้นร่วมกับนายจิตติ ชมพี ศิลปินร่วมสมัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยสร้างสรรค์ผลงานการแสดงรูปแบบร่วมสมัยที่พัฒนาจากพื้นฐานการแสดงดั้งเดิมร่วมกับนาฏศิลปินชาวไทย มีการเขียนบทความวิจัย การรวบรวมเนื้อหาที่ซ่อนเร้นในการแสดงโขน ที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางประเพณีและประวัติศาสตร์ มานำมาเสนอในประเด็นที่น่าสนใจ ด้วยรูปแบบของหนังสารคดีทั้งหกตอน หนังสือเกร็ดโขน การจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย การแสดงสดและสาธิตโขนในรูปแบบประเพณี โดย รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ ร่วมด้วยศิลปินจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รวมถึงการแสดงผลงานแบบร่วมสมัยควบคู่กัน ซึ่งจะทำให้ผู้ชมเข้าถึงสุนทรีย์ภาพการแสดงโขน

“ โครงการนี้จะส่งเสริมความเป็นไทยออกสู่สากล สร้างประสบการณ์ร่วมกับความเป็นไทยด้วยการชมโขน  กลุ่มเป้าหมายฝรั่งเศสและโคลอมเบียผ่านอำนาจละมุน หรือ Soft Power ในระดับประชาชน ชาวต่างชาติได้ประจักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยจากองค์ความรู้เรื่องโขนภายใต้กิจกรรมเกร็ดโขนมากมาย “ ปลัด วธ.กล่าว

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวถึงที่มาโครงการว่า ศิลปะการแสดงโขนมีความผูกพันกับศาสนา ความเชื่อ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์   จะทำให้ศิลปวัฒนธรรมมีความต่อเนื่อง ต้องทำให้สัมผัสได้และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป้าหมายของงานอยู่บนฐานคิดว่า ทำให้คนเข้าใจของยากจากของที่เข้าใจง่าย โดยทำงานร่วมกับนายจิตติ ชมพี ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาองค์ความรู้จากศิลปะการแสดงโขนและร่างกายศึกษา (Khon : Embodiment : Human Body, Knowledge Management) หรือ “เกร็ดโขน”  สร้างแพลตฟอร์มให้ศิลปินร่วมสมัยพูดคุยกับศิลปินกรมศิลปากร เช่น ครูมืด ประสาท ทองอร่าม ครูปกรณ์ พรพิสุทธิ์ สร้างความสัมพันธ์กันเพื่อให้ผลงานครบถ้วน ออกมาเป็นภาพยนตร์สารคดี Miscellany of Khon ทั้ง 6 ตอน ซึ่งมีการสร้างและถ่ายทำหนังตอนใหม่เรื่อง “บาก” ซึ่งจะฉายรอบปฐมทัศน์ในทวีปยุโรป ณ Mille Plateaux CCN La Rochelle ฝรั่งเศส

นอกจากนี้ จะมีการเปิดตัวหนังสือเกร็ดโขนที่ตนเองเขียนเป็นครั้งแรกทั้งที่ฝรั่งเศส และในงาน Bienal Internacional de Danza de Cali เมืองกาลี โคลอมเบีย อนาคตจะพัฒนาเป็น E-Book ต่อไป   สำหรับหนังตอนใหม่เรื่อง”บาก” ตนประทับใจมากที่สุด สื่อให้เห็นว่าจะเข้าใจโขนต้องเข้าใจดนตรี การพากย์ การร่ายรำ ความสัมพันธ์ของตัวละครโขน ชาวต่างชาติชมแล้วจะอึ้ง

“ นอกจากนำเสนอผ่านหนังสารคดี หนังสือ การแสดงโขน  นิทรรศการภาพถ่ายเกร็ดโขน  โครงการฯ ยังเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างองค์กรด้านศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมการสอนโขนให้เยาวชนฝรั่งเศส  นักเรียนการแสดงฝรั่งเศส เราจะส่งเสริมการทำงานร่วมกัน กระตุ้นให้คนฝรั่งเศสและอเมริกาใต้ออกแบบสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยในโครงการเกร็ดโขนด้วย “ ท่านผู้หญิงสิริกิติยา กล่าว

ด้าน นายจิตติ ชมพี ผู้อำนวยการโครงการ กล่าวว่า องค์ความรู้โขนมีมหาศาล เรานำมาย่อยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น เพื่อให้คนเข้าถึงแก่นสารและรากของวัฒนธรรมโขน โครงการฯ เปรียบเสมือนแพลตฟอร์มนำความรู้โขนสู่สังคม ทำให้เข้าใจความพิเศษของโขน และเหตุที่โขนไทยโกอินเตอร์ ตลอดจนนำองค์ความรู้และศักยภาพของศิลปินไทยเข้ามามีส่วนร่วม แม้นำเสนอแบบขนบแต่ย่อยให้ง่ายขึ้น เพื่อนำไปเผยแพร่ในต่างแดน นอกจากนี้ ตนร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการแสดงโขนกับศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร และ เทคนิคและองค์ความรู้ การออกแบบการแสดงร่วมสมัยในโครงการเกร็ดโขน ให้กับนักเรียนการแสดง ศิลปินมืออาชีพ และผู้สนใจ ที่ Mille Plateaux CCN La Rochelle ,Opéra de Limoges , Centre Jean Moulin  และ The Center for Dance and Choreography of the Valle del Cauca “La Licorera”

“ การสอนการแสดงโขนร่วมสมัยจะเปิดวิสัยทัศน์นักเรียนการแสดง นักเรียนดนตรี ได้เห็นการแสดงโขนที่สวยงาม เทคนิค ดนตรีในโขนที่หาชมได้ยาก โขนไม่มีคำว่า ล้าสมัย มีชีวิตตลอดเวลา   โครงการนี้เป็นสะพานเชื่อมศิลปวัฒนธรรมบนโลกใบนี้เข้าด้วยกัน  รวมถึงเชื่อมโยงศิลปะร่วมสมัยกับศิลปะไทยประเพณี   นอกจากนี้ ศิลปินไทยได้รับเชิญร่วมการแสดงร่วมสมัย School of Ganesh ที่ The Center for Dance and Choreography of the Valle del Cauca “La Licorera” ในงาน Bienal Internacional de Danza de Cali เมืองกาลี โคลอมเบีย ในวันที่ 10-11  พ.ย. 2566  “ นายจิตติ ย้ำพร้อมเผยแพร่สาสตร์โขนอวดสายตาชาวโลก ณ ฝรั่งเศสและโคลอมเบีย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่

เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1  โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ

ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม

โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List

แสดง'โขน-โนรา'สานสัมพันธ์ที่เขมร

25 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมาส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนและเวทีนานาชาติ

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์