'กรอบพระเศียรทองคำ'สมบัติชาติ กลับมาตุภูมิ

ไทยรับมอบ"ครอบพระเศียรทองคำ" จากสหรัฐ ตรวจสอบเป็นทองคำ 95% สันนิษฐานโบราณวัตถุศิลปะล้านนา กรมศิลป์เตรียมศึกษา ก่อนจัดแสดงให้ ปชช.ชม ลุ้นคืนประติมากรรมสำริดแหล่งประโคนชัยคิวต่อไป

2 มิ.ย.2565 - นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ซึ่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 จนถึงปัจจุบัน รวม 5 ปี ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา ในการติดตามโบราณวัตถุในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศ ได้แก่ ทับหลัง 2 รายการ จาก Asian Art Museum เมื่อปี 2564 การสร้างการรับรู้ของคุณค่าโบราณวัตถุที่ได้กลับมาอยู่ในถิ่นกำเนิดแก่ผู้ครอบครองโบราณวัตถุของไทยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จึงได้มีการแจ้งขอส่งมอบโบราณวัตถุที่ครอบครองอยู่ให้กับประเทศไทย โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศและกรมศิลปากร รวมจำนวนถึงปัจจุบันแล้ว 11 ราย ได้แก่ การรับมอบโบราณวัตถุภายในประเทศ จากนายโยธิน ธาราหิรัญโชติและภรรยา เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา ประกอบด้วยเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี จากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนมากถึง 164 รายการ มูลค่ารวม 82 ล้านบาท เพื่อให้เก็บรักษาเป็นสมบัติของชาติ โดยขณะนี้กรมศิลปากรได้นำไปจัดแสดงในนิทรรศการถาวร ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยลพบุรี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เครื่องปั้นดินเผาลพบุรีเป็นโบราณวัตถุอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-19  
นายอิทธิพล กล่าวต่อว่า ล่าสุด ได้รับรายงานจากที่ประชุมคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ครั้งที่ 1/2565 เมื่อเร็วๆนี้ ว่า ได้มีการรับมอบโบราณวัตถุจากต่างประเทศ ได้แก่ ครอบพระเศียรทองคำ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นผู้แทนประเทศไทยรับมอบจากชาวอเมริกัน และส่งให้กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ซึ่งทางสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้ตรวจสอบเนื้อวัสดุแล้วพบว่าเป็นทองคำ 95 % ครอบพระเศียรทองคำนี้เป็นเครื่องประดับพระเศียรพระพุทธรูป ประกอบด้วยส่วนครอบพระเศียรกว้าง-ยาว 14 x 17.6 ซม. หนัก 12.7 กรัม และส่วนพระรัศมีสูง 12.7 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. หนัก 29.9 กรัม เทคนิคดุนทองและตีทอง

" เบื้องต้นสันนิษฐานว่า เป็นโบราณวัตถุศิลปะล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยนิยมใช้ประดับพระเศียรพระพุทธรูปแกะสลักจากหิน โดยกรมศิลปากรจะได้นำเข้าเก็บรักษา ณ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อการศึกษาและการจัดแสดงในนิทรรศการต่อไป " นายอิทธิพล กล่าว

รมว.วธ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ มีความก้าวหน้าจากสำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา ที่ได้มีนัดหมายเข้าเจรจาเพื่อตรวจสอบโบราณวัตถุจากประเทศไทยที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเดนเวอร์ ประกอบด้วยประติมากรรมสำริดจากแหล่งโบราณคดีประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะเป็นโบราณวัตถุที่อาจได้รับกลับคืนประเทศไทยในลำดับถัดไป อย่างไรก็ตาม ไทยต้องให้ทางสำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา ดำเนินการในทางกฎหมายก่อน จึงจะทราบผลในที่สุด

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้หารือถึงการนำทับหลังจากปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว และทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ไปจัดแสดงในพื้นที่แหล่งที่มา คือ ศูนย์ข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว และศูนย์ข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของกรมศิลปากรที่มีระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สหรัฐเตรียมส่งคืนเสาสลักหินทราย'ปราสาทพนมรุ้ง'กลับไทย

18 มิ.ย.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุให้กับกรมศิลปากร จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ชิ้นส่วนเสาติดผนังสลักจากหินทรายรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ

ไทยส่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ'โกลเด้นบอย'ที่สหรัฐ ก่อนส่งคืน

26 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The MET) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุประติมากรรมสำริด 2 รายการ ซึ่งมีหลักฐานว่าถูกนำออกจากประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย

สหรัฐส่งโบราณวัตถุ 2 รายการที่ถูกขโมยคืนไทย

17 ธ.ค.2566 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร รายงานเรื่องนายแมกซ์ ฮอลเลน ผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหารพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิทัน (The Metropolitan Museum of Art หรือ The MET

ทวงคืน 2 ใบเสมากาฬสินธุ์จากบริติช มิวเซียม อังกฤษ

05 ส.ค.2565 - จากการที่รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศเพื่อทวงคืนโบราณวัตถุของไทย โดยกำหนดมาตรการตรวจสอบ ประสานความร่วมมือ ทั้งวิธีการการทูตและกฎหมาย โดยความคืบหน้าของติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศ ได้รับคืนมาแล้ว 2 รายการ เดินหน้าติดตามอีก 35 รายการ ขณะที่ภาคเอกชนได้ส่งมอบคืนให้อีก 637 รายการ  ในรอบปี 2564-2565

จี้สหรัฐฯ คืน 3 โบราณวัตถุแก่ไทย

24 ส.ค.2565 - นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.)  เปิดเผยว่า ตนเป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 1/2565 ประกอบด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร  ศาสตราจารย์ ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ผู้ทรงคุณวุฒิ แล