ภูมิใจงานช่างไทยทายาทรุ่นใหม่สืบสาน'เบญจรงค์'สู่สากล

จัดว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ไทยสมกับเป็นทายาทช่างศิลปหัตกรรมจริงๆ เลย สำหรับสาวสวย หัสยา ปรีชารัตน์ ที่พาสเน่ห์ของเครื่องเบญจรงค์ไทยสู่สากลได้อย่างสวยงามและทันสมัย จนทั้งคนในประเทศและต่างชาติหันมาให้ความสนใจกันมาก ถึงตอนนี้งานเบญจรงค์ไทยเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันไปแล้ว ไม่ใช่ของสะสมเหมือนภาพจำเมื่อก่อน
บอกได้เลยว่า เครื่องเบญจรงค์เจนใหม่ กลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ ด้วยพลังรักและศรัทธาสาวพลังงานสูงคนนี้ ทำให้เธอได้รับการยกย่องเป็นทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2560 ประเภทเครื่องดิน (เครื่องเบญจรงค์) จากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit ในฐานะผู้สืบทอดมรดกภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าจากบรรพบุรุษสู่คนในยุคปัจจุบัน
รู้กันอยู่แล้วว่า งานเบญจรงค์ไทย เป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมของไทยที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ประจำชาติ เหตุนี้ sacit มีภารกิจสืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม งานศิลปหัตถกรรมไทยทุกมิติอย่างยั่งยืน นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกหนึ่งด้าน คือ การพัฒนาผู้ประกอบการศิลปหัตถกรรมไทย ทั้งทายาทช่างศิลปหัตถกรรม นักออกแบบ คนรุ่นใหม่ ให้มีองค์ความรู้ในการประกอบกิจการสามารถรังสรรค์ศิลปหัตถกรรมไทยที่ตรงใจผู้ซื้อ จำหน่ายได้ทั้งในประเทศและระดับสากล รวมทั้งสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มมากขึ้น
” sacit ผลักดันยุทธศาสตร์นี้ให้เป็นรูปธรรม เพราะงานศิลปหัตถกรรมจากฝีมือทายาทฯ และคนรุ่นใหม่มีความสวยงามประณีต นำเอานวัตกรรมหรือเทคนิคใหม่ๆ มาประยุกต์สร้างสรรค์ให้เกิดงานศิลปหัตถกรรมไทยตรงกับความต้องการในตลาดปัจจุบัน ” รักษาการ ผอ. sacit บอก
การพัฒนาผู้ประกอบการศิลปหัตถกรรมไทยและผลิตภัณฑ์ในอนาคต นายพรพล ย้ำเน้นสร้างความเข้มแข็งรอบด้าน ไม่ว่าจะเพิ่มทักษะที่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันให้แก่ผู้ประกอบการ เน้นคุณค่านวัตกรรมควบคู่งานศิลป์ สร้างมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยเพื่อส่งออก การพัฒนาวัสดุในการผลิตให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ทั้งสีย้อมธรรมชาติและเทคนิคอื่น ๆ
การนำเครื่องเบญจรงค์งานช่างฝีมือไทยชั้นสูงมาออกแบบ ภายใต้การดูแลสาวคนเก่งหัสยา สร้างเอกลักษณ์ที่ยากจะหาใครเหมือน ทั้งแบบโมเดิร์นและแบบไม่ทิ้งอัตลักษณ์ไทย เพิ่มเสน่ห์น่าหลงไหล
หัสยา บอกว่า ตั้งใจจะสืบสานงานเครื่องเบญจรงค์ต่อจากคุณพ่อ จึงศึกษาด้านศิลปะการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างจริงจัง ทั้งการจับคู่สี ทฤษฎีสี และศาสตร์ด้านศิลปะ รูปแบบ และรูปทรงสมัยใหม่ มาปรับประยุกต์พัฒนาเครื่องเบญจรงค์ให้มีความทันสมัยแปลกตา และมีความเรียบหรูมากขึ้น ทุกชิ้นงานนำไปใช้งานได้จริง มีการผสมผสานความทันสมัยบนพื้นฐานความดั้งเดิม เพื่อให้เครื่องเบญจรงค์เข้าถึงคนรุ่นใหม่ สามารถนำไปใช้เป็นของใช้ ของฝาก ของที่ระลึกได้ทุกโอกาส
” ได้ผสมผสานงานเบญจรงค์กับงานศิลาดลได้อย่างลงตัวเกิดเป็นผลงานใหม่ที่ มีชื่อว่า “ศิลาดลเบญจรงค์” มีการลงสีเบญจรงค์ ประกอบกับเอกลักษณ์ร่องรอยการแตกลายงาแบบศิลาดล ที่ผสมผสานเข้าด้วยกัน รวมทั้งปรับประยุกต์การใช้โทนสีให้เข้ากับยุคสมัย เช่น สีโทนพาสเทล ” หัสยา บอก
ขณะที่ลวดลายเธอบอกให้ความสำคัญกับศิลปะของงานเครื่องเบญจรงค์ที่สื่อความหมายถึงความสิริมงคลให้กับผู้รับ เช่น “ช้าง” หมายถึง ความสำเร็จ ความมั่นคง ความสมบูรณ์ “หงส์” สื่อความสุขในชีวิตคู่ที่เต็มไปด้วยความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง “ปลา” หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ “เต่า” สัญลักษณ์อายุยืน สุขภาพดี และ “สิงโต” แสดงถึงพลังและอำนาจ
บอกได้เลยงานเบญจรงค์ใครว่าโบราณ ดูจากพลังของทายาทศิลปหัตกรรมและการส่งเสริมของsacit แล้ว บอกเลยว่า เบญจรงค์ไทยจะต้องเป็นที่กล่าวขานในระดับสากลไม่ยาก สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของผลงานได้ที่ www.sacit.or.th

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงานกาชาดปี 2567

11 ธ.ค. 2567 เวลา 17.00 น.  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี       สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานกาชาดประจำปี 2567 ภายใต้

'ประสพ เรียงเงิน' นั่งปลัดวธ.คนใหม่

11 ธ.ค.2567 - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ โดยแต่งตั้งนายประสพ​ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ นายประสพ ถือว่าเป็นลูกหม้อกระทรวงวัฒนธรรม เคย

เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ

ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”  ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน 

สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง

นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558  ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10  ธันวาคม 2567

ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม

โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List