'ซีไรต์' ประกาศนวนิยาย 10 เล่มเข้ารอบชิง

รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) เป็นเวทีที่มีความหมายต่อวงการนักเขียน และนักอ่านในสังคมไทย ซึ่งมีการประกวดมากว่า 40 ปี 

ปีนี้เป็นการประกวดผลงานประเภทนวนิยาย มีนักเขียนส่งผลงานเข้ามาจำนวน 60 เรื่อง จัดพิมพ์ครั้งแรกในปีนี้ถึง 34 เรื่อง และก่อนหน้านั้นอีก 26 เรื่อง นับเป็นความคึกคักของวงการหนังสือท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดที่ยังต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกนวนิยายผ่านเข้ารอบแรก longlist จำนวน 19 เรื่อง 

ล่าสุด คณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) และคณะกรรมการรอบคัดเลือก แถลงข่าวประกาศผลรางวัลซีไรต์ ประเภท นวนิยาย รอบคัดเลือก ประจำปี 2564 ณ ห้องเจ้าพระยาโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ

ผลคัดเลือกเสนอนวนิยายจำนวน 10 เรื่อง ดังนี้ 1.24-7/1 โดยภูกระดาษ สำนักพิมพ์มติชน 2.เกิดในฤดูหนาวที่แดดส่องถึง โดยนทธีศศิวิมล แพรวสำนักพิมพ์ 3.ดำดิ่งสู่เบื้องบน โดยวัฒน์ ยวงแก้ว ผจญภัยสำนักพิมพ์ 4.เดฟั่น  โดยศิริวร แก้วกาญจน์ ผจญภัยสำนักพิมพ์ 5.ภูเขาน้ำตา โดยอนุสรณ์ มาราสา สำนักพิมพ์บลูเบิร์ด

6.รอยสนธยา โดยทรงศีล ทิวสมบุญ Songsin Things 7.วรรณกรรมที่แท้จริงน่ะ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เขียนเท่านั้นไม่รู้เหรอ โดย ร เรือในมหาสมุท  บริษัท พะโล้ พับลิชชิ่ง จำกัด 8.วายัง อมฤต โดยอนุสรณ์ ติปยานนท์ สำนักพิมพ์ Din-Dan Book 9.สุสานสยาม โดยปราปต์ แพรวสำนักพิมพ์  และ10. อาณาเขต โดยนิธิ นิธิวีรกุล สำนักพิมพ์สมมติ ทั้ง10 เรื่อง คณะกรรมการตัดสินฯ จะพิจารณาในรอบต่อไป

ภาพรวมนวนิยายปีนี้ เสาวณิต จุลวงศ์ ประธานกรรมการรอบคัดเลือก กล่าวว่า นวนิยายที่ส่งเข้าประกวดสูสีกันมาก  19 เล่มที่ผ่านเข้ารอบ long list มีคุณค่า ก็พูดคุยถกเถียงกันและหาจุดเด่นของแต่ละเรื่อง จนมีมติ 10 เรื่องเข้ารอบต่อไป งานสะท้อนความสนใจนักเขียนต่อเรื่องราวที่หลากหลาย ที่เด่นมากเป็นการแสดงสำนึกในความเป็นเรื่องแต่งอย่างซับซ้อน และแตะประเด็นทางสังคมในหลายเรื่อง ไม่เฉพาะโรคระบาด แต่เขียนเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคมการเมือง การศึกษา ประวัติศาสตร์ สอดแทรกในการเล่าเรื่องราว 

“ นักเขียนยังมีสำนึกทางสังคมอยู่เสมอ ไม่ได้ละเลย เพียงแต่นักเขียนกำลังค้นหาวิธีถ่ายทอดออกมาสู่เรื่องราว และคิดค้นกลวิธีการเล่าเรื่องเพื่อสร้างสมดุลในการนำเสนอความคิดและความสนุกของเรื่องแต่ง เพื่อเปิดให้ผู้อ่านซึ่งมีหลายกลุ่มเข้าถึงวรรณกรรมมากที่สุด “

เสาวณิตบอกว่า ปีนี้เหมือนนักเขียนเฉลิมฉลองงานเขียนประเภทเรื่องแต่ง หรือ fiction นิยาย บางเรื่องเสนอเรื่องเล่าซ้อนเรื่องเล่า นิยายหลายเรื่องดูเหมือนธรรมดากลับซ่อนวิธีการเขียนอย่างประณีตแยบคาย 

ที่น่าสนใจซีไรต์ปีนี้ เสาวณิต บอกว่า มีนักเขียนรุ่นใหม่ที่ส่งผลงานเนื้อหาเข้มข้นเข้าประกวด ซึ่งใช้วิธีเล่าเรื่องใหม่ๆ ต่างจากที่เราคุ้นเคย แสดงให้เห็นว่า นักเขียนไม่ได้มีจำนวนเท่าเดิม แต่มีกลุ่มนักเขียนใหม่ๆ รอให้ผลงานเข้าสู่การรับรู้ในวงกว้าง และมีกลุ่มนักอ่านใหม่ๆ ที่เติบโตเพิ่มขึ้น เป็นกำลังสำคัญผลักดันวงการนิยายไทยก้าวหน้าต่อไปหนังสือทั้ง 10 เล่มผ่านเข้ารอบสุดท้าย ตอบรับนักอ่านอีกรุ่น สะท้อนวงการวรรณกรรมขยายและเปิดกว้างออกไปสู่คนหลายกลุ่ม 

ด้าน จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์ กรรมการรอบคัดเลือก เผยจุดเด่นนิยายซีไรต์ปีนี้ว่า แม้นวนิยายหลายเรื่องนำเสนอภาพใหญ่ แต่หลายเล่มเสนอประเด็นระดับครัวเรือน  ผ่านการขุดถึงอดีต  อ่านแล้วเกิดการรับรู้มุมมองใหม่ๆ ได้ผัสสะและประสบการณ์ทางอารมณ์ที่แตกต่างกันไป

อีกประการหนึ่ง นวนิยายปีนี้เสนอภาพความเป็นสากล  วรรณกรรม60เรื่องที่ส่งประกวดไม่ได้มีบอกเล่าเรื่องในประเทศไทยอย่างเดียว แต่ครอบคลุมเรื่องชาติพันธุ์ เพื่อนบ้าน  ต่างแดน สะท้อนนักเขียนไม่ละเลยเรื่องราวของภูมิภาคและของโลก 

ด้าน ทรงศีล ทิวสมบุญ เจ้าของนิยายสยองขวัญเรื่อง “รอยสนธยา” เผยว่า ดีใจที่ผลงานเข้ารอบคัดเลือก  เวทีซีไรต์มีความหมายมาก ตนติดตามวรรณกรรมรางวัลซีไรต์มาตลอด อ่านทุกเล่ม สำหรับนิยายรอยสนธยาเป็นเรื่องลึกลับซ่อนเงื่อนในโรงเรียน แฝงเรื่องอำนาจและความรุนแรงในครอบครัว สถานศึกษา จนถึงการเมือง ที่เยาวชนต้องตกเป็นเหยื่อ อยากให้นักอ่านได้อ่านกัน 

จากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด การจัดงานมอบรางวัลซีไรต์ให้แก่นักเขียนได้เลื่อนมาทั้ง 2 ปี คือ อังคาร จันทาทิพย์ ชนะเลิศประเภทกวีนิพนธ์เรื่อง “ระหว่างทางกลับบ้าน” ประจำปี พ.ศ. 2562 และ จเด็จ กำจรเดช รางวัลปี พ.ศ. 2563 ประเภทเรื่องสั้น “คืนปีเสือ และเรื่องเล่าของสัตว์อื่น ๆ”  ซึ่งคณะกรรมการซีไรต์วางแผนกำหนดจัดงานมอบรางวัลปี 62 ปี 63 และปี 64 นี้ ปลายเดือน มี.ค. 2565  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงานกาชาดปี 2567

11 ธ.ค. 2567 เวลา 17.00 น.  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี       สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานกาชาดประจำปี 2567 ภายใต้

'ประสพ เรียงเงิน' นั่งปลัดวธ.คนใหม่

11 ธ.ค.2567 - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ โดยแต่งตั้งนายประสพ​ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ นายประสพ ถือว่าเป็นลูกหม้อกระทรวงวัฒนธรรม เคย

เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ

ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”  ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน 

สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง

นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558  ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10  ธันวาคม 2567

ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม

โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List