‘นาค’มุมมองช่างภาพไทย หนุน Soft Power

ในโครงการประกวดภาพถ่าย “เรียงร้อยเรื่องราวนาคในคติศาสนา และวิถีชีวิต” มีช่างภาพกว่า 228 คน สนใจส่งผลงานเข้าประกวด จากภาพที่ส่งประชัน 855 ภาพ คณะกรรมการคัดเหลือ 24 ภาพที่ได้รับรางวัล เวทีนี้จัดโดยกรมการศาสนา (ศน.)  กระทรวงวัฒนธรรม

ที่มาที่ไปของการประกวดเพื่อให้เด็กไทย เยาวชน และประชาชน มีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิดผ่านการกดซัตเตอร์ที่สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับนาค ความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิต งานนี้ เป็นส่วนสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้ เรื่อง “นาค : ตำนานและความเชื่อในคติศาสนา” ให้ความสมบูรณ์ครบทุกมิติ อีกทั้งช่วยเผยแพร่ผลงานไทยสู่ระดับโลก ชูเรื่อง พญานาคมาเป็น Soft Power ดึงดูดนักท่องเที่ยว

ชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดี ศน.

นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า  ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดในหัวข้อ “นาคในคติศาสนา และวิถีชีวิต” เป็นภาพที่นำเสนอแนวคิดผ่านภาพถ่ายที่สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับนาคมีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิต สะท้อนถึงตำนานและความเชื่อมาแต่อดีต สื่อออกมาผ่านทางขนบธรรมเนียมประเพณี งานศิลปกรรมในแขนงต่างๆ ได้แก่ สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม คีตกรรม วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปวัฒนธรรม พิธีกรรมต่าง ๆ ในจังหวัดแนวแม่น้ำโขง เช่น จังหวัดหนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ นครพนม อุดรธานี สกลนคร เป็นต้น และจังหวัดอื่นที่มีนาคในศาสนสถานทั่วประเทศ

ผลงานที่คว้ารางวัลยึดหลักเกณฑ์การตัดสิน ได้แก่ ความสอดคล้องกับแนวคิดและหัวข้อการประกวดภาพถ่าย ความคิดสร้างสรรค์ ในการถ่ายภาพ เทคนิคในการถ่ายภาพ ความสวยงามของภาพและการจัดองค์ประกอบของภาพ โครงการประกวดภาพถ่ายครั้งนี้รวมเงินรางวัลกว่า 47,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากกรมการศาสนา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประกวดดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา เป็นคณะกรรมการตัดสิน 

ภาพถ่ายนาคหลายรูปแบบที่เกิดจากไอเดียของช่างภาพไทย ทั้งมุมมองนาคที่ปรากฎตามสถาปัตยกรรมวัดวาอาราม สตรีทอาร์ตนาคที่บรรจงวาดในชุมชนแดนอีสานที่มีวิถีวัฒนธรรมผูกพันกับนาค หรืองานบุญประเพณีที่สะท้อนความเชื่อเรื่องนาค    ผลการตัดสิน ปรากฏว่า นายอัครายชญ์ เพ็ชร์อำไพ คว้ารางวัลชนะเลิศจากภาพ “พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต “ ซึ่งถ่ายที่ อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ    ได้รับเงินสด 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากกรมการศาสนา

’เคียงคู่สู่ประตูธรรม’ รองชนะเลิศอันดับ 1

ส่วนนายวินนิวัตร ไตรตรงธนรัตน์ พาผลงานภาพถ่ายชื่อ  “เคียงคู่สู่ประตูธรรม” รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1  ได้เงินสด 7,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 2 รางวัล ได้รับเงินสด รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร  ได้แก่ นายนุกูล แก่นจันทร์ ชื่อภาพ “ ขอพรองค์พญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช” ถ่ายที่ จ.หนองคาย เป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องนาคและมีแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับนาค ส่วนนายธานี สุวรรณรัตน์ ส่งผลงานภาพสวยๆ ชื่อ “ บันไดสวรรค์”  ชนะใจกรรมการ นอกจากนี้ มีรางวัลชมเชยอีก 20 รางวัล รับเงินสด รางวัลละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

‘บันไดสวรรค์’ อีกมุมมองสวยๆ คว้ารางวัล 

สำหรับการประกวดภาพถ่ายดังกล่าว จัดขึ้นตามโครงการจารึกเส้นทางบุญในมิติทางศาสนา กิจกรรม “ตามรอยพญานาคเส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” โดย ศน.บูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น รวมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง นำอัตลักษณ์ วิถีชีวิตท้องถิ่นของคนลุ่มแม่น้ำโขงที่มีคติความเชื่อเรื่องพญานาค มาเป็น Soft Power ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เชื่อมต่อเส้นทางท่องเที่ยวในมิติศาสนาและวัฒนธรรม 5 จังหวัดภาคอีสาน  จ.นครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ หนองคาย และอุดรธานี

อธิบดี ศน. กล่าวในท้ายว่า กิจกรรมตามรอยพญานาคฯ ส่งเสริมให้ศาสนสถานเป็นแหล่งเรียนรู้ และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรมแบบบูรณาการ ภาพถ่ายทุกภาพที่ส่งเข้าประกวดมีคุณค่าและความหมาย สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับนาคกับวิถีชีวิตได้เป็นอย่างดี นาคซึ่งเป็นคติความเชื่อที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมและประเพณีของประชาชนชาวไทยอย่างแนบแน่น ถือเป็นพลวัตทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่มีศักยภาพสูง สามารถนำมาเป็น Soft Power และเป็นทุนทางวัฒนธรรมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในมิติศาสนาอย่างเป็นรูปธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 7 เดือน 7 ฉลองยิ่งใหญ่ 'แลนด์มาร์กพญานาค'

ครบ 8 ปีกำเนิดแลนด์มาร์กพญานาค จากพลังศรัทธาสู่เมืองท่องเที่ยวหลัก ถือฤกษ์บวงสรวงวันที่ 7 เดือน 7 ทุกปี พานบายศรีสูงสุดในประเทศ และนางรำ 9 ชนเผ่า 2 เชื้อชาติ

ศรัทธาพุทธศาสนาในเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์

เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 67 พรรษา วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดีถวายพระกุศล

เจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติกรมพระศรีสวางควัฒนฯ ที่วัดป่าบ้านตาด

28 มิ.ย.2567 ที่ศาลาใหญ่ วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พระราชวชิรธรรมาจารย์ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็

'ตักบาตรหาบจังหัน' วิถีงดงามบ้านหาดสองแคว

ประเพณีตักบาตรหาบจังหัน เป็นวัฒนธรรมประเพณีชาวบ้านหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์ หรือชาวไทยเชื้อสายลาวเวียงที่อาศัยอยู่ในหาดสองแคว ที่พบเห็นได้ยามเช้าของทุกวันที่ชาวบ้านออกมารอใส่บาตรพระ ด้วยชุมชนแห่งนี้ผูกพันกับวัด คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติและสืบทอดกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น 

ทึ่ง! พระปิ๊งไอเดียใช้ยางรถยนต์ มุงหลังคาแทนกระเบื้อง ลวดลายพญานาค

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่วัดถ้ำศรีพรหม บ้านโนนสา ต.ท่าดอกคำ อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ หลังมีผู้ใช้ TikTok โพสต์คลิปเรื่องราวของวัดที่ใช้ยางรถยนต์เก่ามามุงหลังคาแทนกระเบื้องและสังกะสี โดยวัดถ้ำศรีพรหม ตั้งอยู่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เป็นสถานที่แห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม

ตั้ง4คณะอนุกรรมการ เร่งทำข้อมูลเสนอ'ครูบาศรีวิชัย'ต่อยูเนสโก

18 มิ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า  ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการเสนอวาระครบรอบ 150 ปี ชาตกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย เพื่อให้องค์การยูเนสโกรับรองและร่วมเฉลิมฉลอง ครั้งที่ 1/2567