'THE MESSAGE IS THE MESSAGE'โชว์เดี่ยวศิลปินระดับโลก

วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี เปิดตัวนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “THE MESSAGE IS THE MESSAGE” นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในประเทศไทยของคาเมรอน แพลตเตอร์ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงระดับโลกจากประเทศอาฟริกาใต้  ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23 กันยายน - 18 พฤศจิกายน 2564 โดยนำเสนอศิลปะ แบบจัดวางที่ประกอบด้วยผลงานจิตรกรรมและประติมากรรม

เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของหอศิลป์ ในการเป็นพื้นที่ที่สื่อสารปัญหาสังคมผ่านงานศิลปะ  โดยในปี 2564 และ 2565  หอศิลป์เน้นเฉพาะการสื่อสารด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม  นิทรรศการครั้งนี้ ชูประเด็น ‘ขยะ’ ซึ่งเป็นประเด็นที่แพลตเตอร์ให้ความสนใจตลอดมา  ทั้งนี้ ศิลปินไม่ได้พูดถึงปัญหาขยะแบบผิวเผินเท่านั้น แต่เขาลงลึกไปยังแนวคิด ที่ทับถมกันอย่างสลับซ้ำซ้อน และสื่อสารถึงขยะอย่างมีชั้นเชิง

ในความคิดของเขา  ขยะเป็นประเด็นที่กว้างและครอบคลุมระบบนิเวศ อาทิ การเสื่อมโทรม ของสิ่งแวดล้อม การกลายพันธุ์ และมลพิษ  ยิ่งไปกว่านั้น ขยะยังเปรียบเสมือนซากปรักหักพัง ของสังคม สะท้อนให้เห็นถึง พฤติกรรมของมนุษย์ที่ปฏิบัติกันมานานอย่างเคยชิน ผู้คนนอนดูซีรีย์ Netflix อยู่ในบ้านอย่างสบายใจ ในขณะที่โลกภายนอกนั้นเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรม การบริโภคเกินจำเป็น การเปลี่ยนแปลงระดับพันธุกรรม สารพลาสติก โรคมะเร็ง  ขยะปนเปื้อน พฤติกรรมการใช้แล้วทิ้งอย่างสุดโต่ง อาหารจานด่วน เงินด่วน ข่าวปลอม รวมถึงระบบทุนนิยม ที่กำลังจะพังทลาย ‘ขยะ’ คือสัญลักษณ์ของปีศาจร้ายในทุกรูปแบบ ที่กำลังคืบคลานและกัดกินโลกใบนี้

ลายเส้นของจระเข้ที่อยู่บนผนังอิฐ กุ้งที่แกว่งไปมาในแก้วมาร์ตินี่ แมวดำ และภาพปลาที่ยกมาจาก เว็บไซต์ Shutterstock คือตัวละครหลักในภาพวาดของเขา สีที่แสบสัน จัดจ้าน แหลมคม และดูมีความเป็นพิษ ชวนให้เรางงงวย   ชื่อผลงาน ‘Life’, ‘Exodus’, ‘Casino’ ปรากฏขึ้นราวกับป้ายนีออน ที่กำลังสาดแสงใส่ผู้ชม  การติดตั้งชิ้นงานที่ชวนคิด พาให้รู้สึกหลอนราวกับเสพย์สิ่งมึนเมา ภายในห้องแสดงงานกำแพงสีสด มีเก้าอี้ไม้แกะสลักที่ดูเหมือนเก้าอี้พลาสติกกระจัดกระจายอยู่ทั่ว การจัดวางผลงานภาพวาดบนผนัง นอกจะเหมือนฉากหลังของแท่นบูชาในโบสถ์ และก็ยังเหมือนเมนู ในร้านอาหารฟาสต์ฟูดเช่นกัน  เมื่อเข้ามานั่งชมงาน ในนิทรรศการ ผู้ชมจะกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของงานและมีบทบาทอยู่ในวิหารแห่งผู้บริโภค นิทรรศการนี้ไม่ได้เป็น เพียงแค่การแสดงผลงานให้ชมเท่านั้น  แต่เป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้ชม กล่าวคือแพลตเตอร์ ทำให้เรา อยู่ในโลกที่สรรพสิ่ง อยู่ร่วมกัน และยอมรับซึ่งกันและกันอย่างไม่มีข้อกังขา แม้จะเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง


งานของแพลตเตอร์ มักจะสร้างแรงกระเพื่อมได้อย่างดี และครั้งนี้ก็เช่นกัน ผลงานของเขามีพลังรุนแรงที่จะปลุก ให้เราตื่นจากความเฉื่อยชา เมื่อผู้ชมก้าวผ่านการปลุกเร้าเมื่อเห็นผลงานในแวบแรกงานของแพลตเตอร์ เปิดประตูอันซับซ้อนที่ทำให้ผู้ชมสะท้อนความคิดและความรู้สึกในหลายแง่มุม ซึ่งเป็นไปได้ทั้งในรูปแบบสุขนาฏกรรม ไปจนถึงโศกนาฏกรรม

การสื่อสารในแบบของแพลตเตอร์ไม่ใช่การสื่อสารแบบเส้นตรง  เขาสร้างโลกที่ไม่พึงปรารถนาที่มีความโกลาหล โดยปฎิเสธปรัญชาของ Cartesian ที่เชื่อว่าจิตนั้นแยกกับร่างกายและโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง  แพลตเตอร์สนับสนุนแนวความคิดที่ว่า ตัวตนของมนุษย์เป็นองค์รวมหนึ่งเดียวไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ได้  และสามารถสร้างความตระหนักรู้ได้ด้วยตนเองด้วยธรรมชาติของสมองซึ่งอนุมานและคาดคะเนข้อมูลต่างๆ ตลอดเวลา ผลงานของแพลตเตอร์ทำให้จิตยุ่งเหยิงและนำไปสู่การสูญสิ้นตัวตนในเชิงปรากฏการณ์วิทยา

แพลตเตอร์ เล่นกับความจริงที่คนทั่วไปคิดว่าเป็นสิ่งแน่นอนไม่อาจโต้แย้งได้ เขากำลังสับไพ่หลอก ฉีกมันออก เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และโปรยให้กระจัดกระจายไปทั่ว เขาหัวเราะ และส่งรอยยิ้ม แบบโจ๊กเกอร์มาที่เรา ชวนให้ หวาดผวาและหมุนวนอย่างไร้ทิศทางราวกับอยู่ในเครื่องปั่น หลังจากที่ผู้ชมกลับมาจากการเดินทางด้านความรู้สึกครั้งนี้ ทุกอย่างจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สิ่งที่ดูเรียบง่ายเผยถึงความลุ่มลึกซึ่งหยั่งรากไปถึงแกนกลางของโลกที่มีหินหลอมเหลวที่ทั้งน่ากลัวและชวนให้หวาดผวา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือสัจธรรมของชีวิต  สิ่งนี้เปรียบเปรยให้เห็นว่าความ แน่นอนคือความไม่แน่นอน งานของแพลตเตอร์มีความซับซ้อนหลายชั้น หลากมิติ หลากวัสดุ และหลากแนวคิดคุณเห็นอะไร คุณก็จะได้รับสิ่งนั้น “The Message is the Message” ที่ไม่ใช่เพียงแค่ข้อความที่อ่านได้ด้วยตาเท่านั้น

ตั้งแต่สมัยอดีตกาลมนุษย์มีความพยายามในการเสาะหาความหมาย และคิดเข้าข้างตัวเองว่าเราสามารถตีความทุกสิ่ง  สร้างความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์  และสร้างคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า ศิลปินเชื่อว่าทั้งหมดนี้ได้ถูกเปิดเผยแล้ว  แพลตเตอร์นำเสนอความจริงอันซับซ้อนที่ไม่มีคำอธิบายตายตัว อาทิ เช่น การอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรมชั้นสูงและวัฒนธรรมสมัยนิยม   โศกนาฏกรรมและสุขนาฏกรรม รวมถึงการเยาะเย้ยถากถาง และการเสียดสี ทั้งหมดล้วน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เข้มข้นรุนแรง สิ่งที่เราเสพย์ติดและหลงใหลในชีวิต ก็เหมือนกับการเล่นการพนันในบ่อนคาสิโน เหมือนการว่ายวนอยู่ในบ่อน้ำกรด

ในนิทรรศการนี้ การตีความของเราผ่านเลนส์ความคิดเดิมจะถูกพักไว้ชั่วคราว  ผู้ชมเข้ามาในโลกที่ไม่ผ่านตัวกรอง  ในที่สุด เราจะมองเห็นความงามในขยะ  ความงามของการกลายพันธุ์ ขยะอาจเป็นสิ่งดี หรือไม่ดีอยู่ที่การตีความของแต่ละคน  อยู่ที่ผู้จิตของผู้ชมว่าพร้อมที่จะรับและตีความเช่นใด

งานของแพลตเตอร์ เป็นการทำนายอนาคตและสะท้อนภาพปัจจุบันไปพร้อมๆ กัน  เขาต้องการให้ผู้ชมมองผ่านเลนส์แห่งความโกลาหล ทั้งในการชมนิทรรศการ  และในการวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคสมัยปัจจุบัน  ซึ่งผู้ชมจะพบว่าโลกกำลังถดถอยเข้าสู่กลียุค  และอาจเป็นไปได้ว่ากลียุคได้มาถึงแล้ว 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูพระบาท'คุณค่าโดดเด่น ไทยลุ้นมรดกโลก

เวลานี้คนไทยร่วมส่งแรงใจสนับสนุนการขึ้นบัญชีอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ล่าสุดของประเทศไทยต่อจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ วาระการพิจารณาภูพระบาทคาดว่าจะเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่  46

ศน.จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ 3 ภาษา ถวายพระราชกุศล

26 ก.ค.2567 - เวลา 10.00 น. ที่มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย จ.นครปฐม พระธรรมวชิราจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร

ส่งมอบพวงมาลัยคล้องคอเรือพระที่นั่ง เตรียมพร้อมแสดงกาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ

25 ก.ค.2567 - พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีส่งมอบพวงมาลัยคล้องคอเรือพระที่นั่ง ระหว่างโรงเรียนสตรีวัดระฆัง ส่งมอบโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำโดย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้

แรงบันดาลใจจาก'รวงผึ้ง' ต้นไม้ประจำรัชกาล

ต้นรวงผึ้ง พรรณไม้ไทยทรงคุณค่า เป็นต้นไม้ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีดอกสีเหลืองอร่ามโดดเด่นเหมือนดวงดาวประกายแสงเหลืองทองบนท้องฟ้า สมกับที่เรียกว่า “Yellow Star”  มักจะผลิชูช่อเต็มต้นในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมของทุกปี

ลุ้น'ภูพระบาท'เป็นมรดกโลกแห่งใหม่

24 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้มอบกรมศิลปากร ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ซึ่ง

Soft Power ไทยสู่สากลผ่านคอสเพลย์

ถือเป็นสนามทดสอบไอเดียสร้างสรรค์ของเหล่าเลเยอร์ ผู้เล่นคอสเพลย์ (cosplay)  ที่หลงไหลตัวละครที่ชื่นชอบจากเกม ภาพยนตร์  อนิเมะ  การ์ตูนมังงะ  และใช้เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งตัว แต่งหน้า ทำผมเลียนแบบ  ไม่ใช่แค่เหมือน ดูดี แต่ต้องผสมผสานวัฒนธรรมไทยได้อย่างลงตัวผ่านการประกวดคอสเพลย์