ลอยกระทง2565 คนไทยอยากไปงานต่างจังหวัด เปลี่ยนบรรยากาศ

โพลลอยกระทง 2565 คนไทยอยากไปเข้าร่วมงานต่างจังหวัด เปลี่ยนบรรยากาศ อยากแสดงความกตัญญูต่อน้ำ ขอขมาพระแม่คงคา

8 พ.ย.2565 -  นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า เนื่องในเทศกาลประเพณีลอยกระทงปี 2565  กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชน และประชาชน (โพล) ในหัวข้อ ท่านคิดอย่างไรต่อ “ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสาน ประเพณีไทย สู่ความยั่งยืน” พุทธศักราช 2565  จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ  7,536 คน จำแนกเป็นเพศหญิง 4,017 คน และเพศชาย 3,519 คน ครอบคลุมทุกอาชีพและทุกภูมิภาค สรุปได้ ดังนี้ 1. เด็ก เยาวชน และประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.69  สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในงานประเพณี ลอยกระทง รองลงมาร้อยละ 27.24 ไม่แน่ใจแล้วแต่โอกาส และร้อยละ 7.07 ไม่สนใจเข้าร่วมงาน 2. เด็ก เยาวชน และประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.03 อยากเข้าร่วมงานประเพณีลอยกระทงในจังหวัดของตนเองมากที่สุด เพราะเดินทางสะดวก ใกล้บ้าน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19  จากพื้นที่อื่น และ ได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว แต่ก็มีถึงร้อยละ 65.75 อยากเข้าร่วมงานจังหวัดอื่น เพราะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ เป็นการพักผ่อน ส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นงานที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ และได้เดินทางกลับไปหาครอบครัว

รมว.วธ. กล่าวอีกว่า 3. กิจกรรมในงานประเพณีลอยกระทงที่ส่วนใหญ่สนใจ ร้อยละ 49.30  กิจกรรมรณรงค์ให้ใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ รองลงมาร้อยละ 44.24 ทำบุญไหว้พระ ร้อยละ 38.32 ชมการประดับประทีปโคมไฟในยามค่ำคืน และการรณรงค์แต่งชุดไทยเข้าร่วมประเพณีลอยกระทง 4. ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าคุณค่าและประโยชน์ของประเพณีลอยกระทง 3 อันดับแรก อันดับ 1 ร้อยละ 66.81  เพื่อแสดงความกตัญญูต่อ “น้ำ” ขอขมาพระแม่คงคา บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันดับ 2 ร้อยละ 61.49  เพื่อส่งเสริม สืบสาน และอนุรักษ์ประเพณีของไทยให้คงอยู่ อันดับ 3 ร้อยละ 44.73 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 5. ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม 3 อันดับแรก อันดับ 1 ร้อยละ 63.59  กระทงที่ทำจากต้นกล้วย ใบตอง ดอกบัว   อันดับ 2 ร้อยละ 44.49 กระทงที่ทำจากขนมปัง และอันดับ 3 ร้อยละ 37.75 กระทงที่ทำจากพืชผัก  6. ประชาชนส่วนใหญ่ สนใจเข้าร่วมงานลอยกระทงในสถานที่ 3 อันดับแรก อันดับ 1  จังหวัดเชียงใหม่ งานประเพณีเดือนยี่เป็ง อันดับ 2  จังหวัดสุโขทัย งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ อันดับ 3  จังหวัดตาก งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง 7. บุคคลที่ท่านอยากไปลอยกระทงด้วยมากที่สุด อันดับที่ 1 ครอบครัว (พ่อ แม่/ปู่ย่า ตายาย/ญาติพี่น้อง) อันดับ 2 แฟน/คนรัก อันดับ 3 เพื่อน/เพื่อนร่วมงาน

นายอิทธิพล กล่าวต่อว่า เป็นที่น่ายินดีที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นคุณค่าวันลอยกระทง และประชาชนส่วนใหญ่มีข้อเสนอแนะให้ วธ.  ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าวัดทำบุญ ปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์ในช่วงลอยกระทง ใช้วัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายง่าย ลอยกระทง 1 ครอบครัว 1 กระทง หรือ 1 คู่รัก 1 กระทง ร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมลดปริมาณขยะในแม่น้ำลำคลอง รวมไปถึงจัดให้มีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม มหรสพ ขบวนแห่ การละเล่นพื้นบ้าน และประกวดกระทง ตามความเหมาะสม เพื่อให้ครอบครัวและชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างความตระหนักถึงคุณค่าของประเพณีลอยกระทง สืบทอดประเพณีไทยไว้ไม่ให้สูญหาย รวมไปถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย นอกจากนี้ จะต้องมีการจัดนิทรรศการ ผลิตสื่อต่างๆ เพื่อเผยแพร่ และรณรงค์การงดเล่นดอกไม้เพลิง พลุ ประทัด งดการปล่อยโคมลอย ในพื้นที่ใกล้สนามบินเพื่อความปลอดภัย รวมถึงการงดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย ซึ่ง วธ.จะนำข้อเสนอแนะเป็นแนวทางในการรณรงค์ในประเพณีลอยกระทงปีต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก

“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น  สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง  ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ 

ลอยกระทงวิถีไทย สืบสานประเพณีงดงาม

วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 จัดเป็นเทศกาลประเพณีสำคัญของคนไทยที่จะได้ร่วมกันสืบสานคุณค่าประเพณีอันดีงาม โดยการทำกระทงสวยงามหลากหลายรูปแบบ นำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ

ดุสิตโพล เผยภัยหลอกลวงออนไลน์ เป็นปัญหาใหญ่สุดอย่างให้เข้มงวดแก้ไข

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ภัยสังคมที่ประชาชนอยากให้เร่งแก้ไข” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,357 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม 2567

เปิดผลสำรวจกลุ่มเปราะบางรับเงินหมื่น พบเอามาต่อยอดลงทุนน้อย

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นต่อนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเปราะบางผู้ได้รับเงินแล้ว จำนวน 845 คน